การประชุมวิชาการเภสัชกรรม โรงพยาบาลสงขลานครินทร์ ครั้งที่ 4 “From Inhaler Selection to Patients Care : An Integrated Disease Management Approach”
ชื่อการประชุม |
|
การประชุมวิชาการเภสัชกรรม โรงพยาบาลสงขลานครินทร์ ครั้งที่ 4 “From Inhaler Selection to Patients Care : An Integrated Disease Management Approach” |
สถาบันหลัก |
|
คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ |
รหัสกิจกรรม |
|
1004-2-000-006-03-2563 |
สถานที่จัดการประชุม |
|
โรงแรม ราชาคีรี รีสอร์ท แอนด์ สปา อ.ขนอม จ.นครศรีธรรมราช |
วันที่จัดการประชุม |
|
10 -11 ต.ค. 2563 |
ผู้จัดการประชุม |
|
ฝ่ายเภสัชกรรม โรงพยาบาลสงขลานครินทร์ |
กลุ่มเป้าหมาย |
|
1.เภสัชกรโรงพยาบาลสงขลานครินทร์ 2.เภสัชกรโรงพยาบาลเครือข่ายสถาบันแพทยศาสตร์แห่งประเทศไทย (UHosNet) 3.เภสัชกรโรงพยาบาลศูนย์ โรงพยาบาลทั่วไป ในเขตภาคใต้ |
หน่วยกิตการศึกษาต่อเนื่อง |
|
5 หน่วยกิต |
หลักการและเหตุผล
การบริหารยาเข้าสู่ระบบทางเดินหายใจโดย ใช้อุปกรณ์สูดพ่นยาเป็นช่องทางสำคัญในการรักษาโรค ในระบบทางเดินหายใจ โดยการใช้อุปกรณ์สูดพ่นยาแบบพกพามีการพัฒนาขึ้นครั้งแรกในปี ค.ศ. 1956 ในรูป แบบ pressurized Metered Dose Inhaler (pMDI) และถูกนำมาใช้อย่างแพร่หลาย ขณะเดียวกันก็มีการพัฒนาอุปกรณ์ให้มีคุณสมบัติในการปลดปล่อยอนุภาคยาให้ดีขึ้น มีความเร็วในการปลดปล่อยละอองยาลดลง และขนาดอนุภาคลดลง จึงช่วยให้อนุภาคที่มีตัวยาสำคัญเข้าไปสะสมในปอดได้เพิ่มขึ้น ต่อมาจึงมีการพัฒนายาสูดพ่นในรูปแบบ Dry Powder Inhalers (DPI) ในปี ค.ศ.1987 แต่ข้อจำกัดของยาสูดจำพวก DPI คือ แรงที่ใช้สูดยา (Inspiration flow rate) ซึ่งอุปกรณ์แต่ละชนิดต้องการแรงสูดที่แตกต่างกัน ดังนั้นการเกิดประสิทธิภาพจากการใช้ยาสูดพ่นไม่ได้ขึ้นอยู่กับการเลือกยาหรือปรับยาให้เข้ากับอาการของผู้ป่วยเท่านั้น แต่ยังขึ้นอยู่กับการเลือกอุปกรณ์ให้เหมาะสมกับความร่วมมือและความสามารถในการสูดยาของผู้ป่วย ซึ่งเป็นปัจจัยสำคัญที่ช่วยให้ยาเข้าสู่ตำแหน่งออกฤทธิ์ได้ดี
ปัจจุบัน ยารูปแบบสูดพ่นได้รับความนิยมในการรักษาหรือบรรเทาโรคเกี่ยวกับระบบทางเดินหายใจ
เป็นอย่างมาก เช่น การใช้ยาในโรคหอบหืด หรือปอดอุดกั้นเรื้อรัง แต่ยารูปแบบสูดพ่นมักมีวิธีการใช้ยุ่งยากและซับซ้อน ผลิตภัณฑ์แต่ละชนิดมักมีวิธีการใช้แตกต่างกันไป ทั้งนี้เนื่องจากผลิตภัณฑ์แต่ละแบบมีลักษณะเฉพาะตัว ทั้งเครื่องมือที่ใช้ในการพ่นยาและส่วนประกอบที่บรรจุอยู่ภายในซึ่งถูกออกแบบมาเพื่อนำส่งยาไปยังบริเวณที่ต้องการให้ยาออกฤทธิ์ได้ดี จึงจะส่งผลให้ประสิทธิภาพของการใช้ยาเกิดได้สูงสุด และผู้ป่วยได้รับผลข้างเคียงจากการใช้ยาน้อยที่สุดด้วย
ดังนั้น เภสัชกรโรงพยาบาลควรเข้าใจกระบวนการคัดเลือกยารูปแบบสูดพ่น รวมทั้งการออกฤทธิ์ของยาในทางเดินหายใจ และการทำงานของอุปกรณ์สูดพ่นยาชนิดต่างๆที่มีความหลากหลายในท้องตลาด จึงมีความจำเป็นอย่างยิ่งในการพัฒนาองค์ความรู้ของเภสัชกรโรงพยาบาล เพื่อนำความรู้และทักษะที่ได้รับไปประยุกต์เพื่อเลือกใช้ยาสูดพ่น และให้คำแนะนำวิธีการสูดยาให้กับผู้ป่วยได้ถูกต้องต่อไป
วัตถุประสงค์
1.เพื่อเผยแพร่องค์ความรู้เกี่ยวกับกระบวนการคัดเลือกยารูปแบบสูดพ่น รวมทั้งการออกฤทธิ์ของยาในทางเดินหายใจ และการทำงานของอุปกรณ์สูดพ่นยาชนิดต่างๆ แก่เภสัชกรโรงพยาบาล
2.เพื่อแลกเปลี่ยนความคิดเห็นและประสบการณ์ในการคัดเลือกยารูปแบบสูดพ่น รวมทั้งการออกฤทธิ์ของยาในทางเดินหายใจ และการทำงานของอุปกรณ์สูดพ่นยาชนิดต่างๆ
3.เพื่อส่งเสริมการพัฒนาศักยภาพของเภสัชกรโรงพยาบาลให้เข้าใจเกี่ยวกับประเด็นสำคัญของกระบวนการคัดเลือกยารูปแบบสูดพ่น รวมทั้งการออกฤทธิ์ของยาในทางเดินหายใจ และการทำงานของอุปกรณ์สูดพ่นยาชนิดต่างๆ สามารถนำความรู้ไปใช้ในการปฏิบัติงาน
คำสำคัญ
Inhaler Selection, inhaler technique, inhaled therapy
วิธีสมัครการประชุม
สอบถามรายละเอียดได้ที่
ศูนย์เภสัชสนเทศ
ฝ่ายเภสัชกรรม โรงพยาบาลสงขลานครินทร์
15 ถนนกาญจนวนิชย์
ต.คอหงส์ อ.หาดใหญ่ จ.สงขลา 90110
โทรสาร 0 7428 1300
E-mail:dic@medicine.psu.ac.th