แนวทางการประเมินและรายงานอาการไม่พึงประสงค์จากผลิตภัณฑ์สุขภาพผ่านระบบตาไวสำหรับเภสัชกรชุมชน
ชื่อการประชุม |
|
แนวทางการประเมินและรายงานอาการไม่พึงประสงค์จากผลิตภัณฑ์สุขภาพผ่านระบบตาไวสำหรับเภสัชกรชุมชน |
สถาบันหลัก |
|
คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ |
รหัสกิจกรรม |
|
1004-2-000-011-04-2566 |
สถานที่จัดการประชุม |
|
ประชุม Online ผ่านระบบ Zoom |
วันที่จัดการประชุม |
|
20 เม.ย. 2566 |
ผู้จัดการประชุม |
|
คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ |
กลุ่มเป้าหมาย |
|
เภสัชกรชุมชน |
หน่วยกิตการศึกษาต่อเนื่อง |
|
2.75 หน่วยกิต |
หลักการและเหตุผล
ปัจจุบันเภสัชกรชุมชนมีบทบาทที่สำคัญในการดูแลและให้บริการด้านสุขภาพแก่ประชาชนในชุมชนให้มีสุขภาวะที่ดี ซึ่งการติดตาม ประเมิน และรายงานอาการไม่พึงประสงค์จากผลิตภัณฑ์สุขภาพก็เป็นบทบาทหนึ่งที่สำคัญของเภสัชกรชุมชนที่ต้องดำเนินการทั้งในฐานะบุคลากรทางการแพทย์และภายใต้หลักวิธีปฏิบัติทางเภสัชกรรมชุมชน : Good Pharmacy Practice (GPP) ที่เป็นกฎหมายในการกำกับดูแลการดำเนินการของเภสัชกรชุมชน ซึ่งจากการดำเนินการร่วมกันระหว่างหน่วยนวัตกรรมเพื่อผู้บริโภคด้านผลิตภัณฑ์สุขภาพ ศูนย์บริการปฏิบัติการทางเภสัชศาสตร์ คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ และสมาคมเภสัชกรรมชุมชน (ประเทศไทย) ในการพัฒนาศักยภาพของเภสัชกรชุมชนในการเฝ้าระวังและติดตามความปลอดภัยด้านผลิตภัณฑ์สุขภาพในชุมชน พบว่ามีเภสัชกรชุมชนจำนวนมากให้ความสนใจในการดำเนินการและมีการรายงานอาการไม่พึงประสงค์ที่พบในสถานปฏิบัติการเภสัชกรรมชุมชนหรือร้านขายยาเข้ามาผ่านระบบตาไวเป็นจำนวนมาก แต่ทั้งนี้พบว่ามีรายงานบางส่วนที่ยังขาดข้อมูลที่จำเป็นหรือระบุข้อมูลที่ผิดพลาดสำหรับการจัดการปัญหาในระดับพื้นที่หรือการส่งต่อสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยาสำหรับการดำเนินการเชิงระบบอย่างมีประสิทธิภาพต่อไปในอนาคต ด้วยเหตุนี้หน่วยนวัตกรรมเพื่อผู้บริโภคด้านผลิตภัณฑ์สุขภาพ ศูนย์บริการปฏิบัติการทางเภสัชศาสตร์ คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ร่วมกับภาคีเครือข่ายจึงได้ในการจัดอบรมเพื่อเพิ่มพูนองค์ความรู้ของเภสัชกรชุมชนสำหรับการติดตาม ตรวจสอบ และประเมินอาการไม่พึงประสงค์จากผลิตภัณฑ์สุขภาพที่มักพบบ่อยในร้านขายยา พร้อมทั้งสามารถรายงานอาการไม่พึงประสงค์ที่เกิดขึ้นของประชาชนในชุมชนผ่านระบบตาไวได้อย่างถูกต้องเหมาะสม เพื่อเสริมประสิทธิภาพในการจัดการปัญหาด้านผลิตภัณฑ์สุขภาพทั้งในระดับพื้นที่และเชิงนโยบายสำหรับการส่งเสริมและขับเคลื่อนการใช้ยาสมเหตุผลในชุมชน (Rational Drug Use community) ภายใต้นโยบายการขับเคลื่อนสู่ประเทศที่ใช้ยาได้อย่างสมเหตุผล หรือที่เรียกว่า RDU country ของกระทรวงสาธารณสุขต่อไป
วัตถุประสงค์
1) เพื่อให้ความรู้ผู้เข้าร่วมประชุมมีความรู้ทางวิชาการเกี่ยวกับอาการไม่พึงประสงค์จากผลิตภัณฑ์สุขภาพประเภทต่างๆ ที่น่าจะพบได้บ่อยในร้านขายยา รวมถึงแนวทางการประเมินอาการ และการจัดการที่ถูกต้องเหมาะสม เพื่อแก้ปัญหาให้กับผู้ป่วยอย่างมีประสิทธิภาพและรวบรวมข้อมูลเพื่อจัดการปัญหาเชิงระบบในอนาคต
2) เพื่อเสริมสร้างความเข้าใจในการรายงานข้อมูลอาการไม่พึงประสงค์จากผลิตภัณฑ์สุขภาพที่พบในร้านขายยาผ่านระบบตาไว และสามารถรายงานได้อย่างถูกต้องครบถ้วนสำหรับการจัดการปัญหาในพื้นที่และการส่งต่อข้อมูลสู่สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา
3) เพื่อสร้างการรับรู้และการยอมรับระบบตาไว เป็นเครื่องมือสำหรับการติดตามผลกระทบจากผลิตภัณฑ์สุขภาพเชิงรุกในชุมชน
4) เพื่อส่งเสริมการศึกษาต่อเนื้องของเภสัชกรในประเทศ
คำสำคัญ
อาการไม่พึงประสงค์ การประเมินและการติดตาม การรายงานอาการไม่พึงประสงค์ ระบบตาไว