ศูนย์การศึกษาต่อเนื่องฯ จะส่งข้อมูลแจ้งเตือนสมาชิก ผ่านช่องทาง sms และ email ในวันที่ 19 ธ.ค. 2567

บทความวิชาการ
ประสิทธิผลของยา Plecanatide ในการรักษาภาวะท้องผูกเรื้อรังที่ไม่ทราบสาเหตุ
ชื่อบทความ ประสิทธิผลของยา Plecanatide ในการรักษาภาวะท้องผูกเรื้อรังที่ไม่ทราบสาเหตุ
ผู้เขียนบทความ ภญ.ศุภรดา ข่ายม่าน
สถาบันหลัก คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ
รหัสกิจกรรม 1008-1-000-004-09-2561
ผู้ผลิตบทความ คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ
การเผยแพร่บทความ ผู้ประกอบวิชาชีพทุกคน 
วันที่ได้รับการรับรอง 22 ก.ย. 2561
วันที่หมดอายุ 21 ก.ย. 2562
หน่วยกิตการศึกษาต่อเนื่อง 2.5 หน่วยกิต
บทคัดย่อ
ภาวะท้องผูกเรื้อรัง เป็นภาวะที่มีการถ่ายอุจจาระลำบากติดต่อกันนานกว่า 3 เดือน ซึ่งมากกว่าร้อยละ 90 จะหาสาเหตุไม่พบ การรักษาจึงอาศัยการให้คำแนะนำการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม ร่วมกับการใช้ยาระบาย (laxatives) กลุ่มต่างๆ เช่น Osmotic laxatives, Stimulant laxatives ซึ่งยาระบายแต่ละชนิดมีกลไกในการออกฤทธิ์ที่แตกต่างกัน จึงมีประสิทธิผล และอาการข้างเคียงที่แตกต่างกันไป แม้ว่าภาวะท้องผูกเรื้อรังจะไม่ใช่ภาวะที่ทำให้ผู้ป่วยได้รับอันตรายถึงชีวิต แต่ส่งผลต่อคุณภาพชีวิตของผู้ป่วยเป็นอย่างมาก จึงเป็นที่มาของการพัฒนายาทางเลือกใหม่อย่าง Plecanatide ที่เป็นยาในกลุ่ม Guanylate Cyclase-C (GC-C) agonist ซึ่งในปัจจุบันแนวทางการรักษาภาวะท้องผูกเรื้อรังที่ไม่ทราบสาเหตุของ American College of Gastroenterology ได้มีการแนะนำให้ใช้ยาในกลุ่ม GC-C agonist ในการรักษาภาวะท้องผูกเรื้อรังที่ไม่ทราบสาเหตุ โดยยาจะกระตุ้นการหลั่งน้ำมายังบริเวณส่วนท่อ (lumen) ของลำไส้ จากการศึกษาทางคลินิกที่เปรียบเทียบกับยาหลอกทั้งที่ศึกษาในอาสาสมัครสุขภาพดี และในผู้ป่วยภาวะท้องผูกเรื้อรังที่ไม่ทราบสาเหตุ พบว่า คนที่ได้รับ Plecanatide ขนาด 3 mg และ 6 mg วันละครั้ง หลายรายเกิดการถ่ายอุจจาระครั้งแรกภายใน 24 ชั่วโมงหลังได้รับยา และมีความเหลวของอุจจาระวัดโดย Bristol Stool Form Scale (BSFS) อยู่ในเกณฑ์ปกติ พร้อมทั้งมีการตอบสนองต่อการรักษาภาวะท้องผูกเรื้อรัง วัดโดยแบบสอบถาม Complete Spontaneous Bowel Movement (CSBM) มากกว่ากลุ่มที่ได้รับยาหลอกอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<0.01, <0.001) Plecanatide จึงเป็นยาทางเลือกหนึ่งที่ใช้ในการรักษาภาวะดังกล่าวได้
คำสำคัญ
ภาวะท้องผูกเรื้อรังที่ไม่ทราบสาเหตุ, chronic idiopathic constipation, Guanylate Cyclase-C agonist, P