โครงการประชุมพัฒนาอาจารย์ด้านเภสัชศาสตร์สังคมและการบริหาร 2565 SAP (Social and Administrative Pharmacy) Instructors Capacity Building Workshop: Learn To Unlearn
ชื่อการประชุม |
|
โครงการประชุมพัฒนาอาจารย์ด้านเภสัชศาสตร์สังคมและการบริหาร 2565 SAP (Social and Administrative Pharmacy) Instructors Capacity Building Workshop: Learn To Unlearn |
สถาบันหลัก |
|
คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ |
รหัสกิจกรรม |
|
1004-2-000-010-05-2565 |
สถานที่จัดการประชุม |
|
โรงแรมม่อนคำ วิลเลจ Monkham Village Hatyai อ.หาดใหญ่ จ.สงขลา |
วันที่จัดการประชุม |
|
22 -23 พ.ค. 2565 |
ผู้จัดการประชุม |
|
คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ |
กลุ่มเป้าหมาย |
|
อาจารย์ นักวิจัย ในสาขาเภสัชศาสตร์สังคม และการบริหาร จำนวน 25 คน |
หน่วยกิตการศึกษาต่อเนื่อง |
|
12 หน่วยกิต |
หลักการและเหตุผล
ในทศวรรษที่ผ่านมาโลกได้มีการเปลี่ยนแปลงต่างๆ เกิดขึ้นอย่างรวดเร็ว ฉับพลัน หลายๆ การเปลี่ยนแปลงเป็นสิ่งที่ไม่อาจคาดเดา และยังไม่เคยมีองค์ความรู้ในการจัดการ รับมือกับสถานการณ์ที่เกิดขึ้นมาก่อน ดังจะเห็นจากสถานการณ์โรคระบาด COVID-19 ระบบยาและสุขภาพจึงต้องมีการเปลี่ยนแปลงอย่างต่อเนื่องเพื่อรับมือกับสถานการณ์การเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้น หลายๆ สถานการณ์เป็นผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจากวิวัฒนาการของปฏิสัมพันธ์จากปัจจัยต่างๆ ทั้งที่เกิดขึ้นโดยธรรมชาติ เช่น ภัยธรรมชาติ โรคระบาด สังคมผู้สูงอายุ และที่เกิดขึ้นจากการพัฒนาของมนุษย์ทั้งทางเศรษฐกิจ สังคม เทคโนโลยี ผ่านระยะเวลายาวนาน ปรากฎการณ์ปัญหาต่างๆ ที่เกิดขึ้นจึงมีความทรับซ้อนจนไม่สามารถบ่งชี้ถึงสาเหตุของปัญหาได้อย่างชัดเจน หรืออาจไม่สามารถหาสาเหตุของปัญหา เพื่อแก้ปัญหาตามกระบวนการตามองค์ความรู้เดิมที่มีได้
การรับมือกับปรากฎการณ์ปัญหาที่ทรับซ้อนในปัจจุบันจึงไม่อาจใช้วิธีคิดเดิมที่ก่อให้เกิดปัญหา อย่างไรก็ตาม การถูกปลูกฝัง เรียนรู้ด้วยวิธีคิดแบบเดิมซึ่งก่อให้เกิดปัญหามาตลอดระยะเวลายาวนาน ทำให้มนุษย์ใช้วิธีคิดที่คุ้นเคยแบบเดียวเข้าทำความเข้าใจกับปรากฎการณ์ต่างๆ ที่เกิดขึ้น และตอบสนอง หรือแก้ปัญหาเหล่านั้นด้วยวิธีคิดแบบเดิม การเรียนรู้ หรือการใช้วิธีคิดแบบใหม่ในการทำความเข้าใจปรากฎการณ์ที่มีความทรับซ้อนเหล่านี้อาจไม่สามารถเกิดขึ้นได้ หากไม่มีกระบวนการ un-learning หรือ de-learning วิธีคิดแบบเก่าออกไปก่อน
Unlearning คือความสามารถในการลดอิทธิพลของทักษะเก่า หรือป้องกันความคิดเก่า ไม่ให้ส่งผลต่ออคติอย่างไม่รู้ตัวต่อความสามารถในการคิดไตร่ตรอง (cognitive ability) Unlearning จึงไม่ใช่การลืม แต่เป็นความสามารถในการเลือกทางเลือกรูปแบบการคิด (mental model) หรือกระบวนทัศน์ (paradigm) เมื่อการเรียนรู้ (learning) คือการเพิ่มทักษะ หรือความรู้ใหม่เพิ่มเติมจากสิ่งที่รู้อยู่แล้ว การ unlearning คือ การก้าวออกจากรูปแบบความคิดเดิม เพื่อเลือกรูปแบบความคิดที่แตกต่างออกไปมาใช้อย่างเหมาะสมกับปรากฎการณ์ หรือปัญหาที่เข้าไปเกี่ยวข้อง
เภสัชศาสตร์สังคมและการบริหาร (Social and Administrative Pharmacy: SAP) เป็นสาขาวิชาทางเภสัชศาสตร์ที่ใช้องค์ความรู้ในมิติทางสังคมศาสตร์ เศรษฐศาสตร์ และการบริหารจัดการเพื่อพัฒนาระบบยา และงานเภสัชกรรม ซึ่งเป็นเป็นส่วนหนึ่งของระบบสุขภาพ จึงเป็นสาขาวิชาชีพหนึ่งที่ต้องเผชิญหน้า ทำความเข้าใจ ปรากฎการณ์ที่มีความทรับซ้อนของระบบยา ซึ่งเกิดจากปฏิสัมพันธ์เกี่ยวเนื่องกับระบบสุขภาพ ระบบเศรษฐกิจ และสังคม เทคโนโลยี ความสามารถในการ unlearning รูปแบบความคิด และเลือกใช้รูปแบบความคิดที่เหมาะสมเพื่อจัดการ บรรเทา หรือแก้ไขปัญหาจึงเป็นทักษะที่มีความสำคัญอย่างยิ่งสำหรับนักวิจัย และนักวิชาการในสาขาวิชานี้
คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสงขลานครินทร์ โดยสาขาวิชาเภสัชศาสตร์สังคมและการบริหาร ร่วมกับสาขาวิชา/ภาควิชาเภสัชศาสตร์สังคม และการบริหาร จาก 6 คณะเภสัชศาสตร์ ในมหาวิทยาลัยภูมิภาค จึงจัดโครงการประชุมเชิงปฏิบัติการเพื่อพัฒนาอาจารย์ด้านเภสัชศาสตร์สังคมและการบริหาร ประจำปี 2565 ในหัวข้อ Learn to Unlearn ระหว่างวันที่ 22-23 พฤษภาคม 2565 และยังเป็นเวทีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้งานวิจัย และการพัฒนางานด้านการศึกษา ตลอดจนการระดมสมองเพื่อหาแนวคิด และความร่วมมือเป็นเครือข่ายด้านการศึกษาสาขาวิชาเภสัชศาสตร์สังคมและการบริหาร มหาวิทยาลัยอย่างเป็นรูปธรรม
วัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์
1) พัฒนาทักษะ unlearning อาจารย์ในสาขาเภสัชศาสตร์สังคม และการบริหาร
2) วางแผนเชิงปฏิบัติการความร่วมมือทำงานเป็นเครือข่ายระหว่างผู้ปฏิบัติงาน นักวิชาการใน สถาบันการศึกษาและหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ให้เกิดการศึกษาหลังปริญญาแบบไม่มีรอยต่อ
คำสำคัญ
unlearning, de-learning, systems thinking, complexity