ศูนย์การศึกษาต่อเนื่องฯ จะส่ง sms และ email แจ้งเตือนสมาชิกผู้ที่มีหน่วยกิตไม่ครบเกณฑ์ ครั้งต่อไปในวันที่ 11 มิถุนายน 2568

การประชุมวิชาการ
Decontamination, Cleaning, Sampling and Monitoring for Life Science Facilities
ชื่อการประชุม Decontamination, Cleaning, Sampling and Monitoring for Life Science Facilities
สถาบันหลัก สมาคมเภสัชกรอุตสาหการ (ประเทศไทย)
รหัสกิจกรรม 2004-2-000-002-02-2566
สถานที่จัดการประชุม ห้องออร์คิด 1 โรงแรมแอมบาสซาเดอร์ สุขุมวิท 11 กรุงเทพฯ
วันที่จัดการประชุม 16 ก.พ. 2566
ผู้จัดการประชุม สมาคมเภสัชกรอุตสาหการ (ประเทศไทย)
กลุ่มเป้าหมาย ฝ่ายประกันคุณภาพ ควบคุมคุณภาพ ผลิต วิศวกรรม ผู้ตรวจประเมินระบบคุณภาพ / GMP และผู้สนใจทั่วไป ในการผลิตยาปราศจากเชื้อ และชีววัตถุ
หน่วยกิตการศึกษาต่อเนื่อง 5.25 หน่วยกิต
หลักการและเหตุผล
การผลิตยาปราศจากเชื้อ รวมถึงยาชีววัตถุ ตาม GMP มีข้อกำหนดพิเศษเพิ่มเติมจากการผลิตยาไม่ปราศจากเชื้อ ซึ่งกำหนดรายละเอียดในภาคผนวก 1 การผลิตยาปราศจากเชื้อ ( annex 1 manufacture of sterile medicinal products ) ตามประกาศกระทรวงกระทรวงสาธารณสุขเรื่องการกำหนดรายละเอียดเกี่ยวกับหลักเกณฑ์และวิธีกีในการผลิตยาแผนปัจจุบันและแก้ไขเพิ่มเติมหลักเกณฑ์และวิธีการในการผลิตยาแผนโบราณ ตามกฎหมายว่าด้วยยา พ.ศ.2559 เพื่อให้มีความเสี่ยงน้อยที่สุดจากการปนเปื้อนของจุลินทรีย์ อนุภาค และไพโรเจน โดยต้องเน้นทักษะ การฝึกอบและทัศนคติที่ถูกต้องของบุคลากรที่เกี่ยวข้อง เคร่งครัดตามวิธีการปฏิบัติที่กำหนดไว้ซึ่งผ่านการตรวจสอบความถูกต้องแล้ว กระบวนการทุกขั้นตอนมีความสำคัญตั้งแต่การออกแบบ การควบคุม และการตรวจติดตาม(monitoring ) เพื่อธำรงไว้ซึ่งความสม่ำเสมอของคุณภาพยาที่ผลิต การป้องกันปนการเปื้อนจากอนุภาค จุลินทรีย์ และไพโรเจน เริ่มตั้งการออกแบบระบบสนับสนุนการผลิต เครื่องมือ และกระบวนการในการควบคุมการปนเปื้อน โดยเฉพาะการปนเปื้อน อนุภาค และจุลินทรีย์ ไพโรเจน ในผลิตภัณฑ์ยา
ห้องปฏิบัติการที่ตรวจสอบ ทดสอบความปราศจากเชื้อ ( sterility test ) หรือ pyrogen ก็มีควาสำคัญที่จะต้องควบคุมความสะอาด เพื่อป้องกันการปนเปื้อนระหว่างปฏิบัติการซึ่งจะส่งผลต่อการตรวจสอบ ทดสอบได้
ผู้ผลิตจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องมีกระบวนการขจัดเชื้อสิ่งปนเปื้อน การทำความสะอาดที่ถูกวิธี การตรวจสอบและการตรวจติดตาม เพื่อให้มั่นใจว่ามีมาตรการที่สามารถควบคุมการปนเปื้อนได้ตามที่กำหนดไว้
วัตถุประสงค์
• เพื่อเรียนรู้การขจัดสิ่งปนเปื้อน ด้วย Hydrogen peroxide
• เพื่อเรียนรู้ การทำความสะอาด และ sanitization ของcleanroom ตามแนวทางของ Institute of Environmental Sciences and Technology (IEST-RP-CC018: Cleanroom Cleaning and Sanitization: Operating and Monitoring Procedures)
• เพื่อเรียนรู้การตรวจสอบความถูกต้องของการทำความสะอาดบริเวณผลิตยาปราศจากเชื้อ
• เพื่อเรียนรู้ระบบการตรวจติดตาม ( facility monitoring) และการแก้ปัญหา
คำสำคัญ
Decontamination, Cleaning, Sampling, Monitoring
วิธีสมัครการประชุม
สมัครออนไลน์ได้ที่ http://tipa.or.th/tipa/register/ เภสัชกรที่เข้าร่วมประชุมวิชาการครั้งนี้ จะได้ 5.25 หน่วยกิตการศึกษาต่อเนื่อง สมาชิกสมาคมเภสัชกรอุตสาหการ(ประเทศไทย) ลงทะเบียนโดยไม่มีค่าใช้จ่าย