ชื่อการประชุม |
|
งานประชุมวิชาการสมาคมเภสัชกรชุมชนภูเก็ตครั้งที่ 2/2567 |
สถาบันหลัก |
|
คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ |
รหัสกิจกรรม |
|
1004-2-000-015-05-2567 |
สถานที่จัดการประชุม |
|
โรงแรมเคปพันวา จังหวัดภูเก็ต |
วันที่จัดการประชุม |
|
19 พ.ค. 2567 |
ผู้จัดการประชุม |
|
คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ |
กลุ่มเป้าหมาย |
|
เภสัชกรสมาชิกสมาคมเภสัชกรชุมชนภูเก็ต และเภสัชกรที่สนใจ |
หน่วยกิตการศึกษาต่อเนื่อง |
|
4.75 หน่วยกิต |
หลักการและเหตุผล
จากสถานการณ์การเจ็บป่วยและโรคประจำตัวที่เพิ่มมากขึ้นในประชากรไทย หรือเหตุการณ์อุบัติเหตุฉุกเฉิน เช่น หัวใจวายเฉียบพลัน ไฟฟ้าช็อต จมน้ำ การปฐมพยาบาลและการตอบสนองต่อภาวะฉุกเฉินจึงมีความจำเป็นที่จะต้องมีความรู้พื้นฐาน เพื่อรับมือกับสภาวะฉุกเฉิน รวมถึงภาวะผู้ป่วยหมดสติหัวใจหยุดเต้นเฉียบพลัน สิ่งสำคัญเร่งด่วนในการรักษาเบื้องต้น คือการทำ CPR (Cardiopulmonary resuscitation) ที่มีความแม่นยำ รวดเร็วและถูกต้อง เพื่อช่วยเพิ่มโอกาสให้ผู้ป่วยรอดชีวิต หรือยืดระยะเวลาให้ผู้ป่วยได้รับการส่งต่อไปยังทีมแพทย์ฉุกเฉินได้อย่างปลอดภัย
ปัจจุบันนี้มีผู้ป่วยโรคซึมเศร้าและโรควิตกกังวล มาขอคำปรึกษาในร้านยาเป็นจำนวนมาก และอาการทางจิตใจดังกล่าวมักส่งผลถึงระบบต่างๆทางกายภาพอีกด้วย เช่น ระบบทางเดินอาหาร ซึ่งข้อมูลต่างๆต้องอาศัยความแม่นยำในการซักประวัติ เพื่อรักษาถึงสาเหตุที่แท้จริงของโรค รักษาได้อย่างตรงจุด เพื่อเพิ่มคุณภาพชีวิตที่ดีของผู้ป่วย
และในช่วงปีที่ผ่านมาจังหวัดภูเก็ตได้มีการระบาดของโรคอุจจาระร่วงเฉียบพลันในจำนวนคนหมู่มากจากเชื้อไวรัส สิ่งที่สำคัญในการดูแลผู้ป่วยคือการประเมินความรุนแรงของภาวะขาดน้ำและเกลือแร่ การให้การรักษาที่ถูกต้องและแนะนำข้อปฏิบัติตัวแก่ผู้ป่วย จึงเป็นสิ่งสำคัญที่เภสัชกรชุมชนต้องเรียนรู้และรับมือ
วัตถุประสงค์
1. เข้าใจและทราบถึงการปฐมพยาบาล การตอบสนองต่อสภาวะฉุกเฉิน
2. เข้าใจและทราบถึงการทำ CPR และการใช้เครื่อง AED อย่างแม่นยำ รวดเร็ว และถูกต้อง
3. เข้าในและทราบถึงแนวทางการดูแลผู้ป่วยโรคซึมเศร้าและโรควิตกกังวลในร้านขายยา
4. เข้าใจและทราบถึงแนวทางการดูแลรักษาโรคอุจจาระร่วงเฉียบพลัน
5. สามารถประเมินความรุนแรงของภาวะขาดน้ำและเกลือแร่จากสาเหตุอุจจาระร่วง และจัดการกับภาวะขาดน้ำของผู้ป่วยได้อย่างเหมาะสม
คำสำคัญ
ร้านยา, CPR, ORS, วิตกกังวล