ศูนย์การศึกษาต่อเนื่องฯ จะส่งข้อมูลแจ้งเตือนสมาชิก ผ่านช่องทาง sms และ email ในวันที่ 5 ธ.ค. 2567 และ 19 ธ.ค. 2567

การประชุมวิชาการ
โครงการพัฒนาบุคลากรทางการแพทย์ด้านโรคผิวหนังแบบองค์รวม ประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2566
ชื่อการประชุม โครงการพัฒนาบุคลากรทางการแพทย์ด้านโรคผิวหนังแบบองค์รวม ประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2566
สถาบันหลัก คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
รหัสกิจกรรม 1004-2-000-005-05-2566
สถานที่จัดการประชุม โรงพยาบาลโรคผิวหนังเขตร้อนภาคใต้ จังหวัดตรัง
วันที่จัดการประชุม 15 -16 พ.ค. 2566
ผู้จัดการประชุม คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
กลุ่มเป้าหมาย เภสัชกร จำนวน 60 คน
หน่วยกิตการศึกษาต่อเนื่อง 12 หน่วยกิต
หลักการและเหตุผล
โรงพยาบาลโรคผิวหนังเขตร้อนภาคใต้ จังหวัดตรัง มีเป้าหมายในการพัฒนาหน่วยงานเพื่อให้สอดคล้องกับวิสัยทัศน์ (Vision) ของกรมการแพทย์ (พ.ศ. 2566-2570) “ประชาชนสุขภาพดีได้รับบริการทางการแพทย์ที่มีคุณภาพและมาตรฐานวิชาชีพอย่างเสมอภาคการแพทย์ไทยเป็น 1 ใน 3 ของเอเชีย” และพันธกิจของกรมการแพทย์ “สร้างและถ่ายทอดองค์ความรู้ เทคโนโลยีทางการแพทย์ที่สมคุณค่า (Appropriate Medical Technology) เสริมสร้างการมีส่วนร่วม (Co-Creation) ทางวิชาการและบริการทางการแพทย์ในทุกภาคส่วน เพื่อพัฒนาการแพทย์ของประเทศสู่มาตรฐานสากลจากข้อมูลระบบสารสนเทศโรคผิวหนังของ
เขตสุขภาพที่ 12 (HIS for Skin) พบว่าภาวะโรคของผู้ที่มารับบริการในเขตสุขภาพที่ 12 ข้อมูล 3 ปีย้อนหลังในปี 2563 ถึง 2565 โดย 3 กลุ่มโรคที่เป็นปัญหาหลัก ได้แก่ 1. โรคผิวหนังอักเสบ 2. โรคเชื้อรา 3. โรคจากการประกอบอาชีพ (โรคผิวหนังอักเสบ, โรคผื่นแพ้สัมผัส และโรคผิวหนังจากการระคายเคือง) ทั้ง 3 กลุ่มโรค
มีสาเหตุการก่อโรคที่เป็นปัจจัยหลักจากสิ่งแวดล้อม สภาพภูมิอากาศในพื้นที่ภาคใต้แบบร้อนชื้น โดยส่วนใหญ่ความรุนแรงของโรคไม่มีอันตรายถึงขั้นเสียชีวิตแต่มีอาการเรื้อรังเป็น ๆ หาย ๆ ก่อให้เกิดความรำคาญรบกวนการดำเนินในชีวิตประจำวัน และมีผลต่อคุณภาพชีวิต รวมไปถึงบุคลิกภาพของผู้รับบริการ จากสถานการณ์ผู้ป่วยโรคผิวหนังในปัจจุบันยังคงเพิ่มจำนวนมากขึ้นเรื่อย ๆ และส่วนใหญ่ผู้ป่วยอยู่ในทุกพื้นที่ ที่สามารถเข้าถึงบริการของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลหรือโรงพยาบาลระดับอำเภอได้ง่าย เนื่องจากอยู่ใกล้บ้าน
ดังนั้น โรงพยาบาลโรคผิวหนังเขตร้อนภาคใต้ จังหวัดตรัง ได้เล็งเห็นถึงศักยภาพของบุคลากรสาธารณสุขที่ได้ปฏิบัติงานในพื้นที่ จะต้องมีความรอบรู้และมีแนวทางการดูแลผู้ป่วยโรคผิวหนังที่ทันสมัยอยู่ตลอดเวลา จึงจำเป็นต้องจัดกิจกรรมโครงการพัฒนาศักยภาพบุคลากรสหวิชาชีพขึ้นอย่างต่อเนื่อง เพื่อเพิ่มศักยภาพให้กับบุคลากรสาธารณสุข ที่ปฏิบัติงานในพื้นที่ให้สามารถดูแลผู้ป่วยโรคผิวหนังเบื้องต้นได้เทียบเท่ากับโรงพยาบาลโรคผิวหนังเขตร้อนภาคใต้ จังหวัดตรัง พร้อมทั้งสามารถนำความรู้ที่ได้ไปใช้ประโยชน์ในการสร้างเสริมดูแลสุขภาวะที่ดีให้แก่ประชาชน
วัตถุประสงค์
1. เพื่อพัฒนาศักยภาพบุคลากรทางการแพทย์และภาคีเครือข่าย
2. เพื่อพัฒนาหลักสูตรการเรียนการสอนผ่านระบบออนไลน์
คำสำคัญ
เภสัชกรรมโรคผิวหนัง