โครงการประชุมวิชาการเพื่อส่งเสริมสมรรถนะวิชาชีพสำหรับเภสัชกร เรื่อง “V-Lead: Empower new generation community pharmacists with NCDs experts & Pain management in digital ERA”
ชื่อการประชุม |
|
โครงการประชุมวิชาการเพื่อส่งเสริมสมรรถนะวิชาชีพสำหรับเภสัชกร เรื่อง “V-Lead: Empower new generation community pharmacists with NCDs experts & Pain management in digital ERA” |
สถาบันหลัก |
|
คณะเภสัชศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
รหัสกิจกรรม |
|
1001-2-000-011-02-2567 |
สถานที่จัดการประชุม |
|
ณ โรงแรม วี กรุงเทพมหานคร |
วันที่จัดการประชุม |
|
02 มี.ค. 2567 |
ผู้จัดการประชุม |
|
สถานปฏิบัติการเภสัชกรรมชุมชน (โอสถศาลา) |
กลุ่มเป้าหมาย |
|
เภสัชกรผู้สนใจ |
หน่วยกิตการศึกษาต่อเนื่อง |
|
3.75 หน่วยกิต |
หลักการและเหตุผล
หลักการและเหตุผล
เภสัชกรที่ปฏิบัติหน้าที่ในร้านยาหรือเภสัชกรชุมชนถือเป็นบุคลากรทางการแพทย์ที่ใกล้ชิดประชาชน ปัจจุบันมีเภสัชกรรุ่นใหม่ที่นอกจากให้การบริบาลทางเภสัชกรรมแล้วยังมีบทบาทในการบริหารทั้งคลังสินค้า การจัดการระบบขาย ระบบการเงินและภาษี รวมถึงการตลาดของร้านยาในยุคดิจิตัล กอปรกับสภาเภสัชกรรมและ/หรือองค์กรวิชาชีพเภสัชกรรมต่างพยายามสร้างบทบาทอันดีของเภสัชกร สร้างความร่วมมือกับหน่วยงาน/โครงการต่าง ๆ ของรัฐบาล โดยมีจุดมุ่งหมายเดียวกันคือทำให้ประชาชนสามารถเข้าถึงบริการสาธารณสุขที่ดี สถานปฏิบัติการเภสัชกรรมชุมชน คณะเภสัชศาสตร์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ในฐานะร้านยาของสถาบันการศึกษาจึงควรเข้ามามีส่วนร่วมในการเตรียมความพร้อมให้เภสัชกรรุ่นใหม่เข้าใจทั้งการจัดการการเงิน คลังสินค้า การจัดหน้าร้าน การนำเทคโนโลยีหรือเครื่องมือดิจิตัลมาปรับใช้ให้เหมาะสมกับวิชาชีพ รวมถึงส่วนของความรู้เรื่องโรคและยาโดยมุ่งเน้น 1) การดูแลผู้ป่วยโรคไม่ติดต่อเรื้อรังเพื่อเตรียมรับกับโครงการรับยาใกล้บ้านและ 2) โรคที่พบบ่อยในร้านยา เพื่อให้เภสัชกรยุคใหม่นำไปปรับใช้ในการดูแลภาวะเจ็บป่วยเบื้องต้นเพื่อช่วยชะลอความรุนแรงของโรคและลดภาระงานของโรงพยาบาล จากแนวคิดข้างต้น สถานปฏิบัติการฯ จึงจัดโครงการประชุมวิชาการเพื่อส่งเสริมสมรรถนะวิชาชีพสำหรับเภสัชกรแบบต่อเนื่องระยะสั้นเพื่อครอบคลุมทักษะและความรู้สำหรับเภสัชกรรุ่นใหม่
วัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์
พัฒนาทักษะสำหรับเภสัชกรรุ่นใหม่ ให้พร้อมเป็นเจ้าของธุรกิจร้านยาที่ประสบความสำเร็จ
ให้เกิดการแลกเปลี่ยนองค์ความรู้ และประสบการณ์ระหว่างผู้เชี่ยวชาญและผู้ประกอบวิชาชีพ
วิธีสมัครการประชุม
สถานปฏิบัติการเภสัชกรรมชุมชน ( โอสถศาลา )
E-mail : osotsala@pharm.chula.ac.th
โทร : 02-218-8428
1) เภสัชกรผู้สนใจ เข้าร่วมฟังการบรรยาย ตลอดโครงการ 30 ท่าน
2) เภสัชกรผู้สนใจ เข้าประชุมออนไลน์จำนวนประมาณ 200 ท่าน