ศูนย์การศึกษาต่อเนื่องฯ จะส่งข้อมูลแจ้งเตือนสมาชิก ผ่านช่องทาง sms และ email ในวันที่ 5 ธ.ค. 2567 และ 19 ธ.ค. 2567

การประชุมวิชาการ
ประชุมวิชาการ เรื่อง กฎหมายเกี่ยวกับผลิตภัณฑ์สมุนไพรและผลิตภัณฑ์สมุนไพร...ทางเลือกของคนไข้ที่เราควรรู้
ชื่อการประชุม ประชุมวิชาการ เรื่อง กฎหมายเกี่ยวกับผลิตภัณฑ์สมุนไพรและผลิตภัณฑ์สมุนไพร...ทางเลือกของคนไข้ที่เราควรรู้
สถาบันหลัก คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
รหัสกิจกรรม 1003-2-000-024-05-2567
สถานที่จัดการประชุม โรงแรมวังคำ จังหวัดเชียงราย
วันที่จัดการประชุม 19 พ.ค. 2567
ผู้จัดการประชุม คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
กลุ่มเป้าหมาย เภสัชกรในจังหวัดเชียงรายและจังหวัดข้างเคียง จำนวน 100 คน
หน่วยกิตการศึกษาต่อเนื่อง 3 หน่วยกิต
หลักการและเหตุผล
ประเทศไทยมีพระราชบัญญัติผลิตภัณฑ์สมุนไพร พ.ศ.2562 ประกาศใช้เป็นกฎหมายหลักในการควบคุม กำกับดูแล อาทิ การผลิต การจำหน่าย การนำเข้าฯ การขึ้นทะเบียนตำรับ การโฆษณาผลิตภัณฑ์สมุนไพร เป็นต้น ประกอบกับสังคมไทยได้เปลี่ยนแปลงก้าวไปสู่สังคมผู้สูงอายุ ถึงแม้กระทรวงสาธารณสุขจะมีนโยบายการส่งเสริมนำสมุนไพรและผลิตภัณฑ์สมุนไพรมาใช้ในการดูแลสุขภาพ ทั้งในรูปแบบเสริมการรักษากับยาแผนปัจจุบัน หรือใช้ทดแทนการรักษาด้วยยาแผนปัจจุบัน แต่ก็ยังมีอุปสรรคสำคัญที่บุคลากรทางการแพทย์ และผู้บริโภคอีกไม่น้อยที่ยังไม่ใช้สมุนไพรและผลิตภัณฑ์สมุนไพรด้วยสาเหตุและปัจจัยหลายอย่าง ดังนั้น การให้บุคลากรทางการแพทย์ เช่น เภสัชกร ได้มีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับกฎหมายผลิตภัณฑ์สมุนไพรในแง่มุมต่างๆ ลักษณะสังคมผู้สูงอายุและโรคที่พบบ่อย ประสบการณ์การใช้ผลิตภัณฑ์สมุนไพรรักษาโรค การเพิ่มทางเลือกการใช้ผลิตภัณฑ์สมุนไพรของคนไข้ที่ใช้ได้อย่างถูกต้องและปลอดภัย ที่สามารถนำไปใช้แนะนำให้แก่คนไข้ทั้งในร้านยา โรงพยาบาล จะส่งผลให้ทั้งเภสัชกร และคนไข้ รวมทั้งประชาชนมีความมั่นใจในด้านของความปลอดภัย ประโยชน์ของการใช้ และประสิทธิภาพของผลิตภัณฑ์สมุนไพรมากขึ้น...
วัตถุประสงค์
เพื่อส่งเสริมองค์ความรู้ให้แก่เภสัชกรที่ดูแลคนไข้ที่จำเป็นต่อการใช้ยา(Sickness) และการดูแลสุขภาพ(Wellness) ทั้งในร้านยา และในโรงพยาบาลได้ทราบถึงกฎหมายผลิตภัณฑ์สมุนไพรที่เกี่ยวข้อง สถานการณ์และสาเหตุที่บุคลากรทางการแพทย์และผู้บริโภคยังไม่นิยมใช้สมุนไพรและผลิตภัณฑ์สมุนไพร สังคมผู้สูงอายุและโรคที่พบบ่อย ประสบการณ์การเลือกใช้ผลิตภัณฑ์สมุนไพรให้เหมาะสม และทางเลือกของคนไข้ที่เภสัชกรควรรู้
คำสำคัญ
ผลิตภัณฑ์สมุนไพร