การประชุมวิชาการเภสัชกรรม โรงพยาบาลสงขลานครินทร์ ครั้งที่ 13 “Understanding Psychopharmacology of Affective Disorders to Improve Treatment Outcomes in the Post pandermic Era”
ชื่อการประชุม |
|
การประชุมวิชาการเภสัชกรรม โรงพยาบาลสงขลานครินทร์ ครั้งที่ 13 “Understanding Psychopharmacology of Affective Disorders to Improve Treatment Outcomes in the Post pandermic Era” |
สถาบันหลัก |
|
คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ |
รหัสกิจกรรม |
|
1004-2-000-019-10-2565 |
สถานที่จัดการประชุม |
|
โรงแรม แกรนด์วิว-แลนด์มาร์ค อ.เบตง จ.ยะลา |
วันที่จัดการประชุม |
|
29 ต.ค. 2565 |
ผู้จัดการประชุม |
|
คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ |
กลุ่มเป้าหมาย |
|
เภสัชกรทั่วไป |
หน่วยกิตการศึกษาต่อเนื่อง |
|
4.5 หน่วยกิต |
หลักการและเหตุผล
ตั้งแต่ปี ค.ศ. 2020 เป็นต้นมา ได้เกิดเหตุการณ์และความเปลี่ยนแปลงหลายอย่าง ไม่ว่าจะเป็นการแพร่ระบาดของโรคโควิค-19 ที่ส่งผลให้ชีวิตประจำวันเปลี่ยนไป , New Norm ที่ทำให้พฤติกรรมของคนเปลี่ยนแปลงไป การเข้ามาของคน Generation ใหม่ๆที่ได้นำเอาความคิดใหม่ๆ และวัฒนธรรมการทำงานรูปแบบใหม่ๆ เข้ามาด้วย รวมถึงความก้าวหน้าของเทคโนโลยีและเทรนด์ใหม่ๆ ที่ได้เข้ามา Disruption ธุรกิจบางแห่ง และเกิดการ Transformation ของบางองค์กร ผู้คนในสังคมจึงต้องมีการปรับตัวอย่างมีประสิทธิภาพ เท่าทันเทคโนโลยีและสังคมที่มีการเปลี่ยนแปลงตลอดเวลา ต้องพัฒนาความรู้มีการคิดวิเคราะห์ข้อมูลข่าวสาร ใช้สติปัญญาในการรับรู้ยอมรับความแตกต่างของบุคคล วัฒนธรรมที่มีความหลากหลาย การใช้ข้อมูลสารสนเทศเพื่อการตัดสินใจได้อย่างถูกต้องเท่าทันสถานการณ์ หากไม่สามารถควบคุมตนเอง และมีปฏิกริยาโต้ตอบที่ไม่รู้กาลเทศะ ไร้มารยาท ขาดความรับผิดชอบต่อการกระทําของตนก็ย่อมนําไปสู่การละเมิดสิทธิของผู้อื่น เกิดปัญหาทางสุขภาพจิต รวมถึงปัญหาทางกฎหมายที่อาจนําไปสู่ความเดือดร้อนของคนในสังคมวงกว้าง
สำหรับปัญหาทางสุขภาพจิตและโรคทางจิตเวช จัดเป็นปัญหาทางสาธารณสุขในระดับนานาชาติที่มีความสำคัญอย่างยิ่งในปัจจุบัน ซึ่งรัฐบาลได้ตระหนักถึงความสำคัญของปัญหาทางสุขภาพจิต ได้มีการพัฒนาหน่วยงานให้บริการทางสุขภาพจิตอย่างต่อเนื่อง รวมถึงได้มีการบรรจุดัชนีชี้วัดด้านสุขภาพจิตเข้าเป็นหนึ่งในดัชนีชี้วัดด้านสาธารณสุขในแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ตั้งแต่ฉบับที่ 5 ในปี พ.ศ. 2525 ในปัจจุบันประชากรไทยมีแนวโน้มเจ็บป่วยด้วยปัญหาทางจิตเวชและสุขภาพจิตเพิ่มมากขึ้น ดังจะเห็นได้จากรายงานการศึกษาสุขภาพจิตของประชากรไทยในปี 2557 ที่พบว่าปัญหาทางสุขภาพจิตของประชากรไทยที่พบบ่อยประกอบด้วย โรคจิต , โรควิตกกังวล , โรคซึมเศร้า , และผู้ติดสารเสพติด ซึ่งพบได้ถึงร้อยละ 25 , 19.22 , 11.14 และ 9.08 ของประชากร ตามลำดับ
จากข้อจำกัดด้านบุคลากรและทรัพยากรด้านสุขภาพจิตที่มีอยู่ในปัจจุบันทำให้ผู้ป่วยที่ได้รับความช่วยเหลือและการรักษาด้านสุขภาพจิตมีสัดส่วนน้อยเมื่อเปรียบเทียบกับอัตราผู้มีปัญหาในประเทศดังจะเห็นได้จากรายงานของกรมสุขภาพจิต ในปี พ.ศ. 2557 พบว่ามีผู้ป่วยเข้ารับบริการทางจิตเวชและสุขภาพจิตทั้งสิ้น 1,674,388 ราย ซึ่งเทียบกับจำนวนประชากรในปีนั้น 65.4 ล้านคน คิดเป็นเพียงร้อยละ 2.56 ซึ่งยังคงต่ำกว่าจำนวนผู้มีปัญหาทางสุขภาพจิตที่สมควรได้รับการบริการการตรวจรักษา เภสัชกรซึ่งเป็นหนึ่งในทีมสหสาขาวิชาชีพด้านสุขภาพเป็นผู้เชี่ยวชาญด้านยา จึงมีส่วนสำคัญในการเฝ้าระวังและป้องกันความคลาดเคลื่อนทางยา ลดปัญหาที่เกิดจากยา ดังนั้นความรู้และทักษะของเภสัชกรโรงพยาบาลในการบริบาลเภสัชกรรม ได้แก่ การติดตามและให้คำแนะนำด้านยารวมทั้งการดูแลสุขภาพอย่างทันท่วงที สามารถเป็นส่วนหนึ่งที่ช่วยเพิ่มประสิทธิผลการรักษาในผู้ป่วยจิตเวช รวมทั้งมีส่วนร่วมแก้ไขปัญหาทางสุขภาพในระยะยาวแก่ผู้มีปัญหาทางสุขภาพจิต
วัตถุประสงค์
1. เพื่อเผยแพร่องค์ความรู้และทักษะที่จำเป็นในการให้บริบาลทางเภสัชกรรมสำหรับผู้ป่วยจิตเวชแก่เภสัชกรโรงพยาบาล
2. เพื่อแลกเปลี่ยนความคิดเห็นและประสบการณ์ในการให้บริบาลทางเภสัชกรรมสำหรับผู้ป่วยจิตเวช
3. เพื่อส่งเสริมการพัฒนาศักยภาพของเภสัชกรโรงพยาบาลให้มีความรู้และทักษะที่จำเป็นในการให้บริบาลทางเภสัชกรรมสำหรับผู้ป่วยจิตเวช สามารถนำความรู้ไปใช้ในการปฏิบัติงาน
คำสำคัญ
Psychopharmacology, Psychiatric Disorder, Depression, Anxiety Disorder