ศูนย์การศึกษาต่อเนื่องฯ จะส่งข้อมูลแจ้งเตือนสมาชิก ผ่านช่องทาง sms และ email ในวันที่ 5 ธ.ค. 2567 และ 19 ธ.ค. 2567

บทความวิชาการ
การควบคุมการปลดปล่อยยาด้วยระบบปั๊มออสโมซิสชนิด ดัน-ดึง (Controlled Drug Release by Push-Pull Osmotic Pump)
ชื่อบทความ การควบคุมการปลดปล่อยยาด้วยระบบปั๊มออสโมซิสชนิด ดัน-ดึง (Controlled Drug Release by Push-Pull Osmotic Pump)
ผู้เขียนบทความ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.วิชาญ เกตุจินดา
สถาบันหลัก คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
รหัสกิจกรรม 1004-1-000-001-12-2559
ผู้ผลิตบทความ คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
การเผยแพร่บทความ ผู้ประกอบวิชาชีพทุกคน 
วันที่ได้รับการรับรอง 13 ธ.ค. 2559
วันที่หมดอายุ 12 ธ.ค. 2560
หน่วยกิตการศึกษาต่อเนื่อง 3.5 หน่วยกิต
บทคัดย่อ
ยาเตรียมในรูปแบบของแข็ง (solid dosage form) เช่น ยาเม็ด, แคปซูล ซึ่งได้รับการพัฒนาอัตราการปลดปล่อยตัวยาให้อยู่ในช่วงที่กำหนดโดยมากจะอาศัยหลักการแพร่ (diffusion controlled release) แม้ว่าจะได้ผลเป็นที่น่าพอใจและเชื่อถือได้ อย่างไรก็ตามข้อเสียของระบบนี้คือ มักจะไม่ได้การปลดปล่อยที่เป็นอันดับศูนย์ (zero order) และมักจะขึ้นกับสภาพแวดล้อมภายในช่องทางเดินอาหาร (GI tract) เช่น ความเป็นกรด-ด่าง และเอนไซม์ ดังนั้นเพื่อที่จะให้ได้รูปแบบที่เป็นอิสระต่อปัจจัยดังกล่าวได้มีการพัฒนารูปแบบที่เรียกว่าปั๊มออสโมซิส (osmotic pump) ซึ่งสามารถลดปัญหาที่กล่าวข้างต้นและปลดปล่อยตัวยาด้วยอัตราคงที่ ยาออกฤทธิ์นานชนิดหนึ่งหน่วย (single-unit controlled release)โดยใช้แรงดันออสโมซิส หรือ เรียก ว่าระบบปั๊มออสโมซิส (osmotic pump) จัดเป็นระบบนำส่งยาในอุดมคติ ที่มีข้อดีเหนือกว่าระบบอื่นๆ (Kaushal AM, Garg S.,2003) คือ 1) มีอัตราเร็วของการปลดปล่อยยาคงที่ (zero order) ทั้งใน in vivo และ in vitro 2) อัตราเร็วของการปลดปล่อยยาไม่ขึ้นกับ gastrointestinal pH และ motility 3) มี in vivo-in vitro correlation สูง 4) สามารถทำนายและกำหนดอัตราเร็วของการปลดปล่อยยาในร่างกายที่ต้องการได้ง่าย ยาเตรียมในรูปแบบปั๊มออสโมซิส อาศัยหลักการซึมผ่านของน้ำผ่านชั้นเคลือบที่มีคุณสมบัติเป็นเมมเบรนกึ่งผ่านได้ (semi-permeable membrane) เข้าสู่เม็ดยาหรือรูปแบบยาที่บรรจุตัวยาและสารก่อความดันออสโมซิส (osmotic agent) ทำให้เกิดสารละลายหรือสารแขวนตะกอนของตัวยา และถูกดันออกมาทางช่องเปิดที่เจาะเอาไว้บนเมมเบรน การปลดปล่อยยาจะเป็นแบบอันดับศูนย์จนกว่าความเข้มข้นภายในต่ำกว่าจุดอิ่มตัว
คำสำคัญ
Controlled Drug Release by Push-Pull Osmotic Pump
วิธีสมัครสมาชิก
ขณะนี้ทางหน่วยงานเปิดให้ทุกท่านสามารถดาวน์โหลดและเริ่มทำแบบทดสอบได้โดยไม่จำกัดสิทธิ์แก่สมาชิก และในปีใหม่นี้ เตรียมพบกับ web site ศูนย์การศึกษาต่อเนื่องทางเภสัชศาสตร์ คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ ในรูปแบบใหม่ได้ที่ http://cpe.pharmacy.psu.ac.th/ เพียงแค่สมัครสมาชิกกับทางเรา ท่านสามารถอ่านและทำแบบทดสอบบทความทางวิชาการ ตลอดจนติดตามข้อมูลข่าวสารงานประชุมของทางหน่วยงานได้เลย (ฟรี ไม่มีค่าใช้จ่ายใด ๆ ทั้งสิ้น) เปิดรับสมาชิกใหม่ในเร็วๆ นี้ โปรดติดตามข่าวสารได้จากทางหน้า web site ดังกล่าวนะคะ