ศูนย์การศึกษาต่อเนื่องฯ จะส่งข้อมูลแจ้งเตือนสมาชิก ผ่านช่องทาง sms และ email ในวันที่ 5 ธ.ค. 2567 และ 19 ธ.ค. 2567

บทความวิชาการ
Sodium glucose cotransporter 2 inhibitors (SGLT2i) – Beyond glycemic control
ชื่อบทความ Sodium glucose cotransporter 2 inhibitors (SGLT2i) – Beyond glycemic control
ผู้เขียนบทความ รองศาสตราจารย์ ดร.เภสัชกรหญิงจุราพร พงศ์เวชรักษ์
สถาบันหลัก คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
รหัสกิจกรรม 1017-1-000-002-07-2561
ผู้ผลิตบทความ คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
การเผยแพร่บทความ ผู้ประกอบวิชาชีพทุกคน 
วันที่ได้รับการรับรอง 06 ก.ค. 2561
วันที่หมดอายุ 05 ก.ค. 2562
หน่วยกิตการศึกษาต่อเนื่อง 3 หน่วยกิต
บทคัดย่อ
SGLT2i เป็นยาเบาหวานกลุ่มใหม่ ที่ลดระดับน้ำตาลในเลือดจากการยับยั้งการดูดกลับกลูโคสที่ไต ซึ่งเป็นกลไกที่ไม่ขึ้นกับอินซูลิน ได้รับการรับรองให้ใช้ในผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 ร่วมกับยามาตรฐาน เมื่อใช้เดี่ยว ลดระดับ HA1c ได้ไม่เกิน 1 mg% ในปัจจุบันมียาที่ได้รับการขึ้นทะเบียนในประเทศไทยคือ empagliflozin canagliflozin และ dapagliflozin โดยมีในรูปยาเดี่ยว และผสมกับ metformin หรือกลุ่ม gliptin การศึกษาจนถึงปัจจุบันพบข้อดีของยากลุ่มนี้ โดยเฉพาะผลดีต่อหัวใจและหลอดเลือด รวมถึงไต กล่าวคือลดการตายจากโรคหัวใจและหลอดเลือดประมาณร้อยละ 20 ชะลอการรั่วของโปรตีนในปัสสาวะ ร้อยละ 30-40 และลดการเข้ารักษาในโรงพยาบาลด้วยโรคหัวใจล้มเหลว ร้อยละ 38 ยาในกลุ่มนี้มีความเสี่ยงต่ำต่อการเกิดภาวะน้ำตาลต่ำ เนื่องจากการขับออกกลูโคสขึ้นกับระดับน้ำตาลในเลือด และไม่เกี่ยวกับการหลั่งอินซูลิน แต่ยาเพิ่มความเสี่ยงต่อการติดเชื้อราและแบคทีเรียในระบบทางเดินปัสสาวะและสืบพันธุ์ พบภาวะเลือดเป็นกรดจากคีโตน แม้ในภาวะน้ำตาลในเลือดไม่สูง เฉพาะ canagliflozin พบการเกิดกระดูกแตกหัก และเพิ่มความเสี่ยงในการตัดเท้าส่วนล่าง empagliflozin เป็นยาชนิดแรกในกลุ่ม SGLT2i ที่ได้รับการรับรองจาก องค์การอาหารและยาแห่งสหรัฐอเมริกา ในข้อบ่งใช้เพื่อลดการตายจากโรคหัวใจและหลอดเลือดในผู้ป่วยเบาหวานที่มีโรคหัวใจและหลอดเลือดอยู่แล้ว สมาคมเบาหวานอเมริกา (2018) ได้แนะนำให้ SGLT2i เป็นยาทางเลือกเพิ่มเติม (add on agent) ในผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 ที่มีโรคหัวใจและหลอดเลือด แต่ไม่สามารถควบคุมระดับน้ำตาลได้ตามเป้าหมายด้วยยา metformin
คำสำคัญ
ยาเบาหวาน หัวใจและหลอดเลือด ไตเสื่อม กระดูกแตกหัก การตัดเท้าทิ้ง cardioprotective, renoprotective