ชื่อบทความ |
|
เทียนสัตตบุษย์…สมุนไพรในตำรายาไทย |
ผู้เขียนบทความ |
|
ภญ.กฤติยา ไชยนอก |
สถาบันหลัก |
|
คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล |
รหัสกิจกรรม |
|
1002-1-000-003-04-2561 |
ผู้ผลิตบทความ |
|
คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล |
การเผยแพร่บทความ |
|
เฉพาะสมาชิกผู้ผลิตบทความ |
วันที่ได้รับการรับรอง |
|
30 เม.ย. 2561 |
วันที่หมดอายุ |
|
29 เม.ย. 2562 |
หน่วยกิตการศึกษาต่อเนื่อง |
|
3 หน่วยกิต |
บทคัดย่อ
เทียนสัตตบุษย์ (anise, aniseed, sweet cumin) เป็นเทียนอีกชนิดหนึ่งที่นิยมใช้เป็นส่วนประกอบในตำรับยาไทย ส่วนที่ใช้คือผลแก่แห้ง ซึ่งมีกลิ่นหอมและรสเผ็ดร้อนเล็กน้อย สรรพคุณตามตำรายาไทยระบุว่าใช้แก้อาการแพ้ท้อง แก้ไข้ แก้สะอึก แก้พิษระส่ำระสาย นอกจากนี้ในต่างประเทศยังมีการใช้เพื่อบรรเทาอาการปวดท้อง ท้องอืดท้องเฟ้อ ช่วยขับลม และกระตุ้นน้ำนม สารสำคัญที่พบคือ น้ำมันหอมระเหย ซึ่งมีสาร anethole เป็นส่วนประกอบหลัก การศึกษาฤทธิ์ทางเภสัชวิทยาของเทียนสัตตบุษย์มีเป็นจำนวนมาก เช่น ฤทธิ์ต้านจุลชีพ ต้านอนุมูลอิสระ ช่วยปกป้องอวัยวะภายใน มีฤทธิ์คล้ายฮอร์โมนเอสโตรเจน กระตุ้นการสร้างน้ำนม และบรรเทาอาการของโรคซึมเศร้า เป็นต้น งานวิจัยทางคลินิกพบว่า เทียนสัตตบุษย์มีฤทธิ์บรรเทาอาการร้อนวูบวาบในหญิงวัยหมดประจำเดือน อาการอาหารไม่ย่อย อาการของโรคหอบหืด อาการของไซนัสอักเสบ และอาการของโรคซึมเศร้า การศึกษาความเป็นพิษพบว่าการใช้เทียนสัตตบุษย์ในรูปแบบของอาหารมีความปลอดภัย แต่อาจต้องระมัดระวังในผู้ที่แพ้พืชตระกูลเดียวกับเทียนสัตตบุษย์ เช่น ขึ้นฉ่าย แครอท รวมทั้งผู้ที่แพ้สาร anethole เนื่องจากอาจทำให้เกิดอาการแพ้ได้ นอกจากนี้เทียนสัตตบุษย์ยังสามารถเกิดอันตรกิริยากับยาแผนปัจจุบันหลายชนิด เช่น codeine, diazepam, midazolam, pentobarbital, imipramine, fluoxetine และ acetaminophen เป็นต้น ดังนั้นผู้ที่จำเป็นต้องใช้ยาเหล่านี้ควรหลีกเลี่ยงหรือใช้ผลิตภัณฑ์ที่มีส่วนผสมของเทียนสัตตบุษย์ด้วยความระมัดระวัง
คำสำคัญ
เทียนสัตตบุษย์, anise, aniseed, sweet cumin, Pimpinella anisum L., น้ำมันหอมระเหย, anethole
วิธีสมัครสมาชิก
สมัครสมาชิก Online ได้ที่
http://www.medplant.mahidol.ac.th/members/NewsletterForm.asp