ศูนย์การศึกษาต่อเนื่องฯ จะส่งข้อมูลแจ้งเตือนสมาชิก ผ่านช่องทาง sms และ email ในวันที่ 5 ธ.ค. 2567 และ 19 ธ.ค. 2567

การประชุมวิชาการ
โครงการอบรมการบริบาลทางเภสัชกรรมชุมชนสำหรับผู้ป่วยกลุ่มโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง
ชื่อการประชุม โครงการอบรมการบริบาลทางเภสัชกรรมชุมชนสำหรับผู้ป่วยกลุ่มโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง
สถาบันหลัก คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
รหัสกิจกรรม 1004-2-000-009-03-2563
สถานที่จัดการประชุม ห้อง 1201 คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
วันที่จัดการประชุม 01 -22 มี.ค. 2563
ผู้จัดการประชุม คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
กลุ่มเป้าหมาย เภสัชกรทั่วไป
หน่วยกิตการศึกษาต่อเนื่อง 20.25 หน่วยกิต
หลักการและเหตุผล
เพื่อให้เภสัชกรชุมชนเป็นที่พึ่งพิงของประชาชนและชุมชนอย่างมีประสิทธิภาพและคุณภาพ สามารถรองรับความต้องการของสังคมที่เปลี่ยนแปลงไป จำเป็นที่งานเภสัชกรรมชุมชนต้องมีความเป็นพลวัต ขณะเดียวกันเภสัชกรชุมชนต้องพัฒนาบทบาทการดูแลผู้ป่วยจากเชิงรับให้เป็นเภสัชกรประจำครอบครัวทำงานเชิงรุก โดยการผสมผสานทั้งการดูแลผู้ป่วยเฉพาะราย ครอบครัว และชุมชนของผู้ป่วย นวัตกรรมการบริการดังกล่าว เป็นแรงผลักให้เภสัชกรชุมชนต้องพัฒนาตนเองทั้งองค์ความรู้และทักษะในการจัดการด้านยาของผู้ป่วย ซึ่งไม่เพียง แต่จะเป็นประโยชน์ต่อการดูแลผู้ป่วยโดยองค์รวม แต่การพัฒนานี้ยังช่วยสร้างภาพพจน์ของความเป็นวิชาชีพ ก่อให้เกิดความแตกต่างและความได้เปรียบทางการแข่งขันให้แก่เภสัชกรชุมชน นอกจากนี้ยังสามารถใช้เป็น ต้นแบบในการพัฒนามาตรฐานงานบริการเภสัชกรรมชุมชนต่อไป จึงมีความจำเป็นต้องมีหลักสูตรการบริบาลทางเภสัชกรรมชุมชนสำหรับผู้ป่วยโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง เพื่อพัฒนาศักยภาพของเภสัชกรชุมชนอย่างต่อเนื่อง
วิทยาลัยเภสัชบำบัด ภายใต้สภาเภสัชกรรม ได้เห็นความสำคัญดังกล่าว จึงจัดทำหลักสูตรการบริบาลทางเภสัชกรรมชุมชนสำหรับผู้ป่วยกลุ่มโรคไม่ติดต่อเรื้อรังเพื่อให้เภสัชกรได้มีความรู้ความเข้าใจและมีทักษะในการให้บริการแก่ผู้ป่วยโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง อย่างมีประสิทธิภาพต่อไป ดังนั้นเพื่อให้เกิดประโยชน์ในการดูแลผู้ป่วยโรคไม่ติดต่อเรื้อรังอย่างจริงจัง ทางวิทยาลัยเภสัชบำบัดร่วมกับมูลนิธิเภสัชกรรมชุมชน คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ จึงจัดทำโครงการอบรมการบริบาลทางเภสัชกรรมชุมชนสำหรับผู้ป่วยกลุ่มโรคไม่ติดต่อเรื้อรังขึ้น
วัตถุประสงค์
1 มีแนวคิด และทักษะในการให้การบริบาลทางเภสัชกรรมแก่ผู้ป่วยกลุ่มโรคไม่ติดต่อเรื้อรังเพิ่มขึ้น
2 มีความรู้ทางเภสัชบำบัดในผู้ป่วยกลุ่มโรคไม่ติดต่อเรื้อรังและสามารถประยุกต์ใช้ความรู้ดังกล่าวในการดูแลผู้ป่วยได้อย่างมีประสิทธิภาพ
คำสำคัญ
Medication Therapy Management/assessment of drug related problems/medication errors