ศูนย์การศึกษาต่อเนื่องฯ จะส่งข้อมูลแจ้งเตือนสมาชิก ผ่านช่องทาง sms และ email ในวันที่ 5 ก.ย. 5 พ.ย. และ 5 ธ.ค. 2567
การประชุมวิชาการ
สัมมนาวิชาการทางเภสัชศาสตร์ ปี 2567 How to Use Compounded and Commercial Parenteral Nutrition for Hospitalized Patients (หลักการเลือกใช้ compounded และ commercial parenteral nutrition สำหรับผู้ป่วยที่เข้ารับการรักษาในโรงพยาบาล)
ชื่อการประชุม สัมมนาวิชาการทางเภสัชศาสตร์ ปี 2567 How to Use Compounded and Commercial Parenteral Nutrition for Hospitalized Patients (หลักการเลือกใช้ compounded และ commercial parenteral nutrition สำหรับผู้ป่วยที่เข้ารับการรักษาในโรงพยาบาล)
สถาบันหลัก สำนักวิชาเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์
รหัสกิจกรรม 1016-2-000-003-07-2567
สถานที่จัดการประชุม Online Zoommeeting
วันที่จัดการประชุม 27 ก.ค. 2567
ผู้จัดการประชุม สำนักวิชาเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์
กลุ่มเป้าหมาย เภสัชกรที่ทำงานในหอผู้ป่วยใน, เภสัชกรที่ทำงานในโรงพยาบาล
หน่วยกิตการศึกษาต่อเนื่อง 3 หน่วยกิต
หลักการและเหตุผล
ภาวะทุพโภชนาการ ถือเป็นปัญหาสำคัญที่พบได้บ่อยในผู้ป่วยที่นอนในโรงพยาบาล การให้โภชนบำบัดจึงเป็นสิ่งสำคัญอย่างมากเพื่อลดอัตราการติดเชื้อในโรงพยาบาล ลดอัตราการนอนโรงพยาบาลและลดอัตราการตาย ตามคำแนะนำของ American Society of Parenteral nutrition and Enteral Nutrition และสมาคมผู้ให้อาหารทางหลอดเลือดดำและทางเดินอาหารแห่งประเทศไทย แนะนำว่าผู้ป่วยที่ที่เข้ารับการรักษาและนอนในโรงพยาบาลทุกราย ควรได้รับการคัดกรองและประเมินทางโภชนาการ เพื่อค้นหาภาวะทุพโภชนาการของผู้ป่วย หากพบภาวะดังกล่าว ควรได้รับการให้โภชนบำบัดจากทีมโภชนบำบัด ซึ่งเภสัชกรได้ถูกกำหนดให้เป็นส่วนหนึ่งของทีมโภชนบำบัดในการดูแลผู้ป่วยกลุ่มดังกล่าว
บทบาทหนึ่งของเภสัชกรในทีมโภชนบำบัด ได้แก่ ความสามารถในการให้บริการเตรียมสารอาหารทางหลอดเลือดดำ หรือ parenteral nutrition ให้แก่ผู้ป่วยที่ต้องได้รับโภชนบำบัดอย่างเหมาะสม ซึ่งเภสัชกรจะต้องมีองค์ความรู้เกี่ยวกับการให้โภชนบำบัด การคำนวณปริมาณพลังงานและสารอาหารที่เป็นส่วนประกอบในสารอาหารทางหลอดเลือดดำ และชนิดของสารอาหารทางหลอดเลือดดำ เพื่อเตรียมสารอาหารทางหลอดเลือดดำให้มีปริมาณสารอาหารตามความเหมาะสมของผู้ป่วยแต่ละราย นอกจากนี้เภสัชกรจะต้องมีความรู้เกี่ยวกับความเข้ากันได้ของสารอาหารแต่ละชนิดและวิธีการบริหารสารอาหารทางหลอดเลือดดำอย่างเหมาะสม เพื่อให้ผู้ป่วยได้รับสารอาหารที่เหมาะสมและปลอดภัย
วัตถุประสงค์
1. ทราบแนวทางการให้โภชนบำบัดในผู้ป่วยที่เข้ารับการรักษาในโรงพยาบาล
2. ทราบแนวทางการให้โภชนบำบัดทาง parenteral nutrition ในผู้ป่วยที่เข้ารับการรักษาในโรงพยาบาล
คำสำคัญ
Nutrition management, parenteral nutrition, hospitalized patient, malnutrition
วิธีสมัครการประชุม
ลงทะเบียนออนไลน์