ชื่อการประชุม |
|
How to manage Allergy and Cough for Community Pharmacist |
สถาบันหลัก |
|
สมาคมเภสัชกรรมชุมชน (ประเทศไทย) |
รหัสกิจกรรม |
|
2002-2-000-008-04-2567 |
สถานที่จัดการประชุม |
|
Online |
วันที่จัดการประชุม |
|
21 เม.ย. 2567 |
ผู้จัดการประชุม |
|
สมาคมเภสัชกรรมชุมชน (ประเทศไทย) |
กลุ่มเป้าหมาย |
|
สมาชิกสมาคมเภสัชกรรมชุมชนและ เภสัชกรชุมชนที่สนใจ |
หน่วยกิตการศึกษาต่อเนื่อง |
|
1.5 หน่วยกิต |
หลักการและเหตุผล
โรคภูมิแพ้ (Allergy) ประกอบด้วย โรคเยื่อจมูกอักเสบจากภูมิแพ้ (Allergic Rhinitis) และ โรคผื่นลมพิษ (Urticaria) เป็นปัญหาที่พบได้บ่อยในร้านยา และมักจะก่อให้เกิดความรำคาญ และส่งผลต่อการใช้ชีวิตประจำวันของผู้ป่วย หากไม่ได้รับการวินิจฉัย และรักษาอย่างรวดเร็ว อาจส่งผลต่อคุณภาพชีวิตคนไข้ในระยะยาวได้ โดยสาเหตุหนึ่งของปัญหาที่ก่อให้เกิดโรคมีอยู่หลายปัจจัยด้วยกัน ไม่ว่าจะเป็นสภาพแวดล้อม มลพิษในปัจจุบัน รวมไปถึงปัจจัยเฉพาะตัวบุคคล เช่น ปัจจัยทางพันธุกรรมที่ทำให้ผู้ป่วยถูกกระตุ้นด้วยสิ่งเร้าได้ง่าย ดังนั้นการให้คำแนะนำแก่ผู้ป่วยไม่ว่าจะเป็นเรื่องการเลือกใช้ผลิตภัณฑ์ที่เหมาะสม มีคุณภาพ และมีความปลอดภัยสูง รวมไปถึงการให้คำแนะนำในการปรับพฤติกรรมเพื่อลดการเกิดโรคอีกทางหนึ่ง
อาการไอเป็นอีกหนึ่งอาการที่มีผู้ป่วยเข้ามารับการปรึกษาที่ร้านยาเป็นจำนวนมาก โดยทั้งนี้อาการก็เป็นปัญหาสำคัญที่พบบ่อย ในผู้ป่วยที่เข้ารับบริการทางสาธารณสุขในทุกระดับ ตั้งแต่ระดับร้านขายยา คลินิก จนถึงโรงพยาบาลระดับต่าง ๆ การให้บริการ ให้การรักษาและแนะนำเบื้องต้นให้กับผู้ป่วยนั้น มีความจำเป็นและสำคัญ ในการแบ่งเบาภาระทางสาธารณสุขของประเทศ ซึ่งมีผู้ป่วยจำนวนมาก ดังนั้นเภสัชกรชุมชน จึงมีความจำเป็นต้องมีความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับอาการไอและการแนะนำยาและผลิตภัณฑ์ที่เหมาะสมแก่ผู้ป่วย
เภสัชกรชุนชนควรมีความรู้ที่จะช่วยให้คำแนะนำกับผู้ป่วย และผู้ที่ดูแลผู้ป่วย เพื่อให้สามารถดูแลผู้ป่วยได้อย่างมีประสิทธิภาพและประสิทธิผล รวมถึงเพิ่มคุณภาพชีวิตผู้ป่วย
ทั้งนี้เภสัชกรชุมชมยังขาดความรู้ความเข้าใจอยู่เป็นจำนวนมาก ดังนั้นจึงต้องอาศัยข้อมูลวิชาการจากผู้เชี่ยวชาญ เพื่อเป็นแนวทางในการเลือกใช้ยาและแนวทางการรักษา ป้องกัน รวมถึงการให้คำแนะนำกับคนไข้ในการปฏิบัติตัว เพื่อรับมือได้อย่างถูกต้องเหมาะสม
วัตถุประสงค์
1. เพื่อให้เภสัชกรมีความรู้และความเข้าใจเกี่ยวกับโรคภูมิแพ้ (Allergy)
2. เพื่อให้เภสัชกรสามารถเลือกใช้ยาในการป้องกันและรักษาโรคเกี่ยวกับโรคภูมิแพ้ (Allergy) ได้อย่างเหมาะสม
3. เพื่อให้เภสัชกรมีความรู้และความเข้าใจเกี่ยวกับอาการไอ การจำแนกอาการไอ
4. เพื่อให้เภสัชกรสามารถเลือกใช้ยาในการป้องกันและรักษาอาการไอ ได้อย่างเหมาะสม
คำสำคัญ
Allergic Rhinitis, Urticaria, Non-sedative antihistamines, Second generation antihistamines Fexofednadine, Cough, Bromhexine, Mucokinetics