ศูนย์การศึกษาต่อเนื่องฯ จะส่ง sms และ email แจ้งเตือนสมาชิกผู้ที่มีหน่วยกิตไม่ครบเกณฑ์ ครั้งต่อไปในวันที่ 11 มิถุนายน 2568

การประชุมวิชาการ
การประชุมวิชาการ การประยุกต์ใช้ Interrupted Time Series Analysis ในงานวิจัยทางคลินิก
ชื่อการประชุม การประชุมวิชาการ การประยุกต์ใช้ Interrupted Time Series Analysis ในงานวิจัยทางคลินิก
สถาบันหลัก คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยพะเยา
รหัสกิจกรรม 1011-2-000-002-03-2566
สถานที่จัดการประชุม ห้องประชุม PHAR 1104 คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยพะเยา
วันที่จัดการประชุม 27 มี.ค. 2566
ผู้จัดการประชุม คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยพะเยา
กลุ่มเป้าหมาย อาจารย์คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยพะเยา จำนวน 15 คน
หน่วยกิตการศึกษาต่อเนื่อง 2 หน่วยกิต
หลักการและเหตุผล
การศึกษา Interrupted Time Series Analysis (ITSA) เป็นรูปแบบหนึ่งของการวิจัยที่ใช้ทดสอบประสิทธิผลของสิ่งแทรกแซง หรือตัวแปรสาเหตุโดยพิจารณาการเปลี่ยนแปลงของตัวแปรตามซึ่งเป็นข้อมูลอนุกรมเวลา (time series data) ระหว่างช่วงเวลาก่อนและหลังได้รับสิ่งแทรกแซง (interruption) ในปัจจุบันมีการประยุกต์ใช้งานวิจัยรูปแบบ ITSA ในงานวิจัยเพื่อพัฒนาคุณภาพการบริการทางด้านสุขภาพทั้งในระดับองค์กร และระดับประเทศ เช่น การประเมินนโยบายการใช้ยา การประเมินแนวทางเวชปฏิบัติ หรือการวางระบบ และมาตรการต่างๆ รวมถึงงานวิจัยทางสังคม และพฤติกรรมศาสตร์ เช่น ความรอบรู้ทางสุขภาพ พฤติกรรมการใช้ยา อาหารเสริม สมุนไพร เป็นต้น จากการสืบค้นฐานข้อมูล Pubmed ซึ่งเป็นฐานข้อมูลสารสนเทศทางการแพทย์พบรายงานการวิจัยที่ใช้รูปแบบ ITSA มีแนวโน้มเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยในปี ค.ศ. 2008-2012 มีจำนวน 533 เรื่อง ค.ศ. 2013-2017 มีจำนวน 1,542 เรื่อง และปี ค.ศ. 2018-2022 มีจำนวน 3,961 เรื่อง อย่างไรก็ตามผลการศึกษาที่ประเมินคุณภาพรายงานวิจัยที่ใช้รูปแบบ ITSA ของ Ramsay และคณะพบว่ารายงานการวิจัยยังมีข้อบกพร่องเช่น ไม่รายงานการให้สิ่งแทรกแซงที่ชัดเจนร้อยละ 60 ไม่ระบุที่มาของขนาดตัวอย่างร้อยละ 100 และการใช้สถิติไม่เหมาะสมร้อยละ 64 สอดคล้องกับงานวิจัยของเอกพล กาละดี ที่ศึกษาคุณภาพของงานวิจัยการให้สิ่งแทรกแซงโดยเภสัชกรที่ใช้รูปแบบการศึกษา ITSA พบว่ามีรายงานการศึกษาที่มีระเบียบวิธีวิจัยไม่ชัดเจนร้อยละ 47 มีการรายงานผลการศึกษาไม่เหมาะสมร้อยละ 58 และมีการเลือกใช้สถิติสำหรับวิเคราะห์ข้อมูลไม่เหมาะสมร้อยละ 58 จะเห็นได้ว่าถึงแม้การศึกษารูปแบบ ITSA จะเพิ่มมากขึ้นแต่ผู้วิจัยควรระมัดระรังในเรื่องการออกแบบงานวิจัย และการวิเคราะห์ทางสถิติที่เหมาะสมเพื่อให้ผลการวิจัยมีความถูกต้องมากที่สุด ดังนั้นหน่วยวิจัยเภสัชระบาดวิทยา เภสัชสังคม และการบริหาร (PSAP) คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยพะเยา ซึ่งเป็นหน่วยงานทางด้านการศึกษาและงานวิจัยจึงเล็งเห็นความสำคัญในการจัดประชุมวิชาการเพื่อพัฒนาองค์ความรู้ในงานวิจัยรูปแบบ ITSA เพื่อให้อาจารย์ และบุคลากรทางการแพทย์ที่มีความสนใจงานวิจัยรูปแบบดังกล่าวสามารถนำความรู้ที่ได้ไปประยุกต์ในงานวิจัยได้อย่างเหมาะสม
วัตถุประสงค์
1. เพื่อให้ผู้เข้าร่วมงานประชุมมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับงานวิจัยรูปแบบ Interrupted Time Series
2. เพื่อให้ผู้เข้าร่วมงานประชุมสามารถนำความรู้ที่ได้ไปปรับใช้กับงานวิจัยของตนเองได้อย่างเหมาะสม
คำสำคัญ
Interrupted Time Series Analysis, epidemiology
วิธีสมัครการประชุม
แจ้งความประสงค์ผ่านทาง email: sirayut.pa@up.ac.th