ศูนย์การศึกษาต่อเนื่องฯ จะส่ง sms และ email แจ้งเตือนสมาชิกผู้ที่มีหน่วยกิตไม่ครบเกณฑ์ ครั้งต่อไปในวันที่ 11 มิถุนายน 2568

การประชุมวิชาการ
การประชุมส่งเสริมและพัฒนาศักยภาพร้านยาแผนปัจจุบัน (ขย.1) ในจังหวัดชลบุรี ประจำปีงบประมาณ 2566 (ช่วงที่ 2)
ชื่อการประชุม การประชุมส่งเสริมและพัฒนาศักยภาพร้านยาแผนปัจจุบัน (ขย.1) ในจังหวัดชลบุรี ประจำปีงบประมาณ 2566 (ช่วงที่ 2)
สถาบันหลัก คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา
รหัสกิจกรรม 1015-2-000-003-02-2566
สถานที่จัดการประชุม ศูนย์ประชุมนานาชาตินงนุชพัทยา (NICE) อ.สัตหีบ จ.ชลบุรี
วันที่จัดการประชุม 19 ก.พ. 2566
ผู้จัดการประชุม สำนักงานสาธารณสุข จังหวัดชลบุรี
กลุ่มเป้าหมาย เภสัชกรประจำร้านขายยาในเขตจังหวัดชลบุรี และเภสัชกรที่สนใจ
หน่วยกิตการศึกษาต่อเนื่อง 4.5 หน่วยกิต
หลักการและเหตุผล
ร้านยาเป็นหน่วยหนึ่งของระบบสุขภาพที่อยู่ใกล้ชิดประชาชน ไม่เพียงแต่ทำหน้าที่ด้านการกระจายยาเท่านั้น แต่ยังมีบทบาทสำคัญเปรียบเสมือนเป็น "ที่พึ่งพาด้านสุขภาพของชุมชน" เป็นทางเลือกหนึ่งของประชาชนในการใช้บริการเมื่อมีอาการหรือเจ็บป่วยเบื้องต้น (Common illness) นอกจากนี้ ร้านยายังเป็นแหล่งที่สามารถให้คำแนะนำในการดูแลสุขภาพตนเอง การแนะนำและส่งต่อไปยังแพทย์ผู้เชี่ยวชาญตามความเหมาะสม ประเทศไทยมีร้ายยาจำนวนมาก และกระจ่ายในเขตต่างๆ ทั่วประเทศ ในปี พ.ศ. 2559 พบว่าร้านยาแผนปัจจุบัน (ขย.1) ในประเทศไทยมีจำนวน 16,053 ร้าน โดยจำนวนร้านยาที่มากที่สุด คือ กรุงเทพมหานคร (4,774 ร้าน) คิดเป็นร้อยละ 29.74 ในส่วนภูมิภาคพบว่าจังหวัดขลบุรี มีจำนวนร้านยามากที่สุ (1,110 ร้าน) คิดเป็นร้อยละ 6.91 ร้านยาถือเป็นส่วนหนึ่งของระบบสาธารณสุข ประชาชนเข้าถึงบริการได้ง่าย ประกอบกับร้ายยาเป็นหน่วยหนึ่งในภาคเอกชน การบริหารจัดการหรือการดำเนินการต่างๆ จึงสามารถช่วยประหยัดงบประมาณการคลังของรัฐในการดูแลสุขภาพของคนไทย

ปัจจุบันร้านยาแผนปัจจุบัน ประเภท ขย.1 ที่มีเภสัชกรเป็นผู้มีหน้าที่ปฏิบัติการและอยู่ปฏิบัติหน้าที่ในสถานที่ขายยาตลอดเวลาที่เปิดทำการมีบทบาทด้านวิชาชีพเภสัชกรรมในการดูแลประชาชนร่วมกับหน่วยงานภาครัฐในหลากหลายมิติได้เป็นที่ประจักษ์ เช่น โครงการลดความแออัดในโรงพยาบาล โครงการ "เจอ แจก จบ" โครงการ mohpromt station โครงการแจก ATK โครงการ Promotion-prevention Fee schedule (PP-FS) และ Common illness (CI) ซึ่งประชาชนได้รับประโยชน์สูงสุดในทุกมิติของระบบสุขภาพอย่างชัดเจนเป็นการชี้ให้เห็นว่าเภสัชกรผู้ปฎิบัติการในร้านยามีบทบาทอย่างมากที่จะสร้างเสริมศักยภาพร้านยาให้ตอบโจทย์การดูแลสุขภาพประชาชนในระดับปฐมภูมิได้เป็นอย่างดี

สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดชลบุรี โดยกลุ่มงานคุ้มครองผู้บริโภคและเสภัชสาธารณสุข ซึ่งมีบทบาทหน้าที่ในการคุมครองผู้บริโภคได้รับความปลอดภัยจากการใช้ยาและผลิตภัณฑ์สุขภาพ รวมถึงการบริการด้านสุขภาพ และควบคุมกำกับสถานประกอบการร้านยาในจังหวัดชลบุรี ให้ปฏิบัติตามข้อกฎหมายที่เกี่ยวข้อง สำนักงานสาธารณสุขจึงจัดทำโครงการส่งส่งเสริมและพัฒนาศักยภาพร้านยาแผนปัจจุบัน (ขย.1) ในจังหวัดชลบุรี ประจำปีงบประมาณ 2566 เพื่อให้เกิดการคุ้มครองผู้บริโภคและเกิดประโยชน์ต่อประชาชนต่อไป
วัตถุประสงค์
1. เพื่อส่งเสริมและพัฒนาศักยภาพผู้ประกอบการและผู้มีหน้าที่ปฏิบัติการ ของสถานที่ขายยาแผนปัจจุบัน (ขย.1) ในจังหวัดชลบุรี
2. เพื่อให้ประชาชนได้รับประโยชน์สูงสุดจากการมารับบริการในสถานที่ขายยาแผนปัจจุบัน (ขย.1) ในจังหวัดชลบุรี
3. เพื่อให้ร้านยาแผนปัจจุบันมีการบริการที่เป็นมาตรฐานในทุก ๆ ด้านและเป็นที่พึ่งของชุมชนในการให้บริการด้านสุขภาพได้อย่างแท้จริง
คำสำคัญ
ทิศทางการขับเคลื่อนร้านยา, การจัดการ ควบคุม กำกับร้านยาให้เป็นไปตามกฎหมายที่เกี่ยวข้อง, การพัฒนาศักยภาพร้านยาในทุกมิติ