ศูนย์การศึกษาต่อเนื่องฯ จะส่งข้อมูลแจ้งเตือนสมาชิก ผ่านช่องทาง sms และ email ในวันที่ 5 ธ.ค. 2567 และ 19 ธ.ค. 2567

การประชุมวิชาการ
โครงการหลักสูตร Non Degree ภายใต้เรื่อง การฝึกอบรมระยะสั้นการบริบาลทางเภสัชกรรม สาขาโรคติดเชื้อเอชไอวีและวัณโรค ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2567 (รอบที่้ 5)
ชื่อการประชุม โครงการหลักสูตร Non Degree ภายใต้เรื่อง การฝึกอบรมระยะสั้นการบริบาลทางเภสัชกรรม สาขาโรคติดเชื้อเอชไอวีและวัณโรค ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2567 (รอบที่้ 5)
สถาบันหลัก คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี
รหัสกิจกรรม 1010-2-000-022-04-2567
สถานที่จัดการประชุม โรงพยาบาลสรรพสิทธิประสงค์
วันที่จัดการประชุม 01 มิ.ย. 2567 - 30 ก.ย. 2567
ผู้จัดการประชุม คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี
กลุ่มเป้าหมาย เภสัชกรที่สนใจ 4 คนต่อปี
หน่วยกิตการศึกษาต่อเนื่อง 30 หน่วยกิต
หลักการและเหตุผล
โรคติดเชื้อเอชไอวี และวัณโรคเป็นปัญหาสาธารณสุขที่สำคัญโดยเฉพาะประเทศไทย
เมื่อปี ค.ศ. 2017 องค์การอนามัยโลก รายงานการเกิดโรคติดเชื้อเอชไอวี/เอดส์ ทั้งสิ้น 36.9 ล้านคนทั่วโลก สำหรับประเทศไทย เมื่อสิ้นปี พ.ศ. 2560 พบว่ามีผู้ติดเชื้อเอชไอวี ทั้งสิ้น 439,610 คน ในปี ค.ศ. 2016 พบผู้ป่วยวัณโรคทั่วโลกจำนวน 10.4 ล้านคน และพบผู้ป่วยในประเทศปีละ 120,000 คน ซึ่งประเทศไทย เป็น 1 ใน 14 ประเทศทั่วโลกที่มีผู้ป่วยวัณโรคมากที่สุด องค์การอนามัยโลกได้ประกาศยุติโรคติดเชื้อเอชไอวี และวัณโรค ในปี ค.ศ. 2020 ซึ่งทางสมาคมโรคเอดส์แห่งประเทศไทย ได้ร่วมรณรงค์การลดเอดส์ให้เหลือศูนย์ (Triple Zero) เช่นกัน รวมทั้งสำนักวัณโรคกรมควบคุมโรคเองก็ได้ประกาศ “ถึงเวลายุติปัญหาวัณโรค (It’s Time to Zero TB)” ดังนั้น เภสัชกรซึ่งเป็นส่วนหนึ่งในบุคลากรทางการแพทย์ ที่มีส่วนช่วยในการยุติปัญหาการเกิดโรคติดเชื้อเอชไอวี และวัณโรคนั้น จึงควรมีทักษะและความเชี่ยวชาญในการดูแลผู้ป่วยได้อย่างมีประสิทธิภาพ เพื่อร่วมวางแผนการรักษาที่เหมาะสมแก่ผู้ป่วยกับทีมสหสาขาวิชาชีพรวมถึงการติดตามการใช้ยา ทั้งในด้านประสิทธิผล และการติดตามอาการไม่พึงประสงค์ที่อาจเกิดขึ้นจากยา ช่วยประเมินและติดตามความร่วมมือในการใช้ยาของผู้ป่วย เพื่อให้ผู้ป่วยได้ผลจากการรักษาสูงที่สุดเพื่อนำไปสู่การป้องกันการแพร่กระจายโรคสู่ผู้อื่นในที่สุด
