ประชุมเชิงปฏิบัติการ การพัฒนาศักยภาพเภสัชกรผู้ปฏิบัติงานด้านโรคติดเชื้อ ด้าน Strengthen Antibiotic Stewardship Program (ASP) ในหน่วยงานสังกัดสำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข
ชื่อการประชุม |
|
ประชุมเชิงปฏิบัติการ การพัฒนาศักยภาพเภสัชกรผู้ปฏิบัติงานด้านโรคติดเชื้อ ด้าน Strengthen Antibiotic Stewardship Program (ASP) ในหน่วยงานสังกัดสำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข |
สถาบันหลัก |
|
กองบริหารการสาธารณสุข |
รหัสกิจกรรม |
|
3003-2-000-010-03-2567 |
สถานที่จัดการประชุม |
|
|
วันที่จัดการประชุม |
|
11 -29 มี.ค. 2567 |
ผู้จัดการประชุม |
|
กองบริหารการสาธารณสุข |
กลุ่มเป้าหมาย |
|
เภสัชกรผู้ปฏิบัติงานด้าน Antimicrobial Resistance AMR ในโรงพยาบาล |
หน่วยกิตการศึกษาต่อเนื่อง |
|
23.5 หน่วยกิต |
หลักการและเหตุผล
เชื้อดื้อยาเป็นปัญหาทางสาธารณสุขที่สำคัญทั่วโลก รวมถึงประเทศไทย โดยส่งผลเพิ่มอัตราการเสียชีวิตของผู้ป่วย และเพิ่มค่าใช้จ่ายในระบบบริการสุขภาพของประเทศ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง เชื้อดื้อยาต้านจุลชีพหลายชนิด เช่น multidrug-resistant organisms (MDROs), extensively drug-resistant organisms (XDRs) และ pan drug-resistant organisms (PDRs) ในประเทศไทย พบปัญหาเชื้อดื้อยาหลายชนิด โดยเฉพาะเชื้อแกรมลบดื้อยา ได้แก่ MDR-Pseudomonas aeruginosa (MDR-PA), MDR-Acinetobacter baumannii (MDR-AB), carbapenem-resistant Enterobacterales (CRE), extended-spectrum beta-lactamases producing Escherichia coli/Klebsiella pneumoniae (ESBL-EC/KP) เป็นต้น ส่งผลให้การใช้ยาต้านจุลชีพในการรักษามีข้อจำกัดมากขึ้น
การรับมือกับเชื้อดื้อยาจึงเป็นไปในลักษณะของการลดอุบัติการณ์ของเชื้อดื้อยาลงเพื่อให้สามารถใช้ยาต้านจุลชีพเดิมได้ โดยพบความสัมพันธ์ระหว่างการลดปริมาณการใช้ยาต้านจุลชีพอัตราการบริโภคยาในหน่วย defined daily dose (DDD) ต่อ 1,000 วันนอน กับอัตราการดื้อยาต้านจุลชีพแบบ MDRs ที่ลดลง ซึ่งการลดปริมาณการใช้ยาต้านจุลชีพ จำเป็นต้องอาศัยการทำงานร่วมกันระหว่างบุคลากรสาธารณสุขสาขาต่าง ๆ นอกจากการลดปริมาณการใช้ยาแล้ว การมีระบบติดตามการใช้ยาสมเหตุผล antibiotic stewardship programs (ASP) สามารถลดอัตราการดื้อยา ลดปริมาณการใช้ยา และมีผลลัพธ์ทางคลินิกที่ดีอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ โดย ในปี พ.ศ. 2554 สมาคมโรคติดเชื้อในประเทศสหรัฐอเมริกา (Infectious Diseases Society of America, IDSA) ได้ออกคำแนะนำในการนำ “antibiotic stewardship” มาใช้เป็นเครื่องมือในการป้องกันการใช้ยาต้านจุลชีพอย่างไม่ถูกต้อง และส่งเสริมการใช้ยาต้านจุลชีพอย่างเหมาะสมมากขึ้น
กระทรวงสาธารณสุขมีนโยบายพัฒนาระบบบริการสุขภาพให้มีการใช้ยาอย่างสมเหตุผล (RDU) และการจัดการการดื้อยาต้านจุลชีพ (AMR) ในสถานพยาบาล เพื่อให้เกิดการใช้ยาอย่างมีประสิทธิภาพ ปลอดภัยและลดค่าใช้จ่ายด้านยา รวมทั้งลดปัญหาการติดเชื้อดื้อยา โดยมีแผนพัฒนาโรงพยาบาลขนาดใหญ่และเครือข่ายบริการสุขภาพให้มีระบบการจัดการการดื้อยาต้านจุลชีพอย่างบูรณาการ สอดคล้องกับแผนยุทธศาสตร์การจัดการการดื้อยาต้านจุลชีพประเทศไทย พ.ศ. 2560 - 2565 ซึ่งมีเป้าหมายให้ประเทศไทยมีการป่วยจากเชื้อดื้อยาต้านจุลชีพลดลงร้อยละ 50 และมีปริมาณการใช้ยาต้านจุลชีพสำหรับมนุษย์ลดลงร้อยละ 20 ในปี 2564
ด้วยเหตุนี้ กองบริหารการสาธารณสุขร่วมกับฝ่ายพันธกิจเพื่อสังคม คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร จึงได้จัดโครงการประชุมเชิงปฏิบัติการ การพัฒนาศักยภาพเภสัชกรผู้ปฏิบัติงานด้านโรคติดเชื้อ ด้าน Strengthen Antibiotic Stewardship Program (ASP) ในหน่วยงานสังกัดสำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุขขึ้น เพื่อเพิ่มขีดความสามารถของเภสัชกรให้มีความเชี่ยวชาญในการดำเนินการด้าน antibiotic stewardship program และสามารถทำงานร่วมกับแพทย์ พยาบาลและบุคลากรสาธารณสุข เพื่อประโยชน์ของผู้ป่วยและความยั่งยืนของชุมชน ต่อไป
วัตถุประสงค์
1. เพื่อพัฒนาความรู้และทักษะของเภสัชกรโรงพยาบาลในการดำเนินการด้าน antibiotic stewardship program และรองรับแผนการพัฒนาระบบบริการสุขภาพให้มีการใช้ยาอย่างสมเหตุผล (RDU) และการจัดการการดื้อยาต้านจุลชีพ (AMR) ในสถานพยาบาล
2. เพื่อให้เภสัชกรที่ผ่านการอบรมสามารถทำงานร่วมกับแพทย์ พยาบาลและบุคลากรสาธารณสุขที่เกี่ยวข้องกับการดำเนินงานด้าน antibiotic stewardship program ได้อย่างมีประสิทธิภาพ
3. เพื่อส่งเสริมให้อัตราการดื้อยาต้านจุลชีพในโรงพยาบาลลดลง ส่งผลลดอัตราการเสียชีวิตของผู้ป่วยที่เข้ารับการรักษาในโรงพยาบาล ซึ่งจะช่วยลดค่ารักษาพยาบาลผู้ป่วยเหล่านี้
คำสำคัญ
Antimicrobial Resistance AMR Service plan RDU – AMR
วิธีสมัครการประชุม
หนังสือเชิญประชุม