ศูนย์การศึกษาต่อเนื่องฯ จะส่งข้อมูลแจ้งเตือนสมาชิก ผ่านช่องทาง sms และ email ในวันที่ 5 ธ.ค. 2567 และ 19 ธ.ค. 2567

การประชุมวิชาการ
การประชุมวิชาการเภสัชกรรม โรงพยาบาลสงขลานครินทร์ ครั้งที่ 14 “Current Concept of Nutrition Supplements: Implications for Clinical Practice”
ชื่อการประชุม การประชุมวิชาการเภสัชกรรม โรงพยาบาลสงขลานครินทร์ ครั้งที่ 14 “Current Concept of Nutrition Supplements: Implications for Clinical Practice”
สถาบันหลัก คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
รหัสกิจกรรม 1004-2-000-020-11-2565
สถานที่จัดการประชุม โรงแรมอัญญาวี ทับแขก บีช รีสอร์ท อ.เมือง จ.กระบี่
วันที่จัดการประชุม 26 -27 พ.ย. 2565
ผู้จัดการประชุม คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
กลุ่มเป้าหมาย เภสัชกรทั่วไป
หน่วยกิตการศึกษาต่อเนื่อง 5 หน่วยกิต
หลักการและเหตุผล
หลังจากโลก เผชิญกับอุบัติการณ์โรคติดเชื้อ โคโรนาไวรัส 2019 ทำให้ประชาชนมีความตื่นตัวในการดูแลสุขภาพและหันมาใส่ใจในการรับประทานอาหารและตระหนักถึงการดูแลสุขภาพของตนเองมากยิ่งขึ้น อีกทั้งมีการเลือกใช้วิตามินและอาหารเสริมดูแลสุขภาพแบบองค์รวม ซึ่งปัจจุบันมีงานวิจัยต่างๆตีพิมพ์ออกมาว่า การนำโภชนเภสัช (Nutraceutical) มาช่วยเสริมสร้างภูมิคุ้มกัน (Immune booster) มีส่วนสำคัญในการต่อสู้ต้านทานกับโรคภัยไข้เจ็บ ถ้ามีภูมิคุ้มกันที่ดีก็สามารถขจัดเชื้อโรคที่เข้าสู่ร่างกายและควบคุมโรคที่กำลังก่อตัวไม่ให้ลุกลามจนเกิดการเจ็บป่วยขึ้นมาได้ ทำให้บุคลากรทางการแพทย์ หันมาให้ความสำคัญและมีแนวคิดที่จะนำโภชนเภสัช (Nutraceutical) สารอาหาร (Nutrients) วิตามินและเกลือแร่ (Vitamins and Minerals) รวมถึงโพรไบโอติกส์ (probiotics) และพรีไบโอติกส์ (prebiotics) มาใช้ในการรักษาอาการของโรคต่างๆมากขึ้น
โภชนเภสัช (Nutraceutical) คือ สารอาหารต่างๆที่อยู่ในอาหาร หรือส่วนประกอบของอาหาร ซึ่งมีสรรพคุณที่ป็นประโยชน์ต่อสุขภาพ รวมถึงประโยชน์ทางด้านยา การป้องกันและรักษาโรค อีกทั้งช่วยในด้านการชะลอความชรา ซึ่งโภชนเภสัช (Nutraceutical) สามารถพบได้ในอาหารทั่วไปที่มนุษย์รับประทานตามปกติ หรือในรูปแบบผลิตภัณฑ์เสริมอาหารในท้องตลาดปัจจุบัน
เภสัชกรซึ่งเป็นหนึ่งในทีมสหสาขาวิชาชีพด้านสุขภาพ เป็นผู้เชี่ยวชาญด้านยา จึงมีส่วนสำคัญในการให้ความรู้ แนะนำวิธีการใช้โภชนเภสัช (Nutraceutical) สารอาหาร (Nutrients) วิตามินและเกลือแร่ (Vitamins and Minerals) รวมถึงโพรไบโอติกส์ (probiotics) และพรีไบโอติกส์ (prebiotics) อย่างเหมาะสม นำความรู้และทักษะของเภสัชกรโรงพยาบาลในการบริบาลเภสัชกรรม ได้แก่ การเฝ้าระวังและป้องกันความคลาดเคลื่อนทางโภชนเภสัช การติดตามและให้คำแนะนำด้านสารอาหาร วิตามิน เกลือแร่ รวมทั้งการดูแลสุขภาพองค์รวมอย่างทันท่วงที สามารถเป็นส่วนหนึ่งที่ช่วยเพิ่มประสิทธิผลการรักษาผู้ป่วยด้วยโภชนเภสัช รวมทั้งมีส่วนร่วมแก้ไขปัญหาทางสุขภาพในระยะยาว ปรับพฤติกรรมการดูแลสุขภาพแบบองค์รวมให้แก่ผู้มีปัญหาทางสุขภาพได้
วัตถุประสงค์
1. เพื่อเผยแพร่องค์ความรู้ในปัจจุบันเกี่ยวกับโภชนเภสัช สารอาหาร วิตามินและเกลือแร่ ในการให้บริบาลทางเภสัชกรรมแก่เภสัชกรโรงพยาบาล
2. เพื่อแลกเปลี่ยนความคิดเห็นและประสบการณ์ในการให้บริบาลทางเภสัชกรรมทางด้านโภชนเภสัช สารอาหาร วิตามินและเกลือแร่ ในการดูแลผู้ป่วย
3. เพื่อส่งเสริมการพัฒนาศักยภาพของเภสัชกรโรงพยาบาลให้มีความรู้และทักษะที่จำเป็นด้านโภชนเภสัช ในการให้บริบาลทางเภสัชกรรมสำหรับผู้ป่วย สามารถนำความรู้ไปใช้ในการปฏิบัติงาน
คำสำคัญ
Vitamins and Minerals, Nutrients, Nutraceutical, Prebiotics, Probiotics