ศูนย์การศึกษาต่อเนื่องฯ จะส่งข้อมูลแจ้งเตือนสมาชิก ผ่านช่องทาง sms และ email ในวันที่ 5 ธ.ค. 2567 และ 19 ธ.ค. 2567

บทความวิชาการ
การใช้ยาคุมอัตราการเต้นของหัวใจห้องล่างในผู้ป่วย Atrial Fibrillation ระยะเฉียบพลัน
ชื่อบทความ การใช้ยาคุมอัตราการเต้นของหัวใจห้องล่างในผู้ป่วย Atrial Fibrillation ระยะเฉียบพลัน
ผู้เขียนบทความ รองศาสตราจารย์ ดร.เภสัชกรอรัมษ์ เจษฎาญานเมธา
สถาบันหลัก คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
รหัสกิจกรรม 1017-1-000-001-04-2561
ผู้ผลิตบทความ คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
การเผยแพร่บทความ ผู้ประกอบวิชาชีพทุกคน 
วันที่ได้รับการรับรอง 11 เม.ย. 2561
วันที่หมดอายุ 10 เม.ย. 2562
หน่วยกิตการศึกษาต่อเนื่อง 3 หน่วยกิต
บทคัดย่อ
การดูแลผู้ป่วย atrial fibrillation (AF) มีจุดมุ่งหมายสำคัญเพื่อลดอัตราการเสียชีวิตและทุพพลภาพจากภาวะแทรกซ้อนของ AF อีกทั้งป้องกันและบรรเทาอาการที่อาจเกิดขึ้นกับผู้ป่วย เพื่อให้ผู้ป่วยสามารถดำรงชีวิตได้เป็นปกติและมีคุณภาพชีวิตที่ดี เมื่อผู้ป่วยที่อยู่ใน sinus rhythm เกิดภาวะ AF ขึ้นอย่างเฉียบพลัน สัญญาณไฟฟ้าที่เกิดขึ้นจำนวนมากภายในหัวใจห้องบนจะถูกนำส่งผ่าน atrioventricular (AV) node มายังหัวใจห้องล่าง ทำให้หัวใจห้องล่างถูกกระตุ้นและบีบตัวด้วยอัตราเร็วที่มากกว่าเมื่ออยู่ใน sinus rhythm หากผู้ป่วยเกิดภาวะ AF เฉียบพลันและมีอาการรุนแรงที่อาจทำให้เกิดภาวะแทรกซ้อนหรือเสียชีวิต ควรหยุดภาวะ AF ที่เกิดขึ้นทันทีโดยการทำ electrical cardioversion แต่ผู้ป่วยที่ไม่มีอาการหรือมีอาการเพียงเล็กน้อย สามารถให้ยาชะลอการนำส่งสัญญาณไฟฟ้าผ่าน AV node โดยยาที่แนะนำให้ใช้ก่อนเนื่องจากมีประสิทธิภาพดี คือ ยากลุ่ม beta-blockers หรือ nondihydropyridine calcium channel blockers สำหรับยา digoxin ออกฤทธิ์ช้า แต่มักเลือกใช้ในผู้ป่วย AF ที่มี left ventricular dysfunction, เกิดภาวะหัวใจล้มเหลวเฉียบพลันร่วมด้วย หรือ ภาวะความดันโลหิตต่ำ สำหรับยา amiodarone มักใช้ในในผู้ป่วยที่มี left ventricular dysfunction หรือ เมื่อยาอื่นๆ ไม่สามารถคุมอัตราการเต้นของหัวใจได้อย่างเพียงพอ สำหรับผู้ป่วย Wolff-Parkinson-White กลุ่มยาที่ออกฤทธิ์ยังยั้งการทำงานของ AV node รวมทั้ง amiodarone เป็นยาที่ไม่แนะนำให้ใช้ เนื่องจากเพิ่มการนำไฟฟ้าผ่าน accessory conduction pathway และทำให้เกิด ventricular fibrillation ได้
คำสำคัญ
Atrial fibrillation; Amiodarone; Beta-blocker; Calcium channel antagonist; Ventricular rate control