ศูนย์การศึกษาต่อเนื่องฯ จะส่งข้อมูลแจ้งเตือนสมาชิก ผ่านช่องทาง sms และ email ในวันที่ 5 ธ.ค. 2567 และ 19 ธ.ค. 2567

การประชุมวิชาการ
โครงการหลักสูตร Non Degree ภายใต้เรื่อง การฝึกอบรมระยะสั้นการบริบาลทางเภสัชกรรม สาขาโรคติดเชื้อและยาต้านจุลชีพ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2567 (รอบที่ 3)
ชื่อการประชุม โครงการหลักสูตร Non Degree ภายใต้เรื่อง การฝึกอบรมระยะสั้นการบริบาลทางเภสัชกรรม สาขาโรคติดเชื้อและยาต้านจุลชีพ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2567 (รอบที่ 3)
สถาบันหลัก คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี
รหัสกิจกรรม 1010-2-000-007-01-2567
สถานที่จัดการประชุม โรงพยาบาลสรรพสิทธิประสงค์
วันที่จัดการประชุม 01 ก.พ. 2567 - 31 พ.ค. 2567
ผู้จัดการประชุม คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี
กลุ่มเป้าหมาย เภสัชกรที่สนใจ 6 คนต่อปี
หน่วยกิตการศึกษาต่อเนื่อง 30 หน่วยกิต
หลักการและเหตุผล
การดื้อยาต้านจุลชีพ (Antimicrobial resistance : AMR) เป็นวิกฤติการณ์ทุกประเทศทั่วโลก ในขณะที่เชื้อดื้อยากำลังเพิ่มขึ้น แต่ยาต้านจุลชีพชนิดใหม่พัฒนาไม่ทันกับการดื้อยาต้านจุลชีพ สำหรับประเทศไทยพบว่า มีคณะกรรมการประสานและบูรณาการงานด้านการดื้อนยาต้านจุลชีพ ได้มีการจัดทำแผนยุทธศาสตร์การจัดการการดื้อยาต้านจุลชีพประเทศไทย พ.ศ.2560-2564 ซึ่งเป็นยุทธศาสตร์ฉบับแรกของประเทศไทยที่เน้นการแก้ปัญหาการดื้อยาต้านจุลชีพทั้งในมนุษย์ สัตว์ และสิ่งแวดล้อม ในแนวคิดเรื่องสุขภาพหนึ่งเดียว(One Health) เภสัชกรเป็นบุคลากรทางการแพทย์ที่มีความรู้ความชำนาญในการใช้ยา โดยเฉพาะในการใช้ยาต้านจุลชีพ เนื่องจากเภสัชกรมีองค์ความรู้ตั้งแต่กระบวนการค้นคว้าพัฒนายา จัดหายา ผลิตยา และนอกจากนี้ในการใช้ยา เภสัชกรมีหน้าที่ในการสืบค้น และวางแผนการแก้ไข ติดตาม และป้องกันปัญหาที่เกี่ยวกับการใช้ยาเพื่อให้เกิดการใช้ยาอย่างเหมาะสมทุกด้าน รวมทั้งข้อบ่งใช้ ประสิทธิภาพ อาการไม่พึงประสงค์ ความสะดวกของผู้ป่วยในการใช้ยาเพื่อให้ผู้ป่วยปฏิบัติตามสั่งได้โดยง่าย เพื่อประโยชน์สูงสุดจากการใช้ยาและมีคุณภาพชีวิตที่ดี เพิ่มคุณภาพและยกระดับมาตรฐานการให้บริการเภสัชกรรม ทำให้ประชาชนใช้ยาได้อย่างปลอดภัยและถูกต้องเหมาะสม นอกจากนี้ยังส่งเสริม สนับสนุน ในการให้ข้อมูลและการให้คำปรึกษาเรื่องการใช้ยาที่ถูกต้องเหมาะสม และปลอดภัย แก่ผู้ป่วยและสหสาขาวิชาชีพ
ด้วยความตระหนักในความสำคัญของบทบาทเภสัชกรในการดูแลผู้ป่วยโรคติดเชื้อและการใช้ยาต้านจุลชีพในผู้ป่วยดังกล่าว คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี และโรงพยาบาลสรรพสิทธิประสงค์ได้เล็งเห็นความสำคัญของเภสัชกรที่จะต้องมีความรู้ ความเข้าใจ และมีความชำนาญในการดูแลผู้ป่วยโรคติดเชื้อและการใช้ยาต้านจุลชีพ จึงได้ร่วมมือจัดทำหลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาชีพเภสัชกรรม (สาขาโรคติดเชื้อและยาต้านจุลชีพ) หลักสูตรระยะสั้นเป็นระยะเวลา 16 สัปดาห์ ภายใต้การรับรองของวิทยาลัยเภสัชบำบัดแห่งประเทศไทย ที่ 4/2565 เรื่อง รับรองหลักสูตรระยะสั้นการบริบาลทางเภสัชกรรม ลงวันที่ 28 มกราคม 2565 โดยมีเนื้อหาทางทฤษฎีสอดแทรกตลอดระยะของการฝึกปฏิบัติงาน คณะเภสัชศาสตร์ โดยความอนุเคราะห์ของโรงพยาบาลสรรพสิทธิประสงค์ ได้กำหนดให้เภสัชกรฝึกปฏิบัติงาน ณ หอผู้ป่วยอายุรกรรมและหอผู้ป่วยทีเกี่ยวข้อง โรงพยาบาลสรรพสิทธิประสงค์ จังหวัดอุบลราชธานี เภสัชกรที่เข้ารับการฝึกจะได้มีโอกาสปฏิบัติงานร่วมกับสหสาขาวิชาชีพที่มีความชำนาญในการบริบาลเภสัชกรรมในผู้ป่วยโรคติดเชื้อและการใช้ยาต้านจุลชีพ โดยหลักสูตรนี้มีนโยบายและยุทธศาสตร์สอดคล้องกับความต้องการของกระทรวงสาธารณสุข
วัตถุประสงค์
1.เภสัชที่เข้ารับการฝึกอบรมมีความรู้และทักษะเฉพาะทางการบริบาลเภสัชกรรมในผู้ป่วยโรคติดเชื้อและการใช้ยาต้านจุลชีพ
2.เภสัชที่เข้ารับการฝึกอบรมมีความรู้และทักษะการฝึกปฏิบัติวิชาชีพเภสัชกรรมด้านการบริบาลทางเภสัชกรรมผู้ป่วยโรคติดเชื้อได้จริงเมื่อสำเร็จหลักสูตรการอบรม
3.เภสัชที่เข้ารับการฝึกอบรมสามารถสืบค้นข้อมูลของยาต้านจุลชีพและนำข้อมูลมาใช้ในการออกแบบและพัฒนาระบบการใช้ยาต้านจุลชีพเพื่อให้เกิดระบบสนับสนุนการใช้ยาต้านจุลชีพอย่างสมเหตุผล (Antimicrobial Stewardship Program; ASP)
คำสำคัญ
Infectious Diseases and Antimicrobial Agents Pharmaceutical care