ศูนย์การศึกษาต่อเนื่องฯ จะส่งข้อมูลแจ้งเตือนสมาชิก ผ่านช่องทาง sms และ email ในวันที่ 5 ธ.ค. 2567 และ 19 ธ.ค. 2567

การประชุมวิชาการ
หลักสูตรระยะสั้นการบริบาลทางเภสัชกรรม สาขาอายุรศาสตร์ รุ่นที่ 2 (รอบการอบรมที่ 2)
ชื่อการประชุม หลักสูตรระยะสั้นการบริบาลทางเภสัชกรรม สาขาอายุรศาสตร์ รุ่นที่ 2 (รอบการอบรมที่ 2)
สถาบันหลัก คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
รหัสกิจกรรม 1003-2-000-002-02-2567
สถานที่จัดการประชุม คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
วันที่จัดการประชุม 01 มิ.ย. 2567 - 30 ก.ย. 2567
ผู้จัดการประชุม คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
กลุ่มเป้าหมาย เป็นเภสัชกรประจำโรงพยาบาลผู้มีหน้าที่รับผิดชอบหรือมีความสนใจในงานบริบาลเภสัชกรรมผู้ป่วยใน มีประสบการณ์ในการปฏิบัติงานในโรงพยาบาลอย่างน้อย 6 เดือน
หน่วยกิตการศึกษาต่อเนื่อง 14 หน่วยกิต
หลักการและเหตุผล
เภสัชกรเป็นบุคลากรทางการแพทย์ในทีมสหสาขาวิชาชีพที่มีความรู้ความชำนาญในการใช้ยา การปฏิบัติงานของเภสัชกรในการดูแลผู้ป่วยร่วมกับสหสาขาวิชาชีพทำให้ผู้ป่วยได้รับประสิทธิภาพและความปลอดภัยสูงสุดจากการใช้ยา และเนื่องจากองค์ความรู้และทักษะด้านบริบาลทางเภสัชกรรมมีการเปลี่ยนแปลงตลอดเวลา จึงมีความจำเป็นอย่างยิ่งที่เภสัชกรจะต้องพัฒนาตนเองให้ทันต่อการเปลี่ยนแปลงดังกล่าวและให้สามารถเชื่อมโยงกับระบบสุขภาพของประเทศไทยอย่างเหมาะสม

หลักสูตรฯ นี้จะเตรียมความพร้อมเภสัชกรให้มีความรู้และทักษะเฉพาะทางการบริบาลเภสัชกรรมในผู้ป่วยในการบริบาลทางเภสัชกรรมเชิงลึกโดยใช้พื้นฐานความรู้ด้านเภสัชบำบัดบนพื้นฐานของข้อมูลที่ทันสมัยและเชื่อถือได้ มีทักษะในการประยุกต์ความรู้ด้านเภสัชบำบัดในการวางแผน แก้ไข ติดตาม และป้องกันปัญหาที่เกี่ยวกับการใช้ยาเพื่อให้เกิดการใช้ยาอย่างเหมาะสมทุกด้าน รวมทั้งข้อบ่งใช้ ประสิทธิภาพ อาการไม่พึงประสงค์ ความสะดวกของผู้ป่วยในการใช้ยาเพื่อให้ผู้ป่วยปฏิบัติตามสั่งได้โดยง่าย เพื่อประโยชน์สูงสุดจากการใช้ยาและมีคุณภาพชีวิตที่ดี เพิ่มคุณภาพและยกระดับมาตรฐานการให้บริการเภสัชกรรม ทำให้ประชาชนใช้ยาได้อย่างปลอดภัยและถูกต้องเหมาะสม นอกจากนี้ยังส่งเสริม สนับสนุนในการให้ข้อมูลและการให้คำปรึกษาเรื่องการใช้ยาที่ถูกต้องเหมาะสม และปลอดภัยแก่ผู้ป่วยและสหสาขาวิชาชีพ...
วัตถุประสงค์
เภสัชกรผู้ที่ผ่านการฝึกอบรมฯ สามารถ
1. ให้การบริบาลทางเภสัชกรรมผู้ป่วยในโรคทางอายุรกรรมได้อย่างเหมาะสม
2. ประเมินภาวะสุขภาพของผู้ป่วยเบื้องต้นได้
3. สื่อสารและให้ความรู้ผู้ป่วยและญาติเกี่ยวกับการใช้ยารวมถึงการปฏิบัติตัวระหว่างที่ใช้ยาดังกล่าว
4. ประเมินความน่าเชื่อถือและประยุกต์ใช้ข้อมูลเชิงประจักษ์ในการบริบาลทางเภสัชกรรมในผู้ป่วยได้อย่างเหมาะสม
5. สื่อสารและทำงานร่วมกับสหสาขาวิชาชีพและหน่วยงานต่าง ๆ ในการจัดการดูแลผู้ป่วยในโรงพยาบาลและในชุมชนได้อย่างเหมาะสม
6. ริเริ่มและพัฒนาคุณภาพการบริบาลทางเภสัชกรรมผู้ป่วยในโรคทางอายุรกรรมในหน่วยงานได้
คำสำคัญ
อายุรศาสตร์