ชื่อบทความ |
|
กระเจี๊ยบแดง.....กับโรคความดันโลหิตสูง |
ผู้เขียนบทความ |
|
พนิดา ใหญ่ธรรมสาร |
สถาบันหลัก |
|
คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล |
รหัสกิจกรรม |
|
1002-1-000-008-07-2561 |
ผู้ผลิตบทความ |
|
คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล |
การเผยแพร่บทความ |
|
เฉพาะสมาชิกผู้ผลิตบทความ |
วันที่ได้รับการรับรอง |
|
26 ก.ค. 2561 |
วันที่หมดอายุ |
|
25 ก.ค. 2562 |
หน่วยกิตการศึกษาต่อเนื่อง |
|
2.5 หน่วยกิต |
บทคัดย่อ
โรคความดันโลหิตสูงเป็นโรคเรื้อรังที่สามารถป้องกันได้ แต่การเป็นโรคนี้มีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้นมาตลอด ซึ่งแนวทางการป้องกันและรักษาโรคนี้ต้องทำควบคู่กันไปในหลายๆ ด้าน ทั้งในการปรับพฤติกรรมให้เหมาะสม เช่น การควบคุมอาหาร การออกกำลังกาย การจำกัดปริมาณโซเดียม การพักผ่อน รวมถึงแนวทางการรับประทานสมุนไพรที่ช่วยลดความดันโลหิต อย่างเช่น กระเจี๊ยบแดง (Hibiscus sabdariffa L.) ซึ่งเป็นสมุนไพรที่มีการศึกษาวิจัยทางคลินิกมากพอสมควรเกี่ยวกับฤทธิ์ลดความดันโลหิตสูง ซึ่งส่วนที่นำมาใช้คือ ฐานรองกลีบดอก มีสารกลุ่มแอนโทไซยานิน (anthocyanins) เป็นสารสำคัญ ผลการศึกษาวิจัยทางคลินิกพบว่าการใช้กระเจี๊ยบแดงแห้ง ขนาด 2 -10 กรัม/วัน ต้มเป็นน้ำดื่ม หรือรับประทานในรูปของยาเม็ดกระเจี๊ยบแดง ขนาด 450 มก./วัน (มีสารแอนโทไซยานินอย่างน้อย 250 มก.) สามารถลดความดันโลหิตช่วงหัวใจบีบตัว และช่วยขับปัสสาวะได้ แต่มีข้อควรระวังเมื่อรับประทานกระเจี๊ยบแดงร่วมกับยา คือจะไปเสริมฤทธิ์การขับปัสสาวะของยาขับปัสสาวะ และลดการดูดซึมของยาแก้ปวดพาราเซตามอล ดังนั้นควรหลีกเลี่ยงการดื่มน้ำกระเจี๊ยบแดงร่วมกับการรับประทานยา และไม่ควรใช้ในผู้ป่วยโรคไตหรือมีความผิดปกติของไต
คำสำคัญ
กระเจี๊ยบแดง, Hibiscus sabdariffa, anthocyanin, โรคความดันโลหิตสูง
วิธีสมัครสมาชิก
สมัครสมาชิก Online ได้ที่
http://www.medplant.mahidol.ac.th/members/NewsletterForm.asp