จากปัญหาในปัจจุบันยังขาดแคลนเภสัชกรที่มีความเชี่ยวชาญด้านการดูแลผู้ติดเชื้อเอชไอวี และวัณโรคทั้งในระดับโรงพยาบาลศูนย์ โรงพยาบาลทั่วไป รวมถึงโรงพยาบาลชุมชน ประกอบกับเภสัชกรทั่วไปที่ทำงานยังไม่มีความรู้ความสามารถที่เพียงพอในการให้การบริบาลทางเภสัชกรรมในผู้ติดเชื้อเอชไอวี และวัณโรค ทำให้การดูแลผู้ติดเชื้อเอชไอวีและวัณโรคยังมีประสิทธิภาพไม่ดีนัก ดังนั้นเพื่อให้ผู้ติดเชื้อเอชไอวีและวัณโรค ได้รับการบริบาลทางเภสัชกรรมจากเภสัชกรอย่างเต็มที่และมีประสิทธิภาพ จึงมีความจำเป็นที่จะพัฒนาศักยภาพและทักษะสำหรับเภสัชกรในการบริบาลทางเภสัชกรรมในผู้ติดเชื้อเอชไอวีและวัณโรค เพื่อให้มีความรู้ความเข้าใจในโรคและยาที่ใช้ทางโรคติดเชื้อเอชไอวีและวัณโรคมากขึ้น และสามารถทำงานร่วมกับที่มสหสาขาวิชาชีพที่ดูแลผู้ติดเชื้อเอชไอวีและวัณโรคใน ทุกระดับ ไม่ว่าจะเป็นแพทย์เฉพาะทางโรคติดเชื้อ แพทย์เฉพาะทางทรวงอก แพทย์ทั่วไป พยาบาลเฉพาะทาง หรือเภสัชกร ในการส่งต่อข้อมูล การดูแลผู้ป่วยจากโรงพยาบาลศูนย์ สู่โรงพยาบาลทั่วไปหรือโรงพยาบาลชุมชน หรือการติดตามเยี่ยมบ้านผู้ป่วย โดยเฉพาะผู้ป่วยวัณโรค จึงมีการพัฒนาหลักสูตรการบริบาลทางเภสัชกรรมระยะสั้น สาขาโรคติดเชื้อเอชไอวีและวัณโรคขึ้น
ในปัจจุบัน ประกาศนียบัตรวิชาชีพเภสัชกรรม สาขาโรคติดเชื้อเอชไอวีและวัณโรค ในประเทศไทยมีเพียง 1 ที่เท่านั้น ซึ่งจัดการอบรมโดยสมาคมเภสัชกรรมโรงพยาบาล มีแหล่งฝึกปฏิบัติงานอยู่ที่โรงพยาบาลประจวบคีรีขันธ์ และโรงพยาบาลชัยภูมิ ดังนั้นจึงได้จัดทำประกาศนียบัตรวิชาชีพเภสัชกรรม (สาขาโรคติดเชื้อเอชไอวีและวัณโรค) Certificate in Pharmacy (HIV and TB)โดยคณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี ร่วมกับกลุ่มงานเภสัชกรรม โรงพยาบาลสรรพสิทธิประสงค์ จังหวัดอุบลราชธานี กระทรวงสาธารณสุข ภายใต้การรับรองของวิทยาลัยเภสัชบำบัดแห่งประเทศไทย สภาเภสัชกรรม ตามประกาศสภาเภสัชกรรม ที่ 77/2563 เรื่อง รับรองหลักสูตรระยะสั้นการบริบาลทางเภสัชกรรม
(หลักสูตรที่ 1) ลงวันที่ 24 สิงหาคม2563 เพื่อที่จะพัฒนาทักษะของเภสัชกรที่ปฏิบัติงาน และเพิ่มความเชี่ยวชาญในการดูแลผู้ติดเชื้อเอชไอวี ผู้ป่วยเอดส์และวัณโรค ให้กับเภสัชกรในโรงพยาบาลศูนย์ โรงพยาบาลทั่วไป และโรงพยาบาลชุมชน ในพื้นที่ใกล้เคียง โดยเฉพาะในเขตภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่าง ให้การดูแลด้านยาแก่ผู้ป่วยโรคติดเชื้อเอชไอวีและวัณโรคอย่างต่อเนื่อง เพื่อให้ผู้ป่วยมีผลการรักษาด้วยยาที่ดี และมีคุณภาพชีวิตที่ดีการเรียนการสอนในหลักสูตรประกอบด้วยการเรียนรู้ภาคทฤษฎีจากอาจารย์และเภสัชกรผู้มีความเชี่ยวชาญด้านการบริบาลทางเภสัชกรรมและเภสัชบำบัดในโรคติดเชื้อเอชไอวีและวัณโรคในภาคปฏิบัติมีการเรียนรู้การปฏิบัติงานทั้งการดูแลผู้ป่วยโรคติดเชื้อเอชไอวีและวัณโรค แบบผู้ป่วยนอก มีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ถ่ายทอดประสบการณ์ อภิปรายกรณีศึกษาร่วมกับอาจารย์ เภสัชกรประจำแหล่งฝึก ทีมสหสาขาวิชาชีพต่างๆ รวมทั้งมีการถ่ายทอดความรู้ทางด้านยา สารสนเทศด้านยา ข้อมูลการศึกษาวิจัยที่เป็นปัจจุบันเกี่ยวกับโรคติดเชื้อเอชไอวีและวัณโรค การพัฒนางานวิจัยจากงานประจำ เพื่อที่จะให้เภสัชกรผู้ผ่านการอบรมมีความรู้ ทักษะ ประสบการณ์ ความสามารถในการริเริ่ม พัฒนางานบริบาลทางเภสัชกรรมในผู้ป่วยโรคติดเชื้อเอชไอวีและวัณโรค และถ่ายทอดองค์ความรู้ด้านโรคติดเชื้อเอชไอวีและวัณโรค ภายในองค์กร เผยแพร่ความรู้สู่ประชาชนทั่วไปเพื่อให้มีการดูแลผู้ป่วยโรคติดเชื้อเอชไอวีและวัณโรค อย่างมีประสิทธิภาพและสามารถอยู่ร่วมในสังคมได้อย่างมีความสุข
วัตถุประสงค์
1.เภสัชกรที่เข้ารับการฝึกอบรมมีความรู้ความเข้าใจยาที่ใช้รักษาในโรคติดเชื้อเอชไอวีวัณโรคและโรคติดเชื้อฉวยโอกาสที่พบได้บ่อย ได้แก่ กลไกการออกฤทธิ์ ขนาดยา อาการไม่พึงประสงค์ การเกิดอันตรกิริยาระหว่างยา และการติดตามการรักษา
2.เภสัชกรที่เข้ารับการฝึกอบรมมีความรู้ความเข้าใจแนวทางการรักษาโรคติดเชื้อเอชไอวีและวัณโรคและโรคติดเชื้อฉวยโอกาสที่พบบ่อย
3.เภสัชกรที่เข้ารับการฝึกอบรมมีทักษะในการให้คำแนะนำด้านยาและส่งเสริมความร่วมมือในการรักษาแก่ผู้ติดเชื้อเอชไอวีและวัณโรค
4.เภสัชกรที่เข้ารับการฝึกอบรมมีแนวคิดในการทำวิจัยด้านการใช้ยาในผู้ติดเชื้อเอชไอวีและวัณโรค และสามารถประเมินวรรณกรรมปฐมภูมิที่เกี่ยวข้องได้
5.เภสัชกรที่เข้ารับการฝึกอบรมสามารถค้นหาปัญหาการใช้ยา วางแผนติดตาม ป้องกันและแก้ไขปัญหา ที่เกิดขึ้นจากการใช้ยาได้
6.เภสัชกรได้ฝึกปฏิบัติงานเภสัชกรรมบริบาลผู้ป่วยนอกโรคติดเชื้อเอชไอวีและวัณโรค ณ โรงพยาบาลสรรพสิทธิประสงค์ ร่วมกับทีมสหวิชาชีพ
คำสำคัญ
HIV and TB Pharmaceutical care