ศูนย์การศึกษาต่อเนื่องฯ จะส่งข้อมูลแจ้งเตือนสมาชิก ผ่านช่องทาง sms และ email ในวันที่ 5 ธ.ค. 2567 และ 19 ธ.ค. 2567

บทความวิชาการ
แนวทางการผลิตยาเตรียมปราศจากเชื้อในโรงพยาบาลตาม ASHP Guidelines on Compounding Sterile Preparations
ชื่อบทความ แนวทางการผลิตยาเตรียมปราศจากเชื้อในโรงพยาบาลตาม ASHP Guidelines on Compounding Sterile Preparations
ผู้เขียนบทความ ดร.ภก.กฤษณ์ สุขนันทร์ธะ และ ภญ.เปญจมาภรณ์ อภิรมย์รักษ์
สถาบันหลัก คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
รหัสกิจกรรม 1004-1-000-004-12-2560
ผู้ผลิตบทความ คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
การเผยแพร่บทความ ผู้ประกอบวิชาชีพทุกคน 
วันที่ได้รับการรับรอง 27 ธ.ค. 2560
วันที่หมดอายุ 26 ธ.ค. 2561
หน่วยกิตการศึกษาต่อเนื่อง 3.5 หน่วยกิต
บทคัดย่อ
การผสมหรือเตรียมยาเป็นทักษะพื้นฐานที่สำคัญของการปฏิบัติทางเภสัชกรรม ผู้ที่เตรียมยาซึ่งได้แก่เภสัชกร และผู้ช่วยนั้นมีความรับผิดชอบในการผลิตและจ่ายผลิตภัณฑ์ปราศจากเชื้อนั้นให้มีความถูกต้องทั้งในส่วนของการใช้วัตถุดิบที่ถูกต้อง ความบริสุทธิ์ (ปราศจากการปนเปื้อนทางกายภาพเช่นการตกตะกอน และสิ่งปนเปื้อนทางเคมี) ขนาดยา (รวมถึงความคงตัวและความเข้ากันได้ของตำรับ) และการทำให้ปราศจากเชื้อรวมถึงการจ่ายผลิตภัณฑ์ปราศจากเชื้อด้วยบรรจุภัณฑ์ที่เหมาะสมซึ่งมีการปิดฉลากอย่างถูกต้องและครบถ้วนเพื่อให้ผู้ใช้ผลิตภัณฑ์ปราศจากเชื้อมีความปลอดภัย หน่วยงานหรือองค์กรที่ดูแลด้านสุขภาพในปัจจุบันนั้นมีการให้บริการแก่ผู้ป่วยโดยผู้ป่วยจะได้รับผลิตภัณฑ์ปราศจากเชื้อ (CSPs; compounded sterile preparations) ซึ่งมีการเก็บรักษาเอาไว้เป็นระยะเวลาหนึ่งก่อนที่จะมีการจ่ายไปยังผู้ใช้ เป็นเรื่องที่ทราบกันอยู่แล้วว่าการเก็บ CSPs ไว้เป็นระยะเวลานานๆอาจทำให้เกิดการเติบโตของเชื้อก่อโรค ซึ่งอาจทำให้ผู้ป่วยเกิดอันตรายต่างๆโดยอาจถึงแก่ชีวิตได้โดยเป็นผลมาจากการปนเปื้อนหรือการเตรียมยาปราศจากเชื้อด้วยวิธีการที่ไม่เหมาะสม ดังนั้นหากการควบคุมคุณภาพมีไม่เพียงพอ บุคลากรที่ผลิตยาปราศจากเชื้อก็อาจจะไม่ทราบว่าผลิตภัณฑ์ที่จ่ายออกไปนั้นไม่มีคุณภาพและมีการปนเปื้อนเกิดขึ้น เอกสารแนวทางในการผลิตยาปราศจากเชื้อนี้จึงมีวัตถุประสงค์เพื่อให้ผู้ที่ทำหน้าที่เตรียมยาปราศจากเชื้อสามารถเตรียมผลิตภัณฑ์ปราศจากเชื้อได้อย่างมีคุณภาพที่ดี และลดโอกาสที่ผู้ป่วยจะได้รับอันตรายจากการใช้ผลิตภัณฑ์ปราศจากเชื้อ ซึ่งก็จะเป็นประโยชน์ต่อผู้เตรียมยาด้วยเช่นกัน โดยแนวทางในการผลิตยาปราศจากเชื้อฉบับนี้สามารถนำไปใช้ได้สำหรับบุคลากรทุกท่านในการเตรียมผลิตภัณฑ์ปราศจากเชื้อ รวมถึงโรงงานที่ผลิตผลิตภัณฑ์ปราศจากเชื้อ นอกจากนี้เภสัชกร และผู้เชี่ยวชาญทางด้านสุขภาพที่มีหน้าที่ในการเตรียม คัดเลือก และใช้ผลิตภัณฑ์ปราศจากเชื้อมีความจำเป็นอย่างยิ่งยวดที่จะต้องใช้ดุลยพินิจในการตีความและประยุกต์ใช้แนวทางในเอกสารฉบับนี้ให้เหมาะสมกับสถานการณ์ต่างๆ ผู้ที่ใช้แนวทางในเอกสารฉบับนี้ในการปฏิบัติงานต่างๆต้องพึงระวังเนื่องจากข้อมูลต่างๆที่ปรากฏในเอกสารนี้เป็นข้อมูล ณ วันที่ได้รับการตีพิมพ์ ดังนั้นจึงควรติดตามเอกสารแนวทางในการผลิตยาปราศจากเชื้อฉบับปัจจุบัน นอกจากนี้ควรต้องศึกษาข้อบังคับหรือกฎระเบียบในปัจจุบัน เช่นกฎหมาย ระเบียบข้อบังคับ ซึ่งรวมไปถึง USP compendial standards เพื่อเป็นการรับประกันว่าผู้ป่วยจะมีความปลอดภัยในการใช้ผลิตภัณฑ์ปราศจากเชื้อโดยไม่ขัดต่อระเบียบและข้อกฎหมาย
คำสำคัญ
ยาเตรียมปราศจากเชื้อ, การผลิตยาในโรงพยาบาล, หลักเกณฑ์การเตรียมยาปราศจากเชื้อ
วิธีสมัครสมาชิก
ขณะนี้ทางหน่วยงานเปิดให้ทุกท่านสามารถดาวน์โหลดและเริ่มทำแบบทดสอบได้โดยไม่จำกัดสิทธิ์แก่สมาชิก และในปีใหม่นี้ เตรียมพบกับ web site ศูนย์การศึกษาต่อเนื่องทางเภสัชศาสตร์ คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ ในรูปแบบใหม่ได้ที่ http://cpe.pharmacy.psu.ac.th/ เพียงแค่สมัครสมาชิกกับทางเรา ท่านสามารถอ่านและทำแบบทดสอบบทความทางวิชาการ ตลอดจนติดตามข้อมูลข่าวสารงานประชุมของทางหน่วยงานได้เลย (ฟรี ไม่มีค่าใช้จ่ายใด ๆ ทั้งสิ้น) เปิดรับสมาชิกใหม่ในเร็วๆ นี้ โปรดติดตามข่าวสารได้จากทางหน้า web site ดังกล่าวนะคะ