การประชุมวิชาการเภสัชกรรม โรงพยาบาลสงขลานครินทร์ ครั้งที่ 8 “Pharmacotherapy for Geriatrics Care : What’s Pharmacist Should Know in Aging Society?”
ชื่อการประชุม |
|
การประชุมวิชาการเภสัชกรรม โรงพยาบาลสงขลานครินทร์ ครั้งที่ 8 “Pharmacotherapy for Geriatrics Care : What’s Pharmacist Should Know in Aging Society?” |
สถาบันหลัก |
|
คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ |
รหัสกิจกรรม |
|
1004-2-000-009-03-2565 |
สถานที่จัดการประชุม |
|
อ.ขนอม จ.นครศรีธรรมราช |
วันที่จัดการประชุม |
|
30 เม.ย. 2565 - 01 พ.ค. 2565 |
ผู้จัดการประชุม |
|
คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ |
กลุ่มเป้าหมาย |
|
1.เภสัชกรโรงพยาบาลเครือข่ายสถาบันแพทยศาสตร์แห่งประเทศไทย (UHosNet) 2.เภสัชกรโรงพยาบาลศูนย์ โรงพยาบาลทั่วไป ในเขตภาคใต้ 3. เภสัชกรโรงพยาบาลอื่นๆ 4. เภส |
หน่วยกิตการศึกษาต่อเนื่อง |
|
6 หน่วยกิต |
หลักการและเหตุผล
จากการเปลี่ยนแปลงของโครงสร้างประชากรไทยที่มีจำนวนผู้สูงอายุเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว ซึ่งเป็นสัดส่วนที่สูงมาก ส่งผลกระทบต่อระบบสุขภาพโดยรวม โดยเฉพาะปัญหาค่าใช้จ่ายทางสุขภาพที่เพิ่มสูงขึ้น อันเนื่องมาจากปัญหาโรคไม่ติดต่อเรื้อรังต่างๆในผู้สูงอายุ นอกจากนี้ผู้สูงอายุยังมีแนวโน้มที่จะมีโรคเรื้อรังมากกว่าหนึ่งชนิด ส่งผลให้ผู้ป่วยต้องได้รับการรักษาเป็นระยะเวลานาน มีค่าใช้จ่ายในการดูแลและเกิดภาวะพึ่งพิงสูงขึ้น ทั้งนี้หากผู้ป่วยหรือผู้สูงอายุไม่ได้รับการดูแลที่เหมาะสมจะทำให้เกิดปัญญาสุขภาพที่รุนแรงและซับซ้อนมากยิ่งขึ้น นอกจากนี้การที่ผู้ป่วยมีโรคประจำตัวหลายโรคและต้องรับประทานยาจำนวนมาก นำไปสู่การเกิดความเสี่ยงด้านยา ไม่ว่าจะเป็นการเกิดอาการไม่พึงประสงค์จากยา ปัญหาในการรับประทานยา รวมถึงปัญหาที่อาจเกิดขึ้นจากการตีกันของยาบางชนิด เหล่านี้ล้วนส่งผลกระทบต่อตัวผู้ป่วยและการดำเนินไปของโรคในอนาคต
ดังนั้นเภสัชกรซึ่งเป็นหนึ่งในทีมสหสาขาวิชาชีพด้านสุขภาพ เป็นผู้เชี่ยวชาญด้านยาโดยเฉพาะอย่างยิ่งในด้านการใช้ยาของผู้ป่วย เภสัชกรจะมีส่วนสำคัญในการเฝ้าระวังและป้องกันความคลาดเคลื่อนทางยา ช่วยเพิ่มอัตราการใช้ยาของผู้ป่วย ลดปัญหาที่เกิดจากยา เพิ่มประสิทธิภาพการรักษาด้วยยา ดังนั้นความรู้และทักษะของเภสัชกรโรงพยาบาลในการบริบาลเภสัชกรรม ได้แก่ การติดตามและให้คำแนะนำด้านยารวมทั้งการดูแลสุขภาพอย่างทันท่วงที จะช่วยเพิ่มประสิทธิผลการรักษาในผู้ป่วยสูงอายุ รวมทั้งมีส่วนร่วมแก้ไขปัญหาทางสุขภาพในระยะยาวและรองรับสังคมผู้สูงอายุต่อไป
วัตถุประสงค์
1.เพื่อเผยแพร่องค์ความรู้และทักษะที่จำเป็นในการให้บริบาลทางเภสัชกรรมสำหรับผู้สูงอายุแก่เภสัชกรโรงพยาบาล
2.เพื่อแลกเปลี่ยนความคิดเห็นและประสบการณ์ในการให้บริบาลทางเภสัชกรรมสำหรับผู้สูงอายุ
3.เพื่อส่งเสริมการพัฒนาศักยภาพของเภสัชกรโรงพยาบาลให้มีความรู้และทักษะที่จำเป็นในการให้บริบาลทางเภสัชกรรมสำหรับผู้สูงอายุ สามารถนำความรู้ไปใช้ในการปฏิบัติงาน
คำสำคัญ
Geriatrics Care, Aging Society, Elderly Patients