ศูนย์การศึกษาต่อเนื่องฯ จะส่งข้อมูลแจ้งเตือนสมาชิก ผ่านช่องทาง sms และ email ในวันที่ 5 ธ.ค. 2567 และ 19 ธ.ค. 2567

การประชุมวิชาการ
โครงการประชุมเชิงปฏิบัติการงานเภสัชกรรมคลินิกเรื่อง Trends in Infectious Diseases Pharmacotherapy Chapter I : Community Acquired Infections
ชื่อการประชุม โครงการประชุมเชิงปฏิบัติการงานเภสัชกรรมคลินิกเรื่อง Trends in Infectious Diseases Pharmacotherapy Chapter I : Community Acquired Infections
สถาบันหลัก คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
รหัสกิจกรรม 1004-2-000-007-04-2565
สถานที่จัดการประชุม ระบบออนไลน์ Zoom คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
วันที่จัดการประชุม 23 -24 เม.ย. 2565
ผู้จัดการประชุม คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
กลุ่มเป้าหมาย เภสัชกรโรงพยาบาล เภสัชกรในสถานบริการสาธารณสุขอื่น ๆ เภสัชกรร้านยา และคณาจารย์เภสัชศาสตร์จำนวน 100 คน
หน่วยกิตการศึกษาต่อเนื่อง 12.75 หน่วยกิต
หลักการและเหตุผล
ยาต้านจุลชีพเป็นกลุ่มยาที่มีปริมาณการใช้สูงที่สุดกลุ่มหนึ่งในโรงพยาบาล การใช้ยากลุ่มนี้อย่างไม่เหมาะสม เช่น การใช้ยาอย่างพร่ำเพรื่อโดยไม่จำเป็น การหยุดใช้ยาก่อนเวลาอันสมควร การบริหารยาไม่เหมาะสม อาจส่งผลให้เชื้อจุลชีพดื้อต่อยา และการรักษาผู้ป่วยล้มเหลว ตลอดจนผู้ป่วยมีอัตราการตายสูงขึ้นหรือต้องอยู่รักษาตัวในโรงพยาบาลนานขึ้น ซึ่งผลสุดท้ายทำให้ค่าใช้จ่ายในการรักษาพยาบาลผู้ป่วยเพิ่มขึ้นอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ นอกจากปัญหาที่กล่าวมาแล้วข้างต้นยังมีปัญหาอื่น ๆ ที่พบได้บ่อยจากการใช้ยาต้านจุลชีพ เช่นการเกิด adverse drug reactions และ drug interactions การมีเภสัชกรร่วมเข้าปฏิบัติงานบริบาลเภสัชกรรมในผู้ป่วยโรคติดเชื้อคาดว่าน่าจะช่วยลดปัญหาดังกล่าวได้ระดับหนึ่ง แต่การที่เภสัชกรจะปฏิบัติงานนี้ให้ได้ผลสัมฤทธิ์นั้น ต้องอาศัยปัจจัยที่สำคัญหลายประการร่วมกัน โดยปัจจัยประการหนึ่งที่จะขาดเสียมิได้ก็คือ ความรู้ที่ทันสมัย ทันต่อสถานการณ์ในเรื่องของโรคติดเชื้อ และการใช้ยาบำบัดในโรคติดเชื้อ โดยเฉพาะในเรื่องของเชื้อ bacteria ก่อโรคที่มีความสำคัญกลุ่มต่าง ๆ ยาต้านจุลชีพกลุ่มต่าง ๆ การดื้อต่อยาต้านจุลชีพของเชื้อ bacteria การใช้ยาบำบัดในโรคติดเชื้อ bacteria และ การสร้างเสริมภูมิคุ้มกันโรคติดเชื้อ เป็นต้น โดยการประชุมในครั้งที่ 1 จะเน้นเรื่องการติดเชื้อจากชุมชน และการสร้างเสริมภูมคุ้มกันโรคซึ่งผู้ป่วยมักจะได้รับการรักษาโดยการเป็นผู้ป่วยนอกในสถานบริการสาธารณสุขต่าง ๆรวมถึงในร้านยา ส่วนการประชุมครั้งที่ 2 จะเน้นการติดเชื้อในโรงพยาบาลซึ่งส่วนใหญ่เชื้อก่อโรคมักเป็นเชื้อดื้อยาในโรงพยาบาล และผู้ป่วยต้องเข้ารับการรักษาตัวในโรงพยาบาล
วัตถุประสงค์
1. เพื่อให้ผู้เข้าร่วมประชุมได้มีความรู้เกี่ยวกับการใช้ยาบำบัดในโรคติดเชื้อ และการสร้างเสริมภูมิคุ้มกันโรค
2. เพื่อให้ผู้เข้าร่วมประชุมฝึกทักษะการแก้ปัญหาที่เกี่ยวข้องกับการใช้ยาบำบัดในโรคติดเชื้อ และการสร้างเสริมภูมิคุ้มกันโรคให้กับผู้ป่วย
คำสำคัญ
Trends in Infectious Diseases Pharmacotherapy