ศูนย์การศึกษาต่อเนื่องฯ จะส่งข้อมูลแจ้งเตือนสมาชิก ผ่านช่องทาง sms และ email ในวันที่ 5 ธ.ค. 2567 และ 19 ธ.ค. 2567

บทความวิชาการ
กลไกการออกฤทธิ์ต่อจิตประสาทของโปรไบโอติกส์และผลดีต่อสุขภาพจิต Mechanisms of neuropsychological effects of probiotics and beneficial effects on mental health
ชื่อบทความ กลไกการออกฤทธิ์ต่อจิตประสาทของโปรไบโอติกส์และผลดีต่อสุขภาพจิต Mechanisms of neuropsychological effects of probiotics and beneficial effects on mental health
ผู้เขียนบทความ ปวริศ วงษ์ประยูร
สถาบันหลัก คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร
รหัสกิจกรรม 1006-1-000-001-01-2561
ผู้ผลิตบทความ คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร
การเผยแพร่บทความ ผู้ประกอบวิชาชีพทุกคน 
วันที่ได้รับการรับรอง 03 ม.ค. 2561
วันที่หมดอายุ 02 ม.ค. 2562
หน่วยกิตการศึกษาต่อเนื่อง 2.5 หน่วยกิต
บทคัดย่อ
โปรไบโอติกส์ หมายถึง จุลชีพมีชีวิตซึ่งเมื่อรับประทานในปริมาณที่เหมาะสมแล้วก่อให้เกิดผลดีต่อสุขภาพ โปรไบโอติกส์ถูกใช้อย่างแพร่หลายในการป้องกันและรักษาอาการในโรคต่าง ๆ ทั้งโรคในระบบทางเดินอาหารและโรคในระบบอื่น ๆ ปัจจุบันมีหลักฐานบ่งชี้ว่า การรับประทานโปรไบโอติกส์ส่งผลดีต่อสุขภาพจิต โดยมีผลลดความเครียด ภาวะวิตกกังวลและภาวะซึมเศร้า ทั้งในสัตว์ทดลองและในมนุษย์ ซึ่งมีการศึกษายืนยันว่า ผลดังกล่าวเกิดจากการสื่อสารระหว่างจุลชีพในทางเดินอาหาร (gut microbiota) ระบบทางเดินอาหารและสมอง ผ่านกลไกต่าง ๆ เช่น ระบบประสาทเอนเทอริก, Hypothalamus-pituitary-adrenal (HPA) axis, ระบบประสาทอัตโนมัติ, เมแทบอไลต์ของจุลชีพ และการกระตุ้นระบบภูมิคุ้มกัน ความเข้าใจเกี่ยวกับกลไกออกฤทธิ์ต่อจิตประสาทของโปรไบโอติกส์อาจนำไปสู่แนวทางการป้องกันและรักษาโรคทางจิตเวชที่เป็นปัญหาสุขภาพสำคัญในปัจจุบัน Probiotics are defined as live organisms which, when ingested in adequate amounts, produce a health benefit to individuals. Probiotics have been widely used for prevention and relief of many symptoms related to gastrointestinal diseases and others. Recently, several lines of evidence demonstrate that ingestion of probiotics confers mental health benefit by reducing stress, anxiety, and depression in animal models and in human. Many studies demonstrated that those effects may result from communication between gut microbiota, gastrointestinal tract and the brain through multiple mechanisms such as enteric nervous system, hypothalamus-pituitary-adrenal (HPA) axis, microbial metabolites and immunomodulation. Understanding mechanisms by which probiotics exert their neuropsychological effects may lead to therapeutic approaches on mental disorders that are currently major health problems.
คำสำคัญ
โปรไบโอติกส์, ฤทธิ์ต่อจิตประสาท, เครียด, ซึมเศร้า