ศูนย์การศึกษาต่อเนื่องฯ จะส่งข้อมูลแจ้งเตือนสมาชิก ผ่านช่องทาง sms และ email ในวันที่ 5 ก.ย. 5 พ.ย. และ 5 ธ.ค. 2567
การประชุมวิชาการ
(Online) "แนวทางการรักษาอาการท้องผูกที่ดื้อต่อการรักษา"
ชื่อการประชุม (Online) "แนวทางการรักษาอาการท้องผูกที่ดื้อต่อการรักษา"
สถาบันหลัก เภสัชกรรมสมาคมแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์
รหัสกิจกรรม 2001-2-000-020-06-2567
สถานที่จัดการประชุม ถ่ายทอดสด
วันที่จัดการประชุม 15 มิ.ย. 2567
ผู้จัดการประชุม เภสัชกรรมสมาคมแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์
กลุ่มเป้าหมาย เภสัชกรและบุคคลทั่วไป
หน่วยกิตการศึกษาต่อเนื่อง 1 หน่วยกิต
หลักการและเหตุผล
หลักการและเหตุผลของโครงการ
เภสัชกรมีบทบาทสำคัญในการใช้บริบาล และส่งเสริมการเข้าถึงยาและบริการสุขภาพให้แก่ประชาชน ทั้งในบริบทของสถานพยาบาลและร้านขายยา เภสัชกรจึงมีความจำเป็นที่ต้องมีองค์ความรู้ที่ทันสมัย สามารถให้คำแนะนำในการเลือกใช้ยาหรือผลิตภัณฑ์สุขภาพต่างๆ ที่จะช่วยแก้ปัญหาให้กับประชาชน ปัจจุบันปัญหาด้านสุขภาพที่เกี่ยวข้องกับระบบทางเดินอาหารพบได้บ่อยขึ้นในกลุ่มผู้มาใช้บริการในร้านขายยา โดยเฉพาะอาการท้องผูก ซึ่งพบได้ทั้งอาการเฉียบพลันและเรื้อรัง ทั้งนี้ยังพบการดื้อต่อการรักษาอีกด้วย ซึ่งผู้ที่มาใช้บริการเองมีความคาดหวังที่จะได้รับการบริการและคำแนะนำในการรักษาตนเองให้หายจากโรค เภสัชกรจึงมีความจำเป็นที่จะสามารถซักถามและประเมินความรุนแรงของโรคท้องผูก และแนะนำการรักษาตามแนวทางที่ถูกต้อง รวมถึงการให้คำแนะนำในการใช้ยารักษาที่มีประสิทธิภาพและปลอดภัย
เภสัชกรรมสมาคมแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ จึงได้เล็งเห็นความสำคัญ และจัดให้มีการอบรมวิชาการ ในหัวข้อ แนวทางการรักษาอาการท้องผูกที่ดื้อต่อการรักษา ขึ้น โดยมีวัตถุประสงค์ที่จะเพิ่มพูนความรู้ความเข้าใจ เกี่ยวกับ (1) อาการแสดงและแนวทางการประเมินความรุนแรงของอาการท้องผูก (2) อุบัติการณ์ สาเหตุและปัจจัยกระตุ้นในการเกิดโรคท้องผูก (3) แนวทางการรักษาโรคท้องผูก และกลุ่มยารักษาโรคที่เกี่ยวข้อง (4) การเลือกใช้ยารักษาโรคท้องผูก และการคำนึงถึงภาวะการดื้อต่อการรักษา (5) การปรับพฤติกรรมและดูแลสุขภาพที่ดี เพื่อลดความเสี่ยงและป้องกันการเกิดอาการท้องผูกในอนาคต
วัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ของโครงการ
1 เพื่อให้ผู้เข้าร่วมประชุมมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับอาการแสดงและการประเมินความรุนแรง
2 เพื่อให้ผู้เข้าร่วมประชุมมีความรู้เกี่ยวกับอุบัติการณ์ สาเหตุและปัจจัยเสี่ยงโรคท้องผูก และแนวทางการรักษาโรคท้องผูก
3 เพื่อให้ผู้เข้าร่วมประชุมสามารถประยุกต์ใช้ความรู้เกี่ยวกับการเลือกใช้ยารักษาโรคท้องผูก และการคำนึงถึงภาวะการดื้อต่อการรักษา การให้คำแนะนำการใช้ยาและการปรับพฤติกรรมเพื่อประสิทธิภาพการรักษา
คำสำคัญ
วิธีสมัครการประชุม
www.pat.or.th