ชื่อการประชุม |
|
2024 Hospital Formulary Drug Selection |
สถาบันหลัก |
|
คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ |
รหัสกิจกรรม |
|
1017-2-000-001-04-2567 |
สถานที่จัดการประชุม |
|
ณ ห้อง conference B รูปแบบ Onsite โรงพยาบาลบำรุงราษฎร์อินเตอร์เนชั่นแนล กรุงเทพมหานคร |
วันที่จัดการประชุม |
|
01 เม.ย. 2567 |
ผู้จัดการประชุม |
|
ชมรมเภสัชกรโรงพยาบาลบำรุงราษฎร์ |
กลุ่มเป้าหมาย |
|
เภสัชกรในโรงพยาบาลบำรุงราษฎร์อินเตอร์เนชั่นแนลจำนวน 20 ท่าน และเภสัชกรที่สนใจจำนวน 10 ท่าน (ลงทะเบียนโดยไม่เสียค่าใช้จ่าย) |
หน่วยกิตการศึกษาต่อเนื่อง |
|
4 หน่วยกิต |
หลักการและเหตุผล
การจัดทำข้อมูลของยาที่จะเพิ่มเข้าหรือตัดออกจากเภสัชตำรับของโรงพยาบาล ซึ่งมีพื้นฐานจากการประเมินความถูกต้องของเอกสารทางยา ทั้งนี้จะต้องประกอบด้วยข้อมูลอย่างน้อยข้อบ่งใช้ที่สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยาสหรัฐอเมริการับรอง แฟ้มข้อมูลอาการอันไม่พึงประสงค์จากยา รวมทั้งการเปรียบเทียบประสิทธิภาพการรักษาและการประเมินค่าทางเศรษฐศาสตร์ของยาที่เสนอเข้า เป็นหนึ่งในมาตรฐานวิชาชีพเภสัชกรโรงพยาบาล (มาตรฐานที่ 2 การบริการเภสัชสนเทศและการให้การศึกษาด้านยา; Drug information and education) เภสัชกรมีบทบาทสำคัญในการช่วยควบคุมรายการยาในเภสัชตำรับของโรงพยาบาล (Hospital Formulary) ให้มีความเหมาะสม ในฐานะคณะทำงานภายใต้คณะกรรมการหลัก ได้แก่ คณะกรรมการเภสัชกรรมการบำบัดและการใช้โลหิตของโรงพยาบาล (Pharmacy Therapeutics and Transfusion Committee; PT&T)
จากสถานการณ์ปัจจุบันที่มียาหลายชนิดจำหน่ายในประเทศไทย ทั้งยาต้นแบบ (Original Drugs) ที่มีราคาแพง ยาสามัญ (Generic Drugs) และยา Biosimilar ทำให้เภสัชกรโรงพยาบาลประสบปัญหายุ่งยากในการพิจารณาคัดเลือกยาเข้าโรงพยาบาล เพื่อให้แพทย์ผู้สั่งใช้ยา พยาบาล และผู้ป่วยได้รับความมั่นใจได้ว่า ยามีคุณภาพ มีประสิทธิภาพในการรักษาและมีมาตรการการป้องกันและติดตามผลไม่พึงประสงค์ที่อาจเกิดขึ้น
ฝ่ายเภสัชกรรมได้เล็งเห็นถึงความสำคัญดังกล่าวจึงได้จัดให้มีการอบรม เพื่อเพิ่มพูนความรู้ให้เป็นปัจจุบันในเรื่องเกณฑ์การพิจารณายาเข้าเภสัชตำรับโรงพยาบาล เอกสารประกอบการพิจารณายาเข้าโรงพยาบาลที่ควรขอจากบริษัท ส่วนประกอบที่ต้องมีในการจัดทำ Drug monograph และทักษะการประเมินวรรณกรรม เพื่อให้เภสัชกรสามารถเข้าใจในหลักการเบื้องต้น และสามารถการประยุกต์ใช้ความรู้ในการจัดทำ เผยแพร่และบริการข้อมูลที่น่าเชื่อถือและเป็นกลาง สอดคล้องกับการดำเนินการตามบทบาทในคณะกรรมการหลักได้ นอกจากนี้ยังเป็นแผนพัฒนาในระยะยาวในการการจัดทำ Drug monograph component ที่จำเป็น กระชับ เข้าใจง่าย เพื่อนำเสนอในที่ประชุมคณะกรรมการเภสัชกรรมบำบัดและการใช้เลือดของโรงพยาบาล
วัตถุประสงค์
1.เข้าใจหลักการเบื้องต้นในการจัดทำข้อมูลยาและคำสำคัญที่เกี่ยวข้องกับการจัดทำข้อมูลยาได้แก่ Original Drugs, Generic Drugs, Pharmaceutical equivalence, Bioequivalent, Biosimilar, Product Interchangeability Equivalence evidence, การขึ้นทะเบียนตํารับยาสามัญ (Generic Drugs) แบบ ASEAN HARMONIZATION, Specification, Certificate of Analysis
2.สามารถค้นหาและเข้าถึงแหล่งข้อมูลที่จำเป็นและเลือกใช้ในการจัดทำข้อมูลยา เพื่อนำเสนอใน PT & T ได้
3.สามารถจัดทำข้อมูลยา, การใช้ Matrix เพื่อนำเสนอเข้าเภสัชตำรับ โดยอ้างอิงจากข้อมูลจากหลักฐานเชิงประจักษ์ที่ถูกต้องและเป็นกลาง
คำสำคัญ
2024 Hospital Formulary Drug Selection
วิธีสมัครการประชุม
amornratc@bumrungrad.com