ศูนย์การศึกษาต่อเนื่องฯ จะส่ง sms และ email แจ้งเตือนสมาชิกผู้ที่มีหน่วยกิตไม่ครบเกณฑ์ ครั้งต่อไปในวันที่ 11 มิถุนายน 2568

การประชุมวิชาการ
ประชุมเชิงปฏิบัติการเภสัชกรรมคลินิก ครั้งที่ 39 ปีงบประมาณ 2566 เรื่อง เภสัชเศรษฐศาสตร์ของมาตรการด้านสุขภาพ (Pharmacoeconomics for Healthcare Intervention)
ชื่อการประชุม ประชุมเชิงปฏิบัติการเภสัชกรรมคลินิก ครั้งที่ 39 ปีงบประมาณ 2566 เรื่อง เภสัชเศรษฐศาสตร์ของมาตรการด้านสุขภาพ (Pharmacoeconomics for Healthcare Intervention)
สถาบันหลัก คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
รหัสกิจกรรม 1003-2-000-011-05-2566
สถานที่จัดการประชุม โรงแรมเอ็มเพรส พรีเมียร์ เชียงใหม่
วันที่จัดการประชุม 29 -31 พ.ค. 2566
ผู้จัดการประชุม คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
กลุ่มเป้าหมาย เภสัชกรโรงพยาบาล หรือสถานบริการสาธารณสุขจากหน่วยงานภาครัฐและภาคเอกชน และนักศึกษาบัณฑิตศึกษาคณะเภสัชศาสตร์ 4 มหาวิทยาลัย จำนวนประมาณ 60 คน
หน่วยกิตการศึกษาต่อเนื่อง 16 หน่วยกิต
หลักการและเหตุผล
กระทรวงสาธารณสุขได้จัดทำแผนยุทธศาสตร์ชาติระยะ 20 ปี (ด้านสาธารณสุข) ตามนโยบายรัฐบาลที่จะนำประเทศไทยก้าวสู่ Thailand 4.0 รวมทั้งการเข้าสู่การเชื่อมต่อการค้าและการลงทุนความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีและลดความเหลื่อมล้ำการเข้าถึงระบบสุขภาพ ซึ่งกำหนดเป้าหมาย คือ ประชาชนสุขภาพดี เจ้าหน้าที่มีความสุข ระบบสุขภาพยั่งยืน ภายใต้การพัฒนาความเป็นเลิศใน 4 ยุทธศาสตร์ คือ 1. ด้านส่งเสริมสุขภาพ ป้องกันโรค และคุ้มครองผู้บริโภคเป็นเลิศ (PP&P Excellence) 2. บริการเป็นเลิศ (Service Excellence) 3. บุคลากรเป็นเลิศ (People Excellence) และ 4. บริหารเป็นเลิศด้วยธรรมาภิบาล (Governance Excellence) จะเห็นว่ายุทธศาสตร์ด้านสุขภาพโดยเน้นคุณค่า (value-based healthcare) เป็นหนึ่งในยุทธศาสตร์ที่สำคัญ ส่วนหนึ่งมาจากมาตรการด้านสุขภาพ (healthcare intervention) ใหม่ ๆ ที่ได้รับการพัฒนาให้มีประสิทธิผลและความปลอดภัยในการรักษาดีกว่ามาตรการเดิม แต่กลับมีผลให้ต้นทุนการรักษามีแนวโน้มเพิ่มขึ้นเช่นกัน หากระบบสุขภาพมีประสิทธิภาพอย่างแท้จริง ต้นทุนทั้งระบบควรจะลดลง ดังนั้น คุณค่า (value) ที่แท้จริงในการดูแลสุขภาพก็คือ การมีผลลัพธ์ในการรักษาที่ดีและมีต้นทุนทั้งระบบต่ำ

การประเมินเทคโนโลยีด้านสุขภาพ (health technology assessment) จัดเป็นเครื่องมือหนึ่งที่ใช้ในการประเมินและตัดสินใจเลือกมาตรการด้านสุขภาพได้อย่างมีประสิทธิภาพ ภายใต้ความจำกัดของงบประมาณทุกภาคส่วนในการนำเครื่องมือนี้มาใช้ ผู้สนใจจำเป็นต้องมีองค์ความรู้และทักษะที่จำเป็น จึงจะสามารถนำไปประยุกต์ใช้ในการตัดสินใจและคัดเลือกมาตรการด้านสุขภาพในหน่วยงานที่รับผิดชอบได้อย่างถูกต้องครบถ้วน

พันธกิจที่สำคัญประการหนึ่งของคณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ คือ การให้บริการวิชาการเพื่อส่งเสริมและเพิ่มพูนองค์ความรู้ด้านวิชาการให้กับผู้สนใจ หรือเภสัชกรในการปฏิบัติหน้าที่ดูแลสุขภาพแก่ประชาชนได้อย่างถูกต้องและคุ้มค่า โดยอาศัยหลักฐานเชิงประจักษ์ทางการแพทย์ที่เชื่อมโยงไปถึงด้านเศรษฐศาสตร์ในการดูแลสุขภาพ
วัตถุประสงค์
เพื่อให้ผู้เข้าร่วมประชุมได้เพิ่มพูนความรู้และทักษะด้านวิชาการของการประเมินความคุ้มค่าของมาตรการด้านสุขภาพ (Pharmacoeconomics for Healthcare Intervention)
คำสำคัญ
ความคุ้มค่าของมาตรการด้านสุขภาพ
วิธีสมัครการประชุม
ผู้ที่สนใจสามารถศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมและลงทะเบียนได้ที่ https://cpe.pharmacy.cmu.ac.th/conference.php