ศูนย์การศึกษาต่อเนื่องฯ จะส่งข้อมูลแจ้งเตือนสมาชิก ผ่านช่องทาง sms และ email ในวันที่ 5 ธ.ค. 2567 และ 19 ธ.ค. 2567

การประชุมวิชาการ
โครงการจัดการหลักสูตร Non Degree ภายใต้เรื่อง การฝึกอบรมระยะสั้นการบริบาลทางเภสัชกรรม สาขาโรคหลอดเลือดสมอง ปีงบประมาณ 2567 (รอบที่ 4)
ชื่อการประชุม โครงการจัดการหลักสูตร Non Degree ภายใต้เรื่อง การฝึกอบรมระยะสั้นการบริบาลทางเภสัชกรรม สาขาโรคหลอดเลือดสมอง ปีงบประมาณ 2567 (รอบที่ 4)
สถาบันหลัก คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี
รหัสกิจกรรม 1010-2-000-018-03-2567
สถานที่จัดการประชุม โรงพยาบาลสรรพสิทธิประสงค์ จังหวัดอุบลราชธานี
วันที่จัดการประชุม 01 เม.ย. 2567 - 31 ก.ค. 2567
ผู้จัดการประชุม คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี
กลุ่มเป้าหมาย เภสัชกรที่สนใจ 4 คนต่อปี
หน่วยกิตการศึกษาต่อเนื่อง 30 หน่วยกิต
หลักการและเหตุผล
โรคหลอดเลือดสมองเป็นปัญหาสาธารณสุขที่สำคัญ องค์การอนามัยโลกรายงานการเกิดโรคหลอดเลือดสมองเป็นสาเหตุการเสียชีวิตอันดับ 2 ของโลก มีจำนวนผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองทั่วโลก 17 ล้านคน และเสียชีวิตจากโรคหลอดเลือดสมอง จำนวน 6.5 ล้านคน สำหรับประเทศไทยพบโรคหลอดเลือดสมองเป็นสาเหตุก่อให้เกิดการเสียชีวิตก่อนวัยอันควร โดยพบเป็นอันดับที่ 1 ในเพศหญิง และอันดับที่ 2 ในเพศชาย จากรายงานของสำนักนโยบายและ ยุทธศาสตร์สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข พบว่าอัตราตายด้วยโรคหลอดเลือดสมองต่อประชากรแสนคนในภาพรวม ปี พ.ศ. 2557 – 2559 เท่ากับ 38.63, 43.28 และ 43.54 ตามลำดับ จะเห็นได้ว่า อัตราตายด้วยโรคหลอดเลือดสมองนั้นเพิ่มขึ้นทุกปี และยังพบว่าโรคหลอดเลือดสมองมีอัตราตายมากกว่าโรคเบาหวานและ โรคหัวใจขาดเลือดเป็น 1.5 – 2 เท่าตัวจากสถานการณ์ดังกล่าวนับว่าเป็นภาวะคุกคามทางสุขภาพและเศรษฐกิจ เนื่องจากเมื่อเกิดโรค มักส่งผลให้เสียชีวิตก่อนวัยอันควร สามารถเกิดได้กับประชากรทุกวัย สำหรับผู้ที่รอดชีวิตจะได้รับผลกระทบ ทั้งทางด้านร่างกาย จิตใจ สังคม สำหรับผู้ป่วยที่รอดจากการเสียชีวิตมักจะเกิดความพิการภายหลังจาก
เป็นโรค ก่อให้เกิดภาระให้กับคนในครอบครัวทำให้เกิดความสูญเสียทางเศรษฐกิจ
จากสาเหตุดังกล่าวทางกระทรวงสาธารณสุขจึงเป็นหน่วยงานขับเคลื่อน โดยการทำแผนพัฒนาระบบบริการสุขภาพ (service plan) กำหนดให้โรคหลอดเลือดสมองเป็นโรคหนึ่งในหมวดสาขาไม่ติดต่อที่อยู่ในระบบบริการสุขภาพ มุ่งเน้นเน้นการพัฒนาระบบการรักษา และกำหนดให้โรงพยาบาลศูนย์ (A) และโรงพยาบาลชุมชนขนาดใหญ่/โรงพยาบาลทั่วไป (S)จะต้องจัดตั้งเป็นหน่วยบริการโรคหลอดเลือดสมอง (stroke unit) ในส่วนโรงพยาบาลขนาดทั่วไปขนาดเล็ก (M1) และโรงพยาบาลชุมชนขนาด 120 เตียงขึ้นไป (M2) เป็นหน่วยบริการดูแลผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองภายหลังการรักษา (post rehabilitation unit) นอกจากนี้ในแผนพัฒนาระบบบริการสุขภาพยังกำหนด การบริหารหออภิบาลผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมอง จำเป็นที่จะต้องประกอบด้วย แพทย์ พยาบาลวิชาชีพ นักกายภาพบำบัด และเภสัชกร สำหรับประจำหอผู้ป่วย ดังนั้นเภสัชกรจึงเป็นบุคลากรทางการแพทย์ที่มีบทบาทในทีมสหวิชาชีพ ผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองเป็นกลุ่มโรคที่ต้องมีการใช้ยาหลายกลุ่ม และมักมีโรคร่วมอื่น ๆ หลายโรค เช่น เบาวาน ความดันโลหิตสูง ไขมันในเลือดสูง โรคหัวใจเต้นผิดจังหวะ ซึ่งมีโอกาสพบอาการไม่พึงประสงค์การเกิดปฏิกิริยาต่อกันของยาได้มาก นอกจากนี้ผู้ป่วยกลุ่มโรคนี้จำเป็นที่จะต้องได้รับการรักษาด้วยยาเป็นระยะเวลานาน จึงควรมีการดูแลอย่างต่อเนื่องทั้งการดูแลแบบผู้ป่วยนอกและการลงเยี่ยมบ้าน เพื่อติดตามการรักษา ทั้งในประสิทธิภาพ อาการข้างเคียงและความร่วมมือในระยะยาว จากปัญหาในปัจจุบันยังขาดแคลนเภสัชกรที่ทำงานด้านโรคหลอดเลือดสมอง ทั้งในระดับ โรงพยาบาลศูนย์ โรงพยาบาลทั่วไป รวมถึงโรงพยาบาลชุมชน ประกอบกับเภสัชกรทั่วไปที่ทำงานยังไม่มีความรู้ความสามารถที่เพียงพอในการให้การบริบาลทางเภสัชกรรมในผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมอง ทำให้การดูแลผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองส่วนใหญ่ อยู่ภายใต้การดูแลของพยาบาลที่ผ่านการอบรมเฉพาะทางด้านโรคหลอดเลือดสมองเป็นหลัก ดังนั้น เพื่อให้ผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมอง ได้รับการบริบาลทางเภสัชกรรมจากเภสัชกรอย่างเต็มที่และ มีประสิทธิภาพ จึงมีความจำเป็นที่จะพัฒนาศักยภาพและทักษะสำหรับเภสัชกรในการบริบาลทางเภสัชกรรม ในผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมอง เพื่อให้มีความรู้ความเข้าใจในโรคและยาที่ใช้ทางโรคหลอดเลือดสมองมากขึ้น และสามารถทำงานร่วมกับที่ สหสาขาวิชาชีพที่ดูแลผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองในทุกระดับไม่ว่าจะเป็นแพทย์เฉพาะทางระบบประสาท แพทย์ทั่วไป พยาบาลเฉพาะทาง หรือเภสัชกร ในการส่งต่อข้อมูล การดูแลผู้ป่วยจากโรงพยาบาลเฉพาะทางสู่โรงพยาบาลชุมชน หรือการดูแลผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองในโรงพยาบาลศูนย์ โรงพยาบาลทั่วไป จึงมีการพัฒนาหลักสูตรการบริบาลทางเภสัชกรรมระยะสั้น ด้านหลอดเลือดสมองขึ้น
หลักสูตรการบริบาลเภสัชกรรมระยะสั้น สาขาหลอดเลือดสมองจัดทำขึ้นโดยความร่วมมือของคณะเภสัชศาสตร์มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี และกลุ่มงานเภสัชกรรม โรงพยาบาลสรรพสิทธิประสงค์ กระทรวงสาธารณสุข ภายใต้การรับรองของวิทยาลัยเภสัชบำบัดแห่งประเทศไทย สภาเภสัชกรรม ตามประกาศสภาเภสัชกรรม ที่ 8/2562 เรื่อง รับรองหลักสูตรระยะสั้นการบริบาลทางเภสัชกรรม (หลักสูตรที่ 5) ลงวันที่ 29 มกราคม 2562 เพื่อที่จะพัฒนาทักษะของเภสัชกรที่ปฏิบัติงานด้านโรคหลอดเลือดสมองในโรงพยาบาล โรงพยาบาลศูนย์ โรงพยาบาลชุมชนและสถานพยาบาลอื่น ๆ ให้สามารถริเริ่มและพัฒนางานบริบาลทางเภสัชกรรมตามความต้องการของกระทรวงสาธารณสุขหรือหน่วยงานที่รับผิดชอบ ให้การดูแลด้านยาแก่ผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองอย่างต่อเนื่อง เพื่อให้ผู้ป่วยมีผลการรักษาด้วยยาที่ดี และมีคุณภาพชีวิตที่ดี
การเรียนการสอนในหลักสูตรประกอบด้วยการเรียนรู้ภาคทฤษฎีจากอาจารย์และเภสัชกร ผู้มีความเชี่ยวชาญด้านการบริบาลทางเภสัชกรรมและเภสัชบำบัดในโรคหลอดเลือดสมอง ในภาคปฏิบัติมีการเรียนรู้ จากการปฏิบัติงานทั้งการดูแลผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองทั้งแบบผู้ป่วยนอก ผู้ป่วยใน และผู้ป่วยในชุมชนมีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ถ่ายทอดประสบการณ์ อภิปรายกรณีศึกษาร่วมกับอาจารย์ เภสัชกรประจำแหล่งฝึก ทีมสหสาขาวิชาชีพต่าง ๆ รวมทั้งมีการถ่ายทอดความรู้ทางด้านยา สารสนเทศด้านยา การพัฒนางานวิจัยจากงานประจำ เพื่อที่จะให้เภสัชกรผู้ผ่านการอบรมมีความรู้ ทักษะ ประสบการณ์ ความสามารถในการริเริ่ม พัฒนางานบริบาลทางเภสัชกรรมในผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองและถ่ายทอดองค์ความรู้ด้านโรคหลอดเลือดสมองภายในองค์กร เผยแพร่ความรู้สู่ประชาชนทั่วไปเพื่อให้มีการดูแลผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองอย่างมีประสิทธิภาพ และสามารถอยู่ร่วมในสังคมได้อย่างมีความสุข
วัตถุประสงค์
1.เภสัชกรที่เข้ารับการฝึกอบรมมีความรู้ความเข้าใจยาที่ใช้รักษาในโรคหลอดเลือดสมองและโรคร่วมที่พบได้บ่อย ได้แก่ กลไกการออกฤทธิ์ ขนาดยา อาการไม่พึงประสงค์ การติดตามระดับยาในเลือด
2.เภสัชกรที่เข้ารับการฝึกอบรมมีความรู้ความเข้าใจแนวทางการรักษาโรคหลอดเลือดสมองและโรคร่วมที่พบได้บ่อย ได้แก่ ความดันโลหิตสูง เบาหวาน ไขมันในเลือดผิดปกติ หัวใจเต้นผิดจังหวะ
3.เภสัชกรที่เข้ารับการฝึกอบรมมีแนวคิดในการทำวิจัยด้านการใช้ยาในผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองและสามารถประเมินวรรณกรรมปฐมภูมิที่เกี่ยวข้องได้
4.เภสัชกรที่เข้ารับการฝึกอบรมสามารถค้นหาปัญหาการใช้ยา วางแผนติดตาม ป้องกันและแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นจากการใช้ยาได้
5.เภสัชกรที่เข้ารับการฝึกอบรมได้ฝึกปฏิบัติงานการบริบาลทางเภสัชกรรมแก่ผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองทั้งในหอผู้ป่วยหนัก โรคหลอดเลือดสมอง แผนกผู้ป่วยนอกของ โรงพยาบาลสรรพสิทธิประสงค์ และการลงเยี่ยมบ้านกับทีมสหวิชาชีพ
คำสำคัญ
วิธีสมัครการประชุม
รายละเอียดการรับสมัคร : วันที่รับสมัคร : 1 กรกฎาคม 2566 เป็นต้นไป ระยะเวลาการฝึกอบรม 16 สัปดาห์ (4 เดือนต่อรอบการฝึกอบรม) ค่าลงทะเบียน : 25,000 บาท/คน/รอบ ลงทะเบียนออนไลน์ที่ : https://phar.ubu.ac.th/main/sub/training รายละเอียดเพิ่มเติม : โทรศัพท์ : 045-353619 Facebook : บัณฑิตศึกษา คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี Inbox Facebook : www.m.me/GradPharUBU E-mail : gradphar@ubu.ac.th Website : phar.ubu.ac.th