ชื่อการประชุม |
|
ประชุมใหญ่สามัญประจำปี 2566 |
สถาบันหลัก |
|
สมาคมเภสัชกรรมชุมชน (ประเทศไทย) |
รหัสกิจกรรม |
|
2002-2-000-003-03-2567 |
สถานที่จัดการประชุม |
|
ห้อง BHIRAJ HALL1 (BH1) ศูนย์นิทรรศการและการประชุมไบเทคบางนา |
วันที่จัดการประชุม |
|
10 มี.ค. 2567 |
ผู้จัดการประชุม |
|
สมาคมเภสัชกรรมชุมชน (ประเทศไทย) |
กลุ่มเป้าหมาย |
|
สมาชิกสมาคมเภสัชกรรมชุมชนและ เภสัชกรชุมชนที่สนใจ จำนวน 500 ท่าน |
หน่วยกิตการศึกษาต่อเนื่อง |
|
4 หน่วยกิต |
หลักการและเหตุผล
เภสัชกรชุมชนจัดได้ว่าเป็นด่านแรกของหน่วยงานภาคเอกชนด้านสาธารณสุขที่มีบทบาทสำคัญในการให้คำปรึกษาและแนะนำวิธีการดูแลสุขภาพในเรื่องต่างๆต่อประชาชน บุคลากรประจำร้านขายยาจึงมีความจำเป็นที่ต้องมีการเรียนรู้ พัฒนาองค์ความรู้ และแนวโน้มทิศทางการเข้ารับบริการสาธารณสุขของประชาชน
สมาคมเภสัชกรรมชุมชน (ประเทศไทย) จึงตระหนักทิศทางแนวโน้มการเปลี่ยนแปลงถึงพฤติกรรมการรับบริการของประชาชนที่ เภสัชกรชุมชนต้องมีการปรับเปลี่ยนไปตามยุคสมัย ในงานประชุมใหญ่สามัญประจำปี 2566 จึงได้จัดปาฐกถาพิเศษให้กับเภสัชกรชุมชน (ร้านยา) หัวข้อ ระบบหลักประกันสุขภาพของไทยใน 10 ปีข้างหน้า” พร้อมกับจัดประชุมวิชาการส่งเสริมองค์ความรู้ด้านโรคและ ยา ในหัวข้อ เรียนรู้วิธีจัดการกับอาการเจ็บคอและอาการไอที่เกี่ยวเนื่องกับโรคไข้หวัดใหญ่ ในมุมมองของร้านขายยา What the community pharmacists should know about SGLT2i from A to Z
วัตถุประสงค์
1.เภสัชกรทราบถึงทิศทางการการให้บริการสุขภาพของระบบสาธารณสุขไทย
2.เพื่อทบทวน เพิ่มเติมความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับ โรคไข้หวัดใหญ่ อาการเจ็บคอ อาการไอ และอาการอื่นๆในช่องปากและลำคอ
3.เพื่อให้ผู้เข้าร่วมประชุมได้ทราบถึงแนวทางการรักษาภายใต้บทบาทของเภสัขกรและสามารถนำความรู้ที่ได้ไปพิจารณา ปรับใช้ให้เข้ากับบริบทของตนเอง
4.เภสัชกรชุมชนได้มีความตระหนักรู้เรื่องโรค รวมถึงดูแลและให้คำแนะนำในการปฏิบัติตัวกับคนไข้ กลุ่ม Cardiovascular Renal Metabolic (คนไข้เบาหวาน โรคหัวใจล้มเหลว และโรคไตเรื้อรัง) นี้ได้ดี และมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น
5.เภสัชกรชุมชนได้รู้จักเครื่องมือ การประเมินความเสี่ยงโรคไต และสามารถนำไปใช้ในคนไข้ (early
screening to delay CKD progression)
6.ให้เภสัชกรชุมชนได้รู้จักกับยากลุ่ม SGLT2i ซึ่งเป็นยาที่มีบทบาทในการดูแลคนไข้ CVRM
คำสำคัญ
Influenza, Pharyngitis, Cough , SGLT2i, Cardiovascular Renal Metabolic
วิธีสมัครการประชุม
สมัครสมาชิกออนไลน์ ได้ที่ www.pharcpa.com