ศูนย์การศึกษาต่อเนื่องฯ จะส่งข้อมูลแจ้งเตือนสมาชิก ผ่านช่องทาง sms และ email ในวันที่ 5 ธ.ค. 2567 และ 19 ธ.ค. 2567

การประชุมวิชาการ
ประชุมวิชาการประจำปีของสมาคมเภสัชวิทยาแห่งประเทศไทย ครั้งที่ 45 ประจำปี พ.ศ.2567 เรื่อง Bridging the Gap: Innovation and Translations in Pharmacology
ชื่อการประชุม ประชุมวิชาการประจำปีของสมาคมเภสัชวิทยาแห่งประเทศไทย ครั้งที่ 45 ประจำปี พ.ศ.2567 เรื่อง Bridging the Gap: Innovation and Translations in Pharmacology
สถาบันหลัก คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร
รหัสกิจกรรม 1007-2-000-027-02-2567
สถานที่จัดการประชุม โรงแรมแมนดาริน กรุงเทพฯ
วันที่จัดการประชุม 15 -17 พ.ค. 2567
ผู้จัดการประชุม คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร
กลุ่มเป้าหมาย อาจารย์ นักเภสัชวิทยา นักศึกษาระดับบัณฑิตศึกษา บุคลากรทางการแพทย์ และผู้สนใจทั่วไป จำนวน 250 คน
หน่วยกิตการศึกษาต่อเนื่อง 9.75 หน่วยกิต
หลักการและเหตุผล
ในปัจจุบัน องค์ความรู้ทางด้านเภสัชวิทยาในสาขาต่างๆ มีการพัฒนาและเปลี่ยนแปลงไปอย่างมากมาย อาทิ เภสัชพันธุศาสตร์ มะเร็งวิทยา โดยความรู้เหล่านี้ได้ถูกนำมาประยุกต์ใช้ร่วมกับเทคโนโลยีสมัยใหม่ทำให้เกิดนวัตกรรมใหม่ๆ อันเป็นประโยชน์ต่อการวินิจฉัย การพยากรร์โรคและการรักษาโรคได้อย่างแม่นยำ และมีความจำเพาะกับผู้ป่วยมากขึ้น ดังนั้นเพื่อให้นักเภสัชวิทยาและบุุคลากรทางสาธารณสุข นิสิตนีกศึกษาตลอดจนผู้สนใจ ได้มีความรู้ความเข้าใจถึงองค์ความรู้เหล่านี้ และได้ตะหนักถึงการนำความรู้ดังกล่าวมาพัฒนาให้เกิดนวัตกรรมเพื่อนำไปใช้ประโยชน์ทางการแพทย์ซึ่งจะเพิ่มขั้นเป็นอย่างมากในอนาคต ภาควิชาเภสัชวิทยา คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล ร่วมกับสมาคมเภสัชวิทยาแห่งประเทศไทยจึงจัดการประชุมวิชาการเภสัชวิทยาประจำปี 2567 (คร้งที่ 45) ในหัวข้อ Bridging the Gap: Innovation and Translations in Pharmacology เพื่อให้นักเภสัชวิทยาและผู้สนใจสามารถติดตามความรู้ความก้าวหน้า และผลงานวิจัยทางเภสัชวิทยาที่ทันสมัย เพื่อนำไปพัฒนาต่อยอดและสร้างสรรค์นวัตกรรมทางเภสัชวิทยาและทางการแพทย์ ตลอดจนมีโอกาสแลกเปลี่ยนข้อคิดเห็๋นประสบการณ์ และสร้างเครือข่ายวิจัยระหว่างนักเภสัชวิทยาจากหลายสถาบัน ซึ่งจะก่อให้เกิดประโยชน์ในการพัฒนาประเทศต่อไป
วัตถุประสงค์
1. เพื่อให้ผู้เข้าร่วมประชุมได้ติดตามความก้าวหน้าและองค์ความรู้ใหม่ทางวิทยาศาสตร์สุขภาพและเภสัชวิทยาทีทันสมัยในระดับนานาชาติ
2. เพื่อสรางเครือข่ายความร่วมมือระหว่างนักวิจัยทางวิทยาศาสตร์สุขภาพทั้งในประเทศและต่างประเทศ
3. เพื่อพัฒนาด้านวิชาการสาขาเภสัชวิทยาและส่งเสริมให้เกิดการบูรณาการร่วมกับศาสตร์อื่นๆ ที่เกี่ยวข้องกับด้านสุขภาพ เพื่อนำไปสู่การพัฒนาด้านวิทยาศาสตร์สุขภาพและเภสัชวิทยาในระดับนานาชาติ
4. เพื่อเสริมสร้างความสัมพันธ์อันดีระหว่างนักวิทยาศาสตร์สุขภาพ นักเภสัชวิทยาในระดับอาวุโส และนักวิจัยรุ่นใหม่ต่อเนื่อง
คำสำคัญ
Innovation, Translations in Pharmacology, Health sciences, Precision medicine, Personalized medicine
วิธีสมัครการประชุม
ติดต่อสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ คุณเสนอ สุขเอี่ยม โทร.02-419-9109 e-mail: saner.pha@mahidol.edu