ชื่อการประชุม |
|
งานประชุมใหญ่ประจำปีชมรมเภสัชกรชุมชนจังหวัดภูเก็ต 2565 |
สถาบันหลัก |
|
คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ |
รหัสกิจกรรม |
|
1004-2-000-021-11-2565 |
สถานที่จัดการประชุม |
|
โรงแรมเพิร์ล จ.ภูเก็ต |
วันที่จัดการประชุม |
|
20 พ.ย. 2565 |
ผู้จัดการประชุม |
|
คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ |
กลุ่มเป้าหมาย |
|
เภสัชกรชุมชนจังหวัดภูเก็ต และเภสัชกรที่สนใจ |
หน่วยกิตการศึกษาต่อเนื่อง |
|
2 หน่วยกิต |
หลักการและเหตุผล
เนื่องด้วยโรคฝีดาษวานรเป็นโรคที่พบการระบาดทั่วโลกรวมถึงประเทศไทย ซึ่งเริ่มจากคนรับเชื้อมาจากสัตว์ แล้วติดต่อกันจากคนสู่คนอีกที โดยจะเกิดจากการสัมผัสกับสารคัดหลั่งจากทางเดินหายใจ หรือสัมผัสกับวัตถุที่ปนเปื้อนเชื้อ เช่น ผ้าปูที่นอน หรือรอยโรคที่ผิวหนัง เช่น ผื่นที่ผิวหนัง อาการที่พบได้คือ ไข้ และมีผื่นภายใน 1-3 วันหลังมีไข้ โดยตุ่มผื่นมักขึ้นหนาแน่นบนใบหน้า ตามแขนและขา นอกจากนี้ยังพบผื่นที่เยื่อบุช่องปาก ที่อวัยวะเพศ เยื่อบุตา และกระจกตา ปัจจุบันพบว่าประชาชนยังคงมีข้อมูลความรู้ในเรื่องโรคฝีดาษวานรค่อนข้างน้อย ทางชมรมเภสัชกรชุมชนตระหนักและเห็นถึงความสำคัญของโรคฝีดาษวานร จึงมีการจัดบรรยายวิชาการโรคฝีดาษวานร เพื่อให้เภสัชกรชุมชนสามารถให้ความรู้ หรือคำแนะนำ เพื่อเพิ่มการรับรู้ปัจจัยเสี่ยง และการป้องกันเพื่อลดความเสี่ยงได้รับเชื้อให้กับประชาชนที่เข้ามาในร้านยา
และเพื่อคุ้มครองความปลอดภัยด้านยาแก่ผู้บริโภคทางชมรมเภสัชกรชุมชน ได้จัดบรรยายวิชาการเรื่องวิธีปฏิบัติทางเภสัชกรรมชุมชน : Good pharmacy practice (GPP) คือมาตราฐานของการบริการที่ดีทางเภสัชกรรม ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ ที่ทางสภาเภสัชกรรมเป็นผู้กำหนด เพื่อช่วยยกระดับมาตรฐานร้านขายยาให้ดียิ่งขึ้น และเป็นไปในแนวทางเดียวกัน และทำให้เห็นบทบาทที่ชัดเจนของบุคลากรภายในร้าน ทำให้คนไข้เชื่อมั่นในมาตรฐานร้านขายยามากขึ้น ว่าจะได้รับการดูแลที่ถูกต้อง
วัตถุประสงค์
1.เข้าใจและทราบถึงโรค การส่งต่อผู้ป่วย และการใช้ยาที่ถูกต้อง
2.สามารถนำความรู้ไปใช้ให้เกิดประโยชน์กับผู้อื่น หรือให้คำแนะนำกับผู้อื่นได้
3.ทราบถึงการปฏิบัติสู่หลักเกณฑ์ GPP
คำสำคัญ
ฝีดาษวานร ร้านยา เภสัชกร GPP