ศูนย์การศึกษาต่อเนื่องฯ จะส่งข้อมูลแจ้งเตือนสมาชิก ผ่านช่องทาง sms และ email ในวันที่ 5 ก.ย. 5 พ.ย. และ 5 ธ.ค. 2567
การประชุมวิชาการ
สัมมนาวิชาการทางเภสัชศาสตร์ ปี 2567 เภสัชพันธุศาสตร์ และการแพทย์เฉพาะบุคคลในผู้ป่วยโรคมะเร็ง มุ่งเน้นการประเมินผู้ป่วย และการจัดการอาการไม่พึงประสงค์
ชื่อการประชุม สัมมนาวิชาการทางเภสัชศาสตร์ ปี 2567 เภสัชพันธุศาสตร์ และการแพทย์เฉพาะบุคคลในผู้ป่วยโรคมะเร็ง มุ่งเน้นการประเมินผู้ป่วย และการจัดการอาการไม่พึงประสงค์
สถาบันหลัก สำนักวิชาเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์
รหัสกิจกรรม 1016-2-000-002-06-2567
สถานที่จัดการประชุม Online Zoommeeting
วันที่จัดการประชุม 09 มิ.ย. 2567
ผู้จัดการประชุม สำนักวิชาเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์
กลุ่มเป้าหมาย เภสัชกรที่มีความสนใจ
หน่วยกิตการศึกษาต่อเนื่อง 3 หน่วยกิต
หลักการและเหตุผล
โรคมะเร็งเป็นภัยคุกคามปัญหาสุขภาพของทั้งในประเทศไทย และทั่วโลก โดยอัตราการเสียชีวิตจากโรคมะเร็งมีแนวโน้มที่เพิ่มขึ้นตลอดเวลา องค์การอนามัยโลกคาดการณ์ว่าในปี ค.ศ.2050 จะมีผู้ป่วยมะเร็งรายใหม่เพิ่มขึ้นเป็น 35 ล้านราย คิดเป็นเพิ่มขึ้นร้อยละ 77 เมื่อเทียบกับจำนวนผู้ป่วยมะเร็งในปี ค.ศ.2022 ซึ่งอยู่ที่ 20 ล้านราย และปัจจุบันยังพบว่าโรคมะเร็งปอดมีอัตราการเสียชีวิตอยู่ในอันดับที่ 4 รองจากโรคหัวใจขาดเลือด โรคหลอดเลือดสมอง และโรคปอดอุดกั้นเรื้องรัง(1) โดยข้อมูลในประเทศไทย จากสถิติของสถาบันมะเร็งแห่งชาติพบว่า แต่ละปีประเทศไทยจะมีผู้ป่วยโรคมะเร็งรายใหม่กว่า 140,000 คน หรือ ประมาณ 400 คนต่อวัน โดยโรคมะเร็งที่พบมาก 5 อันดับแรกในคนไทย ได้แก่ มะเร็งตับและท่อน้ำดี มะเร็งปอด มะเร็งเต้านม มะเร็งลำไส้ใหญ่/ทวารหนัก และมะเร็งปากมดลูก(2) ข้อมูลจากกองยุทธศาสตร์และแผนงาน กระทรวงสาธารณสุข พ.ศ. 2565 พบว่าประเทศไทย มีการเสียชีวิตจากโรคมะเร็งเป็นอันดับ 1 รองลงมาคือโรคหลอดเลือดในสมอง โรคปอดอักเสบ และโรคหัวใจขาดเลือด(3)
การรักษามะเร็งมีหลายวิธีขึ้นอยู่กับประเภทของมะเร็ง ระยะของโรค ความสมบูรณ์ของสุขภาพผู้ป่วย และการกลายพันธุ์ของยีนได้แก่ การผ่าตัด การใช้รังสีรักษา การใช้ยาเคมีบำบัด การใช้ยามุ่งเป้า การรักษาด้วยฮอร์โมน การปลูกถ่ายไขกระดูก และการรักษาด้วยเซลล์บำบัด จากการศึกษาของ Kefale B และคณะ ได้เก็บข้อมูลปัญหาจากการใช้ยา (Drug related problems, DRPs) ในผู้ป่วยมะเร็ง พบว่าอาการไม่พึงประสงค์จากการใช้ยาเป็น DRPs ที่พบมากที่สุด รองลงมาคืออันตรกิริยาระหว่างยา (Drug-drug interaction) และผู้ป่วยไม่ได้รับยาที่สมควรจะได้รับ (need for additional drug therapy) อยู่ที่ร้อยละ 27.3 ร้อยละ 25 และร้อยละ 22.2 ตามลำดับ ซึ่ง DRPs ที่เกิดขึ้นสามารถป้องกันได้โดยเภสัชกรที่มีความรู้เฉพาะทางด้านการบริบาลเภสัชกรรมในผู้ป่วยมะเร็ง(4) รวมทั้งความรู้และทักษะด้านเภสัชพันธุศาสตร์และการแพทย์เฉพาะบุคคลในผู้ป่วยมะเร็ง เป็นสิ่งสำคัญในการทำให้ผู้ป่วยตอบสนองต่อการรักษาได้ดีขึ้น และลดการเกิดอาการไม่พึงประสงค์จากการใช้ยาในผู้ป่วยมะเร็ง(5)
สาขาการบริบาลทางเภสัชกรรม สำนักวิชาเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ จึงได้จัดสัมมนาวิชาการทางเภสัชศาสตร์ โดยมุ่งเน้นให้เภสัชกรที่มีความรู้ และทักษะทางด้านการบริบาลเภสัชกรรมในผู้ป่วยมะเร็ง มีความรู้ในด้านเภสัชพันธุศาสตร์และการแพทย์เฉพาะบุคคลในผู้ป่วยมะเร็ง และสามารถปฏิบัติงานร่วมกับทีมสหสาขาวิชาชีพในการรองรับการเพิ่มขึ้นของผู้ป่วยโรคมะเร็งรายใหม่ในแต่ละปี
วัตถุประสงค์
1.เข้าใจผลการกลายพันธุ์ของยีนจากการวิเคราะห์ด้วยเทคนิค next-generation sequencing
2.เสนอแนวทางการรักษาจากผลการกลายพันธุ์ของยีนแก่ผู้ป่วยเฉพาะรายได้อย่างเหมาะสม
3.เข้าใจ companion diagnostic testing และนำไปประยุกต์ใช้ในการรักษาผู้ป่วยได้อย่างเหมาะสม
4.ดูแลอาการไม่พึงประสงค์ที่เกิดจากการรักษาโรคมะเร็งได้อย่างเหมาะสม
คำสำคัญ
Pharmacogenomics, Personalized medicine, Pharmacotherapy, Cancer
วิธีสมัครการประชุม
สมัครออนไลน์ https://cas.wu.ac.th/archives/26088