ศูนย์การศึกษาต่อเนื่องฯ จะส่ง sms และ email แจ้งเตือนสมาชิกผู้ที่มีหน่วยกิตไม่ครบเกณฑ์ ครั้งต่อไปในวันที่ 11 มิถุนายน 2568

บทความวิชาการ
ระบบนำส่งยาสู่ลำไส้ใหญ่อย่างจำเพาะ
ชื่อบทความ ระบบนำส่งยาสู่ลำไส้ใหญ่อย่างจำเพาะ
ผู้เขียนบทความ ผศ.ดร. ธิพาพรรณ พลายด้วง
สถาบันหลัก สำนักวิชาเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์
รหัสกิจกรรม 1016-1-000-003-05-2568
ผู้ผลิตบทความ สำนