ศูนย์การศึกษาต่อเนื่องฯ จะส่ง sms และ email แจ้งเตือนสมาชิกผู้ที่มีหน่วยกิตไม่ครบเกณฑ์ ครั้งต่อไปในวันที่ 11 มิถุนายน 2568

การประชุมวิชาการ
Elemental impurity analysis in pharmaceutical samples by ICP
ชื่อการประชุม Elemental impurity analysis in pharmaceutical samples by ICP
สถาบันหลัก สมาคมเภสัชกรอุตสาหการ (ประเทศไทย)
รหัสกิจกรรม 2004-2-000-005-07-2563
สถานที่จัดการประชุม Webinar
วันที่จัดการประชุม 02 ก.ค. 2563
ผู้จัดการประชุม สมาคมเภสัชกรอุตสาหการ (ประเทศไทย)
กลุ่มเป้าหมาย บุคลากรที่ปฏิบัติงาน ในหน่วยงานดังนี้ ผู้บริหาร ประกันคุณภาพ ควบคุมคุณภาพ ผลิต ผู้ตรวจประเมินระบบคุณภาพ / GMP ผู้สนใจทั่วไป
หน่วยกิตการศึกษาต่อเนื่อง 1 หน่วยกิต
หลักการและเหตุผล
ตั้งแต่เดือนมกราคม 2561 เภสัชตำรับของอเมริกา (United States Pharmacopeia; USP ได้ประกาศยกเลิก General Chapter <231> Heavy metals ซึ่งใช้สำหรับการควบคุมคุณภาพของวัตถุดิบตัวยาสำคัญ สารช่วยในตำรับยา ตลอดจนผลิตภัณฑ์ยา และให้ใช้ General Chapter <232> Elemental impurities-Limits และ <233> Elemental impurities-Procedures แทน โดยกระบวนการวิเคราะห์ที่ระบุใน USP ใช้เทคนิค Inductively coupled plasma–atomic (optical) emission spectroscopy (ICP–AES หรือ ICP–OES) หรือ Inductively coupled plasma–mass spectrometry (ICP–MS)
ICP-OES และ ICP-MS เป็นหนึ่งในวิธีการวิเคราะห์ธาตุ (Elemental analysis) โดยหลักการของ atomic spectroscopy เป็นการวิเคราะห์โดยอาศัยกระบวนการคายพลังงานของอะตอม (Atomic emission) โดย ICP เป็นแหล่งกำเนิดการกระตุ้นอุณหภูมิสูง ที่ทำให้เกิดกระบวนการกำจัดตัวทำละลาย (Desolvation) ออกจากสารละลายตัวอย่าง และระเหยสารตัวอย่าง ไอของโมเลกุลเหล่านี้จะถูกเปลี่ยนให้เป็นอะตอม แล้วต่อมาเกิดการแตกตัวเป็นไอออน โดยไอออนของตัวอย่างที่เกิดขึ้น สามารถตรวจวัดด้วยวิธี spectrometry สองชนิด คือ ICP-AES หรือที่เรียกว่า ICP-OESทำการตรวจวัดความยาวคลื่นที่อะตอมคายพลังงานออกมาในรูปแสง และ ICP-MS ทำการตรวจวัดธาตุตามอัตราส่วนของมวลต่อประจุ (mass-to-charge ratio, m/z)
ดังนั้นเพื่อให้มีการเลือกใช้เทคนิคการวิเคราะห์ Elemental impurities ตลอดจนการเตรียมตัวอย่างสำหรับการควบคุมคุณภาพผลิตภัณฑ์ยา จึงมีความจำเป็นต้องทำการศึกษาเพื่อให้มีความเข้าใจ และเลือกใช้ได้อย่างเหมาะสม
วัตถุประสงค์
• เพื่อให้เข้าใจหลักการพื้นฐานของเทคนิค ICP-AES หรือ ICP-OES และ ICP-MS
• เพื่อให้สามารถนำเทคนิค ICP-AES หรือ ICP-OES และ ICP-MS มาใช้ในการวิเคราะห์ Elemental impurities ในผลิตภัณฑ์ยาได้ ตามวิธีการ USP 232><233> และ ICH Q3D
• เพื่อให้สามารถเลือกวิธีการเตรียมตัวอย่างสำหรับวิเคราะห์ Elemental impurities ในผลิตภัณฑ์ยาได้อย่างเหมาะสม
คำสำคัญ
Elemental impurities-Limits, Elemental impurities-Procedures, Inductively coupled plasma, Elemental analysis, Atomic emission
วิธีสมัครการประชุม
online registration at http://www.tipa.or.th *free registration for member*