ชื่อการประชุม |
|
โครงการประชุมวิชาการ เรื่อง วันวัณโรคโลกสากล ประจำปี 2567 (World TB day 2024) |
สถาบันหลัก |
|
คณะเภสัชศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
รหัสกิจกรรม |
|
1001-2-000-018-03-2567 |
สถานที่จัดการประชุม |
|
ห้องประชุมเลขที่ 1209 ชั้น 12 โซนเอ ตึกภูมิสิริมังคลานุสรณ์ รพ.จุฬาลงกรณ์ |
วันที่จัดการประชุม |
|
18 มี.ค. 2567 |
ผู้จัดการประชุม |
|
กลุ่มงานเภสัชกรรม โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ |
กลุ่มเป้าหมาย |
|
บุคลากรในโรงพยาบาล,อาจารย์,เภสัชกร |
หน่วยกิตการศึกษาต่อเนื่อง |
|
4 หน่วยกิต |
หลักการและเหตุผล
หลักการและเหตุผล
สภาพปัญหาปัจจุบันวัณโรค เป็นโรคติดต่อที่สำคัญและเป็นปัญหาทางด้านสาธารณสุขทั่วโลก องค์การอนามัยโลกได้ประกาศให้วัณโรคเป็นปัญหาฉุกเฉินทางด้านสาธารณสุขทั่วโลก ประเทศไทยเป็นประเทศที่มีปัญหาวัณโรครุนแรงทั้ง 3 ด้าน คือมีอัตราผู้ป่วยวัณโรค อัตราวัณโรคดื้อยา และอัตราวัณโรคในผู้ป่วยเอชไอวีสูง ซึ่งในโรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ มีผู้ป่วยที่ได้รับการวินิจฉัยวัณโรคกว่า 600-700 คน ต่อปี ในช่วง 5 ปีที่ผ่านมามีการเปลี่ยนแปลงในการวินิจฉัยและรักษาวัณโรค นั้นคือมีการใช้เทคโนโลยีทางอณูชีววิทยาเพื่อวินิจฉัยวัณโรคและตรวจการดื้อยามากขึ้นรวมทั้งมีการปรับปรุงสูตรยาในการรักษาวัณโรคดื้อยา นอกจากนี้ประเทศไทยได้ถือว่าวัณโรคที่ดื้อยาหลายขนานแบบชนิดรุนแรงมาก (Extensively drug resistant tuberculosis XDR-TB) เป็นโรคติดต่ออันตรายตามประกาศของกระทรวงสาธารณสุข พ.ศ. 2559 นอกจากนี้ในแต่ละปีโรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ มีบุคลากรทางการแพทย์วินิฉัยเป็นวัณโรค ปีละ 10-20 ราย การสร้างองค์ความรู้ที่ถูกต้องเกี่ยวกับวัณโรค รวมถึงการป้องกันและควบคุมการติดเชื้อวัณโรคในประชาชนทั่วไปรวมถึงบุคลากรทางการแพทย์ จึงมีความสำคัญอย่างยิ่ง และเนื่องจากในวันที่ 24 มีนาคม ของทุกปี เป็นวันวัณโรคสากล (World Tuberculosis Day) ซึ่งตั้งขึ้นเพื่อให้ตระหนักถึงปัญหาวัณโรคที่ยังคงระบาด จึงเป็นโอกาสอันดีที่จะจัดกิจกรรมให้ความรู้แก่บุคลากรทางการแพทย์และผู้ที่สนใจตลอดระยะเวลา 5 ปีที่หน่วยงาน จัดโครงการประชุมวิชาการด้านวัณโรค เพื่อให้ความรู้แก่บุคลากรทางการแพทย์ อาทิเช่น แพทย์ พยาบาล เภสัชกร นักเทคนิคการแพทย์ ฯลฯ มีความมุ่งหวังให้การติดเชื้อวัณโรคในบุคลากรทางการแพทย์ลดลง และให้ความรู้ความเข้าใจในเรื่องแนวทางการรักษาผู้ป่วยวัณโรคอย่างมีประสิทธิภาพและเป็นไปในแนวทางเดียวกัน ซึ่งได้รับการตอบรับจากกลุ่มเป้าหมายเป็นอย่างดี โดยปีที่ 6 นี้หน่วยงานเล็งเห็นโอกาส ในการจัดประชุมวิชาการ เพื่อเป็นการแลกเปลี่ยนความรู้และแนวทางการรักษาใหม่ๆ แก่ผู้ป่วยวัณโรค จากผู้เชี่ยวชาญในหลากหลายประเทศ
วัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์
1. เพื่อให้ความรู้เกี่ยวกับวัณโรคแก่บุคลากรทางการแพทย์
2. เพื่อพัฒนาความรู้และทักษะในการป่องกันการติดเชื้อวัณโรคในบุคลากรทางการแพทย์
3. เพื่อให้ทราบถึงแนวทางการดูแลผู้ป่วยวัณโรคในโรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์
4. เพื่อการฝึกปฏิบัติและทบทวนเกี่ยวกับการป้องกันการติดเชื้อด้วยเทคนิคและเครื่องมือต่างๆสำหรับบุคลากร
วิธีสมัครการประชุม
ศูนย์โรคอุบัติใหม่ด้านคลินิก โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย
อ.พญ.ปัทมา ต.วรพานิช
02-256-4000 ต่อ 5135