ศูนย์การศึกษาต่อเนื่องฯ จะส่ง sms และ email แจ้งเตือนสมาชิกผู้ที่มีหน่วยกิตไม่ครบเกณฑ์ ครั้งต่อไปในวันที่ 11 มิถุนายน 2568

การประชุมวิชาการ
ประชุมใหญ่สามัญประจำปี 2566 และประชุมวิชาการ เรื่อง “Practical implementation of process validation lifecycle approach”
ชื่อการประชุม ประชุมใหญ่สามัญประจำปี 2566 และประชุมวิชาการ เรื่อง “Practical implementation of process validation lifecycle approach”
สถาบันหลัก สมาคมเภสัชกรอุตสาหการ (ประเทศไทย)
รหัสกิจกรรม 2004-2-000-004-03-2566
สถานที่จัดการประชุม โรงแรม แอมบาสเดอร์ สุขุมวิท 11 กรุงเทพฯ
วันที่จัดการประชุม 21 มี.ค. 2566
ผู้จัดการประชุม สมาคมเภสัชกรอุตสาหการ (ประเทศไทย)
กลุ่มเป้าหมาย บุคลากรที่ปฏิบัติงาน ในหน่วยงานดังนี้ ประกันคุณภาพ ควบคุมคุณภาพ ผลิต วิศวกรรม ผู้ตรวจประเมินระบบคุณภาพ / GMP และผู้สนใจทั่วไป
หน่วยกิตการศึกษาต่อเนื่อง 4 หน่วยกิต
หลักการและเหตุผล
การตรวจสอบความถูกต้องของกระบวนการผลิต (process validation) เป็นข้อกำหนดหนึ่งในภาคผนวก 14 เรื่องการตรวจรับรองและการตรวจสอบความถูกต้อง ตามประกาศกระทรวงสาธารณสุข เรื่องการกำหนดรายละเอียดเกี่ยวกับหลักเกณฑ์และวิธีการในการผลิตยาแผนปัจจุบันและแก้ไขเพิ่มเติมหลักเกณฑ์และวิธีการผลิตยาแผนโบราณ ตามกฎหมายว่าด้วยยา พ.ศ.2559 การตรวจสอบความถกูต้องของกระบวนการผลิตเป็นวิธีการเพื่อยืนยันว่ากระบวนการที่ทำงานภายใต้พารามิเตอร์ที่กำหนดไว้ (process parameter) สามารถผลิตผลิตภัณฑ์ได้อย่างมีประสิทธิผลและสามารถทำซ้ำได้ ตามข้อกำหนดของผลิตภัณฑ์ (product specifications) ในทุกๆ รุ่นการผลิต เพื่อก่อเกิดประสิทธิผลตามข้อบ่งใช้ผลิตภัณฑ์ในการรักษาและมีความปลอดภัยต่อผู้บริโภค ทั้งนี้ข้อมูลการตรวจสอบความถูกต้องมีความสำคัญใช้ในการขึ้นทะเบียนตำรับและหรือการปรับเปลี่ยนกระบวนการผลิตที่มีผลกระทบต่อสถานะการตรวจสอบความถูกต้อง
การตรวจสอบความถูกต้องของกระบวนการผลิต ได้มีวิวัฒนาการอย่างต่อเนื่อง โดยให้การตรวจสอบความถูกต้องจากการประเมินความเสี่ยง และปรับการตรวจสอบความถูกต้องแบบดั้งเดิม( traditional process validation) ที่ตรวจสอบความถูกต้อง 3 รุ่นการผลิตต่อเนื่องกัน เป็นแบบการตรวจสอบยืนยันกระบวนการอย่างต่อเนื่อง (continuous process verification) จากผลิตภัณฑ์ที่พัฒนาขึ้นโดยๆ quality by design และมีการควบคุมตามที่กำหนด สามารถใช้แทนการการตรวจสอบแบบดั้งเดิมได้ หรือเป็นการตรวจสอบความถูกต้องแบบลูกผสม (hybrid approach) ซึ่งเป็นการตรวจสอบแบบดั้งเดิม และตรวจสอบยืนยันกระบวนการอย่างต่อเนื่อง นอกจากนี้ต้องมีการตรวจสอบยืนยันกระบวนการที่ดําเนินอยู่ระหว่างวงจรชีวิตของผลิตภัณฑ์ (ongoing process verification during lifecycle) ทั้ง 3 แบบ เพื่อให้มั่นใจว่า สถานะการควบคุมยังคงรักษาไว้ตลอดวงจรชีวิตของผลิตภัณฑ์
วัตถุประสงค์
• เพื่อเรียนรู้ความสำคัญของการตรวจสอบความถูกต้อง
• เพื่อเรียนรู้วิวัฒนาการของการตรวจสอบความถูกต้อง
• เพื่อเรียนรู้การประยุกต์ใช้การตรวจสอบความถูกต้อง ทั้งแบบดั้งเดิม แบบการตรวจสอบยืนยันกระบวนการอย่างต่อเนื่องและ แบบลูกผสม
• เพื่อเรียนรู้การตรวจสอบยืนยันกระบวนการที่ดำเนินอยู่ระหว่างวงจรชีวิตของผลิตภัณฑ์
คำสำคัญ
process validation, process parameter, continuous process verification, hybrid approach
วิธีสมัครการประชุม
เภสัชกรที่เข้าร่วมประชุมวิชาการครั้งนี้ จะได้ 4 หน่วยกิตการศึกษาต่อเนื่อง ค่าลงทะเบียน สมาชิกสมาคมเภสัชกรอุตสาหการ (ประเทศไทย) คนละ 1070 บาท (รวมภาษีมูลค่าเพิ่ม) บุคคลทั่วไป คนละ 2140 บาท (รวมภาษีมูลค่าเพิ่ม)