การประชุมวิชาการเภสัชกรรม โรงพยาบาลสงขลานครินทร์ ครั้งที่ 7 “Update in Oncology Practices : Moving the Pharmacy Profession Forward in Chemotherapy”
ชื่อการประชุม |
|
การประชุมวิชาการเภสัชกรรม โรงพยาบาลสงขลานครินทร์ ครั้งที่ 7 “Update in Oncology Practices : Moving the Pharmacy Profession Forward in Chemotherapy” |
สถาบันหลัก |
|
คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ |
รหัสกิจกรรม |
|
1004-2-000-006-02-2565 |
สถานที่จัดการประชุม |
|
จ.ภูเก็ต |
วันที่จัดการประชุม |
|
26 -27 มี.ค. 2565 |
ผู้จัดการประชุม |
|
คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ |
กลุ่มเป้าหมาย |
|
1. เภสัชกรโรงพยาบาลสงขลานครินทร์ 2. เภสัชกรโรงพยาบาลเครือข่ายสถาบันแพทยศาสตร์แห่งประเทศไทย (UHosNet) 3. เภสัชกรโรงพยาบาลศูนย์ โรงพยาบาลทั่วไป ในเขตภาค |
หน่วยกิตการศึกษาต่อเนื่อง |
|
6 หน่วยกิต |
หลักการและเหตุผล
การรักษาโรคมะเร็งด้วยยาเคมีบำบัด เป็นวิธีการรักษาวิธีหนึ่งที่มีความก้าวหน้าอย่างรวดเร็ว มีการค้นคว้าเทคโนโลยีเกี่ยวกับยาเคมีบำบัด ยามุ่งเป้า ยาต้านฮอร์โมน และยากลุ่มภูมิคุ้มกันบำบัด ช่วยให้ผู้ป่วยหายหรือบรรเทาอาการจากโรคมะเร็งมากขึ้น อย่างไรก็ตามเคมีบำบัดเป็นกลุ่มยาที่มีความเสี่ยงสูง ความซับซ้อนของสูตรยาและวิธีการรักษา ทำให้ผู้ป่วยที่อยู่ในระหว่างได้รับเคมีบำบัดต้องเผชิญกับอาการข้างเคียงต่างๆที่เป็นปัญหาเฉียบพลันและรุนแรง ผลข้างเคียงของเคมีบำบัดเป็นปัจจัยสำคัญที่กระทบต่อผู้ป่วยและครอบครัวทั้งด้านร่างกาย จิตใจ อารมณ์ สังคม เศรษฐกิจและคุณภาพชีวิต ดังนั้นการรักษาพยาบาลผู้ป่วยที่ได้รับเคมีบำบัด จึงต้องมีบุคลากรทีมสุขภาพร่วมสร้างระบบการดูแลผู้ป่วยที่มีคุณภาพ
การจัดระบบการดูแลผู้ป่วยมะเร็งเป็นแบบสหสาขาโดยมีแพทย์ พยาบาล เภสัชกร และบุคลากรที่เกี่ยวข้อง ร่วมดูแลผู้ป่วย ประสานงานส่งต่อผู้ป่วยเพื่อการตรวจรักษาทางศัลยกรรม รังสีรักษา เคมีบำบัด การรักษาแบบประคับประคอง การทำงานเป็นทีมนี้ทำให้ระบบบริการผู้ป่วยได้คุณภาพ เภสัชกรเป็นหนึ่งในบุคลากรที่สำคัญในทีม ดังนั้นจึงจำเป็นต้องพัฒนาศักยภาพของเภสัชกรให้มีความรู้ ความชำนาญ ด้านการดูแลเฉพาะทางโรคมะเร็ง ให้มีความรู้และทักษะในการให้บริบาลเภสัชกรรม นำความรู้ไปประยุกต์ใช้ในการทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ และมีคุณภาพด้านการบริการที่ดี
ดังนั้น เภสัชกรโรงพยาบาลควรเข้าใจกระบวนการคัดเลือก แนวทางการรักษาโรคมะเร็งด้วยยาเคมีบำบัดเป็นกลุ่มยาที่มีความเสี่ยงสูง รวมทั้งทักษะในการให้บริบาลเภสัชกรรมกับผู้ป่วยมะเร็ง เพื่อนำความรู้และทักษะที่ได้รับไปประยุกต์เพื่อใช้ได้ถูกต้องต่อไป
วัตถุประสงค์
1. เพื่อเผยแพร่วิทยาการก้าวหน้าในการรักษาผู้ป่วยโรคมะเร็งด้วยยาเคมีบำบัดแก่เภสัชกรโรงพยาบาล
2. เพื่อแลกเปลี่ยนความคิดเห็นและประสบการณ์ในการดูแลผู้ป่วยโรคมะเร็งด้วยยาเคมีบำบัด
3. เพื่อส่งเสริมการพัฒนาศักยภาพของเภสัชกรโรงพยาบาลในการดูแลผู้ป่วยโรคมะเร็งด้วยยาเคมีบำบัด ให้สามารถนำความรู้ไปใช้ในการปฏิบัติงาน
คำสำคัญ
Chemotherapy, Oncology, Cancer