การประชุมวิชาการเภสัชกรรม โรงพยาบาลสงขลานครินทร์ ครั้งที่ 19 “Formulary Selection Criteria and Practical Considerations for Hospital Pharmacists”
ชื่อการประชุม |
 |
การประชุมวิชาการเภสัชกรรม โรงพยาบาลสงขลานครินทร์ ครั้งที่ 19 “Formulary Selection Criteria and Practical Considerations for Hospital Pharmacists” |
สถาบันหลัก |
 |
คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ |
รหัสกิจกรรม |
 |
1004-2-000-019-07-2566 |
สถานที่จัดการประชุม |
 |
โรงแรม ลากูน่า แกรนด์ โฮเทล แอนด์ สปา สงขลา อ.เมือง จ.สงขลา |
วันที่จัดการประชุม |
 |
15 -16 ก.ค. 2566 |
ผู้จัดการประชุม |
 |
คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ |
กลุ่มเป้าหมาย |
 |
เภสัชกรที่สนใจ |
หน่วยกิตการศึกษาต่อเนื่อง |
 |
4.5 หน่วยกิต |
หลักการและเหตุผล
การคัดเลือกยาเพื่อใช้ในโรงพยาบาลถือเป็นหัวใจของการจัดซื้อยา โดยการคัดเลือกยาเพื่อใช้ในโรงพยาบาลจะดำเนินการในรูปแบบของคณะทำงานที่มีชื่อว่า คณะกรรมการเภสัชกรรมและการบำบัด (Pharmacy and Therapeutic Committee, PTC) โดยหน้าที่อันดับแรกคือการกำหนดเกณฑ์ที่นำมาใช้พิจารณาคัดเลือกยาเข้าโรงพยาบาล กรณียาที่หมดสิทธิบัตรมีในบัญชียาโรงพยาบาลแล้ว จะพิจารณาถึงความเหมาะสมในหลายๆประเด็น ที่สำคัญได้แก่ ประโยชน์ในการนำมาใช้รักษาผู้ป่วย อาการไม่พึงประสงค์และพิษของยา มาตรฐานผลิตภัณฑ์และราคายา โดยยาที่มีสูตรหรือส่วนประกอบทางเคมีเหมือนกัน เช่น ยาที่มีทั้งยาต้นแบบ (original product) และยาชื่อสามัญ (generic product) วิธีการคัดเลือกเบื้องต้นที่ทุกโรงพยาบาลใช้วิธีคล้ายกัน คือ พิจารณาประเด็นมาตรฐานผลิตภัณฑ์และราคา ซึ่งมักจะคัดเลือกเพียงยา 1 ชื่อการค้า แต่ในกรณียาที่ขาดคราวบ่อยอาจคัดเลือกชื่อการค้าสำรอง กรณีที่เป็นยาใหม่ที่ยังไม่เคยมีในบัญชียาโรงพยาบาล จะพิจารณาในประเด็นประโยชน์ในการนำมาใช้รักษาผู้ป่วย อาการไม่พึงประสงค์และพิษของยา ประสิทธิผลและราคาที่ใช้ในการรักษา โดยเปรียบเทียบกับยาที่มีคุณสมบัติคล้ายกันหรือข้อบ่งใช้เดียวกัน ที่มีหรือไม่มีอยู่ในบัญชียาโรงพยาบาล ซึ่งเภสัชกรจะมีบทบาทในการกำหนดคุณลักษณะเฉพาะของยาที่ต้องจัดซื้อ ว่ายาแต่ละรายการควรมีคุณลักษณะเฉพาะอย่างไร ตลอดทั้งการประเมินข้อมูลประกอบอื่นๆ เช่น ข้อมูลด้านคุณภาพ ข้อมูลทางคลินิก โดยอ้างอิงหลักวิชาการ เนื่องจากยาแต่ละชื่อการค้าอาจมีแหล่งวัตถุดิบและกรรมวิธีการผลิตที่แตกต่างกัน ซึ่งมีผลต่อประสิทธิภาพการรักษา
ฉะนั้นเภสัชกรโรงพยาบาลจะมีส่วนสำคัญในการคัดเลือกยาให้ได้ยาที่มีคุณภาพ เพื่อให้มั่นใจว่าผู้ป่วยจะได้รับยาที่มีประสิทธิภาพและมีความปลอดภัย จึงจำเป็นต้องมีการศึกษาและทบทวนองค์ความรู้ที่จำเป็นสำหรับการคัดเลือกยาอย่างต่อเนื่อง เพื่อนำมาเป็นข้อมูลประกอบการจัดหาและกำหนดหลักเกณฑ์การพิจารณายาให้ทันสมัยอยู่ตลอดเวลา รวมทั้งเพื่อนำเสนอข้อมูลในที่ประชุมคณะกรรมการเพื่อพิจารณาตัดสินใจ
วัตถุประสงค์
1. เพื่อเผยแพร่องค์ความรู้ในปัจจุบันเกี่ยวกับแนวทางในการประเมินข้อมูลและหลักฐานทางวิชาการที่จำเป็นในการคัดเลือกยาเข้าบัญชียาโรงพยาบาล
2. เพื่อส่งเสริมการพัฒนาศักยภาพของเภสัชกรโรงพยาบาลให้เข้าใจประเด็นที่สำคัญในการคัดเลือกยาเข้าบัญชียาโรงพยาบาล สามารถนำความรู้ไปใช้ในการปฏิบัติงาน
3. เพื่อแลกเปลี่ยนความคิดเห็นและประสบการณ์ในการคัดเลือกยาเข้าบัญชียาโรงพยาบาล
คำสำคัญ
Biosimilars, Value Based, formulary, Bioequivalence, Therapeutic Equivalence