ศูนย์การศึกษาต่อเนื่องฯ จะส่งข้อมูลแจ้งเตือนสมาชิก ผ่านช่องทาง sms และ email ในวันที่ 5 ธ.ค. 2567 และ 19 ธ.ค. 2567

การประชุมวิชาการ
ความก้าวหน้าของยาชีววัตถุในมิติของเภสัชวิทยาคลินิก และการบริบาลทางเภสัชกรรม
ชื่อการประชุม ความก้าวหน้าของยาชีววัตถุในมิติของเภสัชวิทยาคลินิก และการบริบาลทางเภสัชกรรม
สถาบันหลัก เภสัชกรรมสมาคมแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์
รหัสกิจกรรม 2001-2-000-005-02-2567
สถานที่จัดการประชุม
วันที่จัดการประชุม 21 -22 ก.พ. 2567
ผู้จัดการประชุม เภสัชกรรมสมาคมแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์
กลุ่มเป้าหมาย เภสัชกร นิสิตนักศึกษา และบุคคลทั่วไป
หน่วยกิตการศึกษาต่อเนื่อง 12 หน่วยกิต
หลักการและเหตุผล
หลักการและเหตุผล
ยาชีววัตถุ (Biological products หรือ Biopharmaceutics หรือ Biologic drugs) คือยาที่ผลิตขึ้นด้วยการใช้เทคโนโลยีชีวภาพที่สูงขึ้น เช่น พันธุวิศวกรรม (genetic engineering) หรือเทคโนโลยีรีคอมบิแนนท์ดีเอ็นเอ (recombinant DNA technology) และไฮบริโดมาเทคโนโลยี (hybridoma technology) ในกระบวนการผลิต ยาชีววัตถุมีบทบาทสำคัญมากในการรักษาโรคในปัจจุบัน เช่นโรคมะเร็ง (cancer) เบาหวาน (diabetes mellitus) ข้ออักเสบรูมาตอยด์ (rheumatoid arthritis) และการปลูกถ่ายอวัยวะ (organ transplantation)เป็นต้น ซึ่งเกิดจากความเปลี่ยนแปลงในความรู้ทางการแพทย์และการรักษา เป็นไปได้ทั้งด้านพันธุกรรมและภูมิคุ้มกันบำบัด (immunotherapy) ซึ่งเปิดทางให้เราคิดค้นยาที่มีการเป้าหมายแน่นอนมากขึ้น
แนวโน้มในอนาคตอัตราการเติบโตด้านการตลาดของยาชีววัตถุจะมีอัตราการเติบโตประมาณ 2 เท่าของยาที่ได้จากการสังเคราะห์ทางเคมี (ยาเคมี) หรือเรียกว่ายาที่มีโมเลกุลขนาดเล็ก (small molecule drugs) เนื่องจากปัจจุบันองค์ความรู้ทางด้านการรักษาเปลี่ยนไปไม่ว่าจะเป็นทางด้านพันธุกรรม (genetic) หรือภูมิคุ้มกันบำบัด (immunotherapy) ทำให้มีการคิดค้นยาให้ตรงเป้าหมายมากยิ่งขึ้น ดังนั้นประมาณร้อยละ 50 ของยาที่ได้รับการรับรองโดยองค์การอาหารและยาของประเทศสหรัฐอเมริกาจัดเป็นยาชีววัตถุ คาดการณ์ว่าตลาดของยาชีววัตถุทั้งหมดทั่วโลกจะมีมูลค่าสูงถึง 704,901 ล้านเหรียญสหรัฐในปี ค.ศ.2028 นอกจากนี้การเริ่มหมดสิทธิบัตรของยาชีววัตถุต้นแบบ (originator/innovator products) รุ่นแรกๆ จะส่งผลให้ในอนาคตอันใกล้จะมียาที่ผลิตเลียนแบบยาชีววัตถุต้นแบบ เรียกว่า ไบโอซิมิลาร์หรือยาชีววัตถุคล้ายคลึง (biosimilars) เริ่มเข้ามามีบทบาทที่เป็นทางเลือกของการรักษา
วัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์
1.ส่งเสริมให้เภสัชกรผู้มีหน้าที่ในการดูแลการใช้ยาได้มีองค์ความรู้ที่ก้าวหน้า มีความเข้าใจในบทบาททั้งในด้านการคัดเลือก และให้คําแนะนําเกี่ยวกับแนวปฏิบัติของเภสัชบำบัดกลุ่มชีววัตถุและยาชีววัตถุคล้ายคลึงกับบุคลากรทางการแพทย์ และผู้ป่วยในการใช้ยาอย่างเหมาะสม
2.เพื่อให้เกิดการแลกเปลี่ยนความรู้ด้านการใช้ยาชีววัตถุกับวิทยากร ในมุมมองด้านเภสัชวิทยาของยา การใช้ในทางคลินิก และการบริบาลทางเภสัชกรรม
3.เพื่อส่งเสริมให้เกิดแนวทางที่จะนำไปสู่การใช้ยาอย่างสมเหตุผล
4.เพื่อเป็นการเผยแพร่งานบริการวิชาการหน่วยกิตการศึกษาต่อเนื่องแก่เภสัชกร
คำสำคัญ
Biological products,Biopharmaceutics,Biologic drugs,Immunotherapy