การประชุมวิชาการเภสัชกรรม โรงพยาบาลสงขลานครินทร์ ครั้งที่ 6 “Products Quality Stream in Drug Development Process : Perspective from Industrial to Patient Care”
ชื่อการประชุม |
|
การประชุมวิชาการเภสัชกรรม โรงพยาบาลสงขลานครินทร์ ครั้งที่ 6 “Products Quality Stream in Drug Development Process : Perspective from Industrial to Patient Care” |
สถาบันหลัก |
|
คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ |
รหัสกิจกรรม |
|
1004-2-000-019-12-2563 |
สถานที่จัดการประชุม |
|
โรงแรม ดุสิต ดีทู อ่าวนาง อ.เมือง จ.กระบี่ |
วันที่จัดการประชุม |
|
19 -20 ธ.ค. 2563 |
ผู้จัดการประชุม |
|
ฝ่ายเภสัชกรรม โรงพยาบาลสงขลานครินทร์ |
กลุ่มเป้าหมาย |
|
1.เภสัชกรโรงพยาบาลเครือข่ายสถาบันแพทยศาสตร์แห่งประเทศไทย (UHosNet) 2.เภสัชกรโรงพยาบาลศูนย์ โรงพยาบาลทั่วไป ในเขตภาคใต้ 3. เภสัชกรโรงพยาบาลอื่น ๆ 4. เ |
หน่วยกิตการศึกษาต่อเนื่อง |
|
5 หน่วยกิต |
หลักการและเหตุผล
ปัจจุบัน ยากลุ่มที่เรียกว่ายาสามัญซึ่งรวมความถึงยาสามัญใหม่และยาสามัญมีบทบาทถูกนำมาใช้ทดแทนยาต้นแบบอย่างกว้างขวาง โดยปัจจุบันผลิตภัณฑ์ยาสามัญมีส่วนแบ่ง
การตลาดในมีเชิงปริมาณการใช้มากถึงร้อยละ 80 นับเป็นกลุ่มยาที่ควรให้ความใส่ใจเป็นอย่างยิ่งในการดำเนินการเพื่อให้มีหลักประกันว่าผลิตภัณฑ์ยาสามัญเหล่านั้นเป็นไปตาม
มาตรฐาน มีความเท่าเทียมกับยตนแบบในทุกด้าน หรือมีความเท่าเทียมทางประสิทธิผลการรักษา (Therapeutic equivalence)ผลิตภัณฑ์ยาที่จัดว่ามีความเท่าเทียมทางประสิทธิผลการรักษา ต้องผ่านเกณฑ์ใน 2 ประเด็น ได้แก่ ประเด็นแรก ยาสามัญต้องมีความเท่าเทียมทางเภสัชกรรม (Pharmaceuticalequivalence) กับยาต้นแบบ กล่าว คือ ต้องเป็นยาที่มีตัวยาสำคัญเหมือนกัน และอยู่ในรูปแบบทางเคมีเดียวกัน (เช่น อยู่ในรูปเกลือชนิดเดียวกัน หรือ อยู่ในรูปเอสเทอร์เดียวกัน) มีขนาดยาเท่ากัน รูปแบบยา (dosage form) เดียวกัน และมีคุณภาพตามข้อกำหนดมาตรฐานเดียวกันหรือเทียบเท่ากัน นอกจกนี้ตามข้อกำหนดขององค์การอาหารและยาของสหรัฐอเมริกา (Unites States Food and Drug Administration, US-FDA), องค์การยาแห่งสหภาพยุโรป (European Medicine Agency, EMA) และ กลุ่มประเทศอาเซียน (Association of Southeast Asian Nations, ASEAN) ยาสามัญและยาตันแบบที่นำมา
ศึกษาชีวสมมูล ต้องมีปริมาณตัวยสำคัญ แตกต่างกันได้ไม่เกิน 5%
วัตถุประสงค์
1. เพื่อเผยแพร่องค์ความรู้เกี่ยวกับวิธีการศึกษาและการประเมินความเท่าเทียมทางประสิทธิผลการรักษา ความเท่าเทียมทางเภสัชกรรม และชีวสมมูล แก่เภสัชกรโรงพยาบาล
2. เพื่อแลกเปลี่ยนความคิดเห็นและประสบการณ์ในการประเมินความเท่าเทียมทางประสิทธิผลการรักษา ความเท่าเทียมทางเภสัชกรรม และชีวสมมูล
3. เพื่อส่งเสริมการพัฒนาศักยภาพของเภสัชกรโรงพยาบาลให้เข้าใจเกี่ยวกับประเด็นสำคัญของวิธีการศึกษาและการประเมินความเท่าเทียมทางประสิทธิผลการรักษา ความเท่าเทียมทางเภสัชกรรม และชีวสมมูล สามารถนำความรู้ไปใช้ในการปฏิบัติงาน
คำสำคัญ
Therapeutic Equivalence, Pharmaceutical Equivalence, Bioequivalence
วิธีสมัครการประชุม
ติดต่อสอบถามเพิ่มเติม
ศูนย์เภสัชสนเทศ ฝ่ายเภสัชกรรม
โรงพยาบาลสงขลานครินทร์
โทร 0 7445 1314 E-mail: dic@medicine.psu.ac.th