ชื่อการประชุม |
|
โครงการประชุมวิชาการ (ออนไลน์) “สังคมร่วมใจ...ห่วงใยสุขภาพ” ครั้งที่ 8 |
สถาบันหลัก |
|
คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร |
รหัสกิจกรรม |
|
1006-2-000-027-06-2567 |
สถานที่จัดการประชุม |
|
ออนไลน์ |
วันที่จัดการประชุม |
|
13 -14 มิ.ย. 2567 |
ผู้จัดการประชุม |
|
คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร |
กลุ่มเป้าหมาย |
|
1. เภสัชกรทั่วไป จำนวน 200 คน 2.บุคลากรคณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร จำนวน 40 คน |
หน่วยกิตการศึกษาต่อเนื่อง |
|
12 หน่วยกิต |
หลักการและเหตุผล
การบริการสุขภาพของประเทศไทยได้รับการพัฒนาอย่างต่อเนื่องตามการเปลี่ยนแปลงของสภาพสังคมและเศรษฐกิจ รวมทั้งทิศทางและความต้องการการบริการสุขภาพในอนาคต โดยเฉพาะการบริการสุขภาพระดับปฐมภูมิที่มีความสำคัญมากขึ้น ถือเป็นบริการสุขภาพด่านหน้าสำหรับประชาชน รวมทั้งการพัฒนาระบบการจัดการข้อมูลด้านสุขภาพที่มีความก้าวหน้าอย่างต่อเนื่อง ทำให้สามารถใช้ประโยชน์ในการส่งต่อ เชื่อมโยงข้อมูลระหว่างหน่วยบริการสุขภาพระดับต่างๆ ทั้งของภาครัฐและภาคเอกชน ซึ่งการนำข้อมูลดังกล่าวมาวิเคราะห์ จัดการข้อมูลทั้งในระดับบุคคลและระดับพื้นที่จะก่อให้เกิดประโยชน์อย่างยิ่งต่อการดูแลสุขภาพและเพิ่มคุณภาพชีวิตของประชาชน
เภสัชกรเป็นบุคลากรสาธารณสุขที่มีบทบาทสำคัญในการจัดการสุขภาพโดยเฉพาะด้านยาให้กับประชาชน เป็นส่วนหนึ่งของสหวิชาชีพสุขภาพในหน่วยบริการสุขภาพระดับต่างๆ โดยเฉพาะระดับปฐมภูมิ ซึ่งต้องมีการพัฒนาและติดตามความก้าวหน้า ความรู้และวิทยาการใหม่ๆอยู่ตลอดเวลา โดยเฉพาะองค์ความรู้ต่างๆที่ช่วยพัฒนาหรือสนับสนุนการให้บริการทางเภสัชกรรม เพื่อให้พร้อมต่อการเปลี่ยนแปลงและการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง
คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร จึงได้กำหนดการประชุมวิชาการ “สังคมร่วมใจ...ห่วงใยสุขภาพ” ครั้งที่ 8 ซึ่งเป็นการประชุมทางวิชาการที่ดำเนินการอย่างต่อเนื่องทุกปี โดยการจัดประชุมในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ที่สำคัญเพื่อให้เภสัชกรได้ติดตามความก้าวหน้า ความรู้ และวิทยาการใหม่ๆ ที่มีผลกระทบต่อวิชาชีพเภสัชกรรม โดยเฉพาะการพัฒนาภาวะผู้นำในวิชาชีพ การขับเคลื่อนวิชาชีพโดยภาวะผู้นำ การสื่อสารที่มีประสิทธิภาพ ทั้งการสื่อสารกับผู้ป่วยและการสื่อสารภายในและภายนอกองค์กรและการจัดการและการใช้ข้อมูลสุขภาพ
การประชุมวิชาการครั้งนี้คาดหวังว่าเภสัชกรที่เข้าร่วมการประชุมจะสามารถนำองค์ความรู้ที่ได้ และประสบการณ์จากวิทยากรที่มอบให้ในการอบรม นำไปใช้ประโยชน์และทำงานร่วมกับทีมงานวิชาชีพอื่น ๆ ในที่ทำงานต่างๆ เช่น โรงพยาบาล สถานประกอบการ หรือสถานที่อื่นๆ เกิดความเข้าใจและปรับการทำงานเพื่อรองรับการเปลี่ยนแปลงต่อไป
วัตถุประสงค์
1. เพื่อสร้างความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการพัฒนาภาวะผู้นำในวิชาชีพและการขับเคลื่อนวิชาชีพโดยภาวะผู้นำ
2. เพื่อพัฒนาความรู้ด้านการสื่อสารที่มีประสิทธิภาพ ทั้งการสื่อสารกับผู้ป่วยและการสื่อสารภายในและภายนอกองค์กร
3. เพื่อพัฒนาความรู้ด้านการจัดการและการใช้ข้อมูลสุขภาพ
4. เพื่อส่งเสริมการศึกษาต่อเนื่องของเภสัชกรเพื่อการพัฒนาวิชาชีพ
วิธีสมัครการประชุม
www.pharmacy.su.ac.th