ศูนย์การศึกษาต่อเนื่องฯ จะส่งข้อมูลแจ้งเตือนสมาชิก ผ่านช่องทาง sms และ email ในวันที่ 5 ธ.ค. 2567 และ 19 ธ.ค. 2567

การประชุมวิชาการ
Crash Course for Clinical Translation of Advanced Therapeutic Medicinal Products
ชื่อการประชุม Crash Course for Clinical Translation of Advanced Therapeutic Medicinal Products
สถาบันหลัก คณะเภสัชศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
รหัสกิจกรรม 1001-2-000-010-02-2567
สถานที่จัดการประชุม ณ โรงแรมแมนดาริน กรุงเทพฯ
วันที่จัดการประชุม 21 -22 มี.ค. 2567
ผู้จัดการประชุม คณะเภสัชศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
กลุ่มเป้าหมาย แพทย์ เภสัชกร และนักวิทยาศาสตร์
หน่วยกิตการศึกษาต่อเนื่อง 10 หน่วยกิต
หลักการและเหตุผล
หลักการและเหตุผล
ผลิตภัณฑ์การแพทย์ขั้นสูง (Advanced Therapy Medicinal Products; ATMPs) ซึ่งนิยมเรียกในประเทศในยุโรป หรือเซลล์และยีนบำบัด (Cellular and Gene Therapy, CGT) ซึ่งเป็นคำที่นิยมเรียกในสหรัฐอเมริกา ประกอบด้วยเซลล์ที่มีชีวิต ยีนหรือสารพันธุกรรม และเซลล์หรือเนื้อเยื่อสิ่งมีชีวิตที่สามารถใช้ฟื้นฟู ซ่อมแซม และทดแทนเนื้อเยื่อในร่างกายมนุษย์ ATMPs จัดเป็นยาที่มีชีวิต (living drugs) สามารถเพิ่มจำนวน ตอบสนองต่อตัวกระตุ้นต่างๆ และเปลี่ยนแปลงคุณสมบัติในร่างกายผู้ป่วยได้ การผลิต ATMPs/CGT ต้องทำภายใต้กระบวนการผลิตที่จำเพาะต่อบุคคล โดยการเก็บเซลล์จากผู้ป่วย ก่อนจะถูกส่งไปยังสถานที่ผลิตเพื่อผ่านกระบวนการผลิต และส่งกลับมายังโรงพยาบาลเพื่อบริหารยาแก่ผู้ป่วย ปัจจุบันมีการใช้ยากลุ่มนี้รักษาโรคมะเร็ง และแก้ไขความผิดปกติทางพันธุกรรมที่ไม่สามารถรักษาด้วยวิธีอื่นมาก่อน
ในประเทศไทยมีนักวิจัยจำนวนมากที่ทำงานที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาและวิจัยผลิตภัณฑ์ATMPs/CGT ซึ่งรวมถึงผลิตภัณฑ์ที่เกี่ยวกับเซลล์บำบัด สเต็มเซลล์ หรือเซลล์ต้นกำเนิด ผลิตภัณฑ์เหล่านี้ถูกจัดเป็นยา ตามพระราชบัญญัติยา พ.ศ. 2510 แก้ไขเพิ่มเติมฉบับที่ 6 พ.ศ. 2562 เนื่องจากธรรมชาติของยาในกลุ่มนี้มีความแตกต่างจากยาเคมีและยาชีววัตถุทั่วไปจึงมีความจำเป็นที่จะต้องมีแนวทางที่ชัดเจนในการขึ้นทะเบียนผลิตภัณฑ์ ATMPs/CGT ซึ่งที่ผ่านมาสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) ได้มีประกาศสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา เรื่อง การควบคุม กำกับ ดูแลยาที่เป็นผลิตภัณฑ์การแพทย์ชั้นสูง ประกาศ ณ วันที่ 7 มีนาคม 2561 และประกาศสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา เรื่อง แนวทางการขึ้นทะเบียนตำรับยาที่เป็นผลิตภัณฑ์การแพทย์ขั้นสูง ชนิดผลิตภัณฑ์เซลล์บำบัด ประกาศ ณ วันที่ 10 พฤษภาคม 2561
จากร่างการศึกษาวิจัยเชิงลึกในปี พ.ศ. 2564 พบว่ายังมีความต้องการส่งเสริมให้เกิดธุรกิจบริการ และอุตสาหกรรม โดยเฉพาะระบบนิเวศในช่วง TRL 5-9 อย่างจริงจัง เพื่อเป็นการเตรียมความพร้อมรองรับการคิดค้นพัฒนาและยาในกลุ่มนี้สำหรับนักวิจัย และหน่วยงานที่มีหน้าที่กำกับดูแลผลิตภัณฑ์ ATMPs/CGT มีความจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องมีการเตรียมความพร้อมบุคลากร นักวิจัย และผู้มีหน้าที่อนุมัติทะเบียนยา ให้มีความรู้เกี่ยวกับการเตรียมข้อมูลสำหรับขึ้นทะเบียนผลิตภัณฑ์กลุ่มนี้ตลอดจนการพัฒนาแนวทางการขึ้นทะเบียนยากลุ่มนี้ให้มีความชัดเจน ปฏิบัติได้ โดยคำนึงถึงความเสี่ยงและประโยชน์ที่ประชาชนจะได้รับโดยไม่ประณีประนอมกับความไม่ปลอดภัยที่พึงจะเกิดขึ้น การเตรียมความพร้อมบุคลากรที่เกี่ยวข้องในวงจรชีวิตผลิตภัณฑ์ ATMPs/CGT ตลอดจนการพัฒนากฎเกณฑ์ และแนวทางการขึ้นทะเบียนยาเป็นการเตรียมความพร้อม ให้งานวิจัย และอุตสาหกรรมด้านนี้เติบโตได้อย่างรวดเร็ว และทันต่อสถานการณ์ เป็นการช่วยให้ประเทศไทยสามารถพึ่งพาตนเองได้ ประหยัดงบประมาณในการนำเข้าผลิตภัณฑ์ยา และยังส่งเสริมให้เกิดการส่งออกผลิตภัณฑ์ไปยังประเทศอื่นเพื่อนำรายได้เข้าประเทศอีกด้วย
เพื่อเป็นการเตรียมความพร้อมสำหรับงานคิดค้น พัฒนาและวิจัย และการกำกับดูแลผลิตภัณฑ์ ATMPs/CGT ของประเทศไทย โครงการนี้จึงมีวัตถุประสงค์ที่จะพัฒนาศักยภาพของนักวิจัย บุคลากรในอุตสาหกรรมยา และบุคลากรของหน่วยงานกำกับดูแลผลิตภัณฑ์สุขภาพในการปฏิบัติงานเกี่ยวกับการวิจัยและพัฒนา การขึ้นทะเบียนตำรับยารวมถึงการกำกับดูแลผลิตภัณฑ์การแพทย์ขั้นสูง เพื่อสนับสนุนให้เกิดการพัฒนาและผลิตผลิตภัณฑ์การแพทย์ขั้นสูงภายในประเทศและเพิ่มโอกาสในการแข่งขันกับต่างประเทศ
วัตถุประสงค์
-เพื่อให้นักวิจัย บุคลากรในอุตสาหกรรมยา และบุคลากรของหน่วยงานกำกับดูแลผลิตภัณฑ์สุขภาพมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการพัฒนาผลิตภัณฑ์การแพทย์ขั้นสูงตามแนวทาง ICH Q8
-เพื่อให้นักวิจัย บุคลากรในอุตสาหกรรมยา และบุคลากรของหน่วยงานกำกับดูแลผลิตภัณฑ์สุขภาพมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับแนวทางการขึ้นทะเบียนตำรับยาที่เป็นผลิตภัณฑ์การแพทย์ขั้นสูงทั้งในและต่างประเทศ
-เพื่อให้นักวิจัย บุคลากรในอุตสาหกรรมยา และบุคลากรของหน่วยงานกำกับดูแลผลิตภัณฑ์สุขภาพมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับระบบคุณภาพ รวมทั้งแนวปฏิบัติที่เกี่ยวข้องกับการผลิตรวมถึงการจัดเก็บและกระจายผลิตภัณฑ์การแพทย์ขั้นสูง
-ส่งเสริมและสนับสนุนให้เกิดการจัดการความรู้ที่เกี่ยวกับการขึ้นทะเบียนตำรับยาที่เป็นผลิตภัณฑ์การแพทย์ขั้นสูงของประเทศไทย

คำสำคัญ
วิธีสมัครการประชุม
ผู้สนใจเข้าร่วมประชุมสามารถลงทะเบียนได้ที่หน่วยการศึกษาต่อเนื่อง คณะเภสัชศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โทรศัพท์ 02-218-8283 e-mail: ce@pharm.chula.ac.th