ศูนย์การศึกษาต่อเนื่องฯ จะส่งข้อมูลแจ้งเตือนสมาชิก ผ่านช่องทาง sms และ email ในวันที่ 5 ธ.ค. 2567 และ 19 ธ.ค. 2567

การประชุมวิชาการ
โครงการประชุมวิชาการเภสัชศาสตร์ประจำปี พ.ศ. 2567 ภายใต้หัวข้อหลัก “Patient – Centered Care and Seamless Pharmacists”
ชื่อการประชุม โครงการประชุมวิชาการเภสัชศาสตร์ประจำปี พ.ศ. 2567 ภายใต้หัวข้อหลัก “Patient – Centered Care and Seamless Pharmacists”
สถาบันหลัก คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
รหัสกิจกรรม 1004-2-000-011-07-2567
สถานที่จัดการประชุม โรงแรม ลากูน่า แกรนด์ โฮเทล แอนด์ สปา สงขลา
วันที่จัดการประชุม 20 -21 ก.ค. 2567
ผู้จัดการประชุม คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
กลุ่มเป้าหมาย เภสัชกรสมาชิกชมรมเภสัชกรภาคใต้, เภสัชกรทั่วไป
หน่วยกิตการศึกษาต่อเนื่อง 6.75 หน่วยกิต
หลักการและเหตุผล
เภสัชกร เป็นวิชาชีพที่มีบทบาทสำคัญในระบบบริการสุขภาพยุคใหม่ที่มุ่งเน้นการดูแลผู้ป่วยแบบองค์รวม (holistic care) ซึ่งเภสัชกรมีหน้าที่และความรับผิดชอบในการให้บริการเภสัชกรรมแก่ผู้ป่วยอย่างครบวงจร ครอบคลุมทั้งการให้ความรู้ด้านยา การติดตามผลการรักษา การค้นหาและแก้ไขปัญหาด้านการใช้ยา การส่งเสริมการใช้ยาอย่างสมเหตุสมผล และการบริการอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องในสถานพยาบาล ร้านยา หรือชุมชนอย่างต่อเนื่อง เพื่อให้การดูแลผู้ป่วยไร้รอยต่อผ่านโครงการต่าง ๆ ของรัฐบาล เช่น ร้านยาโมเดล 3 ระบบการรักษาด้วยบัตรประชาชนใบเดียวรักษาทุกที่ โครงการร้านยาดูแลอาการเจ็บป่วยเล็กน้อย 16 อาการ เป็นต้น อีกทั้งในปัจจุบัน มีการนำนวัตกรรมและเทคโนโลยีใหม่ ๆ เข้ามาประยุกต์ใช้ในทางการแพทย์มากขึ้น อาทิ การตรวจทางพันธุศาสตร์ การใช้ปัญญาประดิษฐ์ในทางการแพทย์ ซึ่งเภสัชกรต้องเรียนรู้และใช้เทคโนโลยี ปรับวิธีการทำงานให้มีประสิทธิภาพ และให้ข้อมูลข่าวสารที่ถูกต้อง ครบถ้วน ทันสมัย แก่ผู้บริโภค เพื่อเพิ่มความปลอดภัยด้านยาให้แก่ผู้ป่วย
ในการนี้ คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ ร่วมกับชมรมเภสัชกรภาคใต้ และสำนักวิชาเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ ได้เล็งเห็นความสำคัญในเรื่องดังกล่าว จึงได้จัดโครงการประชุมวิชาการเภสัชศาสตร์ ประจำปี พ.ศ.2567 ภายใต้ชื่อ “Patient – Centered Care and Seamless Pharmacists” โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อส่งเสริมความรู้และทักษะของเภสัชกร ในการให้บริการเภสัชกรรมที่เน้นผู้ป่วยเป็นศูนย์กลาง สร้างเครือข่ายความร่วมมือ ระหว่างเภสัชกร บุคลากรทางการแพทย์ และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพื่อให้การดูแลผู้ป่วยเกิดความต่อเนื่องไร้รอยต่อ และยังเป็นการส่งเสริมการพัฒนาระบบบริการเภสัชกรรมและการวิจัยจากการแลกเปลี่ยนเรียนรู้จากประสบการณ์ ทำให้เภสัชกรได้รับองค์ความรู้ที่ทันสมัย เกิดการพัฒนาตนเองสู่การเปลี่ยนแปลงทั้งต่อตนเองและการทำงาน ซึ่งภายในงานได้จัดให้มีการบรรยายวิชาการ การเสวนาโดยผู้เชี่ยวชาญ นิทรรศการกิจกรรม และการประกวดผลงานวิจัยด้านเภสัชศาสตร์
วัตถุประสงค์
1.เพื่อส่งเสริมความรู้และทักษะของเภสัชกร ในการให้บริการเภสัชกรรมที่เน้นผู้ป่วยเป็นศูนย์กลาง
2.เพื่อสร้างเครือข่ายความร่วมมือ ระหว่างเภสัชกร บุคลากรทางการแพทย์ และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เพื่อให้การดูแลผู้ป่วยเกิดความต่อเนื่องไร้ร้อยต่อ
3.เพื่อแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ประสบการณ์ แนวทางปฏิบัติที่ดี และผลงานวิจัยด้านเภสัชกรรม
4.เพื่อส่งเสริมการพัฒนาระบบบริการเภสัชกรรม ให้มีประสิทธิภาพ ประสิทธิผล และยั่งยืน
คำสำคัญ
ประชุมวิชาการ เภสัชศาสตร์ ประจำปี 2567