ศูนย์การศึกษาต่อเนื่องฯ จะส่งข้อมูลแจ้งเตือนสมาชิก ผ่านช่องทาง sms และ email ในวันที่ 5 ธ.ค. 2567 และ 19 ธ.ค. 2567

บทความวิชาการ
ความแก่ของผิวหนัง: กลไกการเกิดระดับโมเลกุล การป้องกัน/การรักษา และสารธรรมชาติที่ใช้ในการต่อต้านความแก่ของผิวหนัง
ชื่อบทความ ความแก่ของผิวหนัง: กลไกการเกิดระดับโมเลกุล การป้องกัน/การรักษา และสารธรรมชาติที่ใช้ในการต่อต้านความแก่ของผิวหนัง
ผู้เขียนบทความ นายธรรมนูญ รุ่งสังข์
สถาบันหลัก คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยพะเยา
รหัสกิจกรรม 1011-1-000-003-12-2559
ผู้ผลิตบทความ คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยพะเยา
การเผยแพร่บทความ ผู้ประกอบวิชาชีพทุกคน 
วันที่ได้รับการรับรอง 26 ธ.ค. 2559
วันที่หมดอายุ 25 ธ.ค. 2560
หน่วยกิตการศึกษาต่อเนื่อง 2.5 หน่วยกิต
บทคัดย่อ
ความแก่ของผิวหนังสามารถเกิดขึ้นได้บนผิวหนังมนุษย์ ซึ่งเกิดจาก 2 ปัจจัยหลัก คือ ปัจจัยภายใน (กาลเวลาที่ผ่านไป) และการสัมผัสปัจจัยภายนอก (เช่น แสง UV เป็นต้น) ความแก่ของผิวหนังที่เกิดขึ้นส่วนใหญ่เกิดจากปัจจัยภายในและการสัมผัสปัจจัยภายนอกร่วมกัน โดยที่ความแก่ที่เกิดขึ้นจากปัจจัยภายในเกิดจากการเสื่อมสภาพของเนื้อเยื่อในชั้น dermis และ epidermis (ไม่รวมชั้น stratum corneum) ทำให้ชั้นหนังแท้บางลงและคอลลาเจน อิลาสติน และไกลโคสะมิโนไกลแคนลดลง ส่งผลให้ความยืดหยุ่นของผิวลดลง ส่วนความแก่ที่เกิดขึ้นจากปัจจัยภายนอกส่วนใหญ่จะเกิดจากแสงแดด เรียกว่า photoaging ซึ่งจะทำให้ปริมาณอนุมูลอิสระในผิวหนังสูงขึ้นและมีลักษณะปรากฏให้เห็นเด่นชัด คือ ผิวหยาบแห้ง การสร้างเม็ดสีผิดปกติ ผิวหนังขาดความยืดหยุ่น ชั้น epidermis หนาขึ้นและเกิดการเปลี่ยนแปลงของคอลลาเจน อิลาสตินและไกลโคสะมิโนไกลแคนในชั้นหนังแท้ จากความรู้ดังกล่าวสามารถนำไปใช้ในการหาวิธีป้องกัน/รักษา โดยใช้สารธรรมชาติในการต่อต้านความแก่ของผิวหนังได้ เช่น การทาผลิตภัณฑ์กันแดดเพื่อป้องกันแสงแดด หรือการใช้สารธรรมชาติที่มีฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระ เช่น สารกลุ่ม carotenoids เป็นต้น สุดท้ายนี้ผู้เขียนหวังว่าถ้าบุคลากรทางการแพทย์มีความรู้เกี่ยวกับความแก่ของผิวหนัง วิธีการป้องกัน/การรักษา และสารธรรมชาติที่นำมาใช้ในการต่อต้านความแก่ของผิวหนัง จะสามารถให้คำแนะนำเพื่อป้องกัน/รักษาหรือชะลอความแก่ในเวชปฏิบัติได้อย่างเหมาะสม
คำสำคัญ
ความแก่ของผิวหนัง ปัจจัยภายใน ปัจจัยภายนอก การป้องกัน/การรักษา สารธรรมชาติ