ชื่อการประชุม |
|
Pharmaceutical Care for Patients with Chronic Diseases: Update & Practical 2022 |
สถาบันหลัก |
|
คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ |
รหัสกิจกรรม |
|
1004-2-000-003-01-2565 |
สถานที่จัดการประชุม |
|
ระบบออนไลน์ ณ ห้องประชุม VDO Conference คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ |
วันที่จัดการประชุม |
|
19 -20 ก.พ. 2565 |
ผู้จัดการประชุม |
|
คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ |
กลุ่มเป้าหมาย |
|
เภสัชกรโรงพยาบาลและคณาจารย์คณะเภสัชศาสตร์ จำนวน 300 คน |
หน่วยกิตการศึกษาต่อเนื่อง |
|
13 หน่วยกิต |
หลักการและเหตุผล
โรคเรื้อรัง โดยเฉพาะอย่างยิ่งโรคในระบบหัวใจและหลอดเลือด ความดันโลหิตสูง ไขมันในเลือดสูง และเบาหวาน เป็นโรคซึ่งผู้ป่วยต้องใช้ยาเป็นเวลานาน และผู้ป่วยบางรายต้องรับประทานยาตลอดชีวิต ดังนั้น ผู้ป่วยโรคกลุ่มนี้จึงมีความเสี่ยงสูงที่จะเกิดปัญหาจากยา (drug related problems, DRPs) เช่น การไม่ให้ความร่วมมือในการใช้ยา การเกิดอันตร-กิริยาของยา การเกิดผลอันไม่พึงประสงค์จากยา เป็นต้น การให้บริบาลทางเภสัชกรรมโดยมีเภสัชกรเป็นส่วนหนึ่งในทีมรักษาผู้ป่วย ทำหน้าที่ค้นหาปัญหาจากยาที่อาจจะเกิดขึ้นหรือเกิดขึ้นแล้ว และร่วมกับบุคลากรทางการแพทย์อื่น ๆ ในการหาแนวทางในการป้องกันและแก้ปัญหาดังกล่าว ซึ่งในปัจจุบันผลจากการศึกษาหลายการศึกษาพบว่าการให้บริบาลทางเภสัชกรรมให้ประโยชน์แก่ผู้ป่วยโรคเรื้อรังในหลาย ๆ ด้าน เช่น ช่วยทำให้ผู้ป่วยมีความร่วมมือในการใช้ยามากขึ้น ส่งผลให้ผลการรักษา (outcome) ของผู้ป่วยดีขึ้น และยังช่วยลด adverse events ต่าง ๆ ที่อาจจะเกิดกับผู้ป่วยได้ เพื่อจะให้เภสัช-กรมีความพร้อมในการให้บริบาลทางเภสัชกรรมแก่ผู้ป่วยกลุ่มดังกล่าว เภสัชกรจะต้องมีทักษะในการให้บริบาลทางเภสัช-กรรมและต้องมีความรู้เรื่องโรคเรื้อรังที่พบบ่อยและยาที่ใช้ในการรักษาโรคดังกล่าวเป็นอย่างดี
วัตถุประสงค์
1. เพื่อให้ผู้เข้าร่วมประชุมได้มีความรู้เกี่ยวกับการใช้ยาบำบัดในโรคเรื้อรัง
2. เพื่อให้ผู้เข้าร่วมประชุมฝึกทักษะการแก้ปัญหาที่เกี่ยวข้องกับการใช้ยาบำบัดในโรคเรื้อรังให้กับผู้ป่วย
3. เพื่อให้ผู้เข้าร่วมประชุมสามารถนำความรู้และทักษะที่ได้ไปประยุกต์ใช้ในงานบริบาลทางเภสัชกรรม
คำสำคัญ
Chronic Diseases: Update & Practical 2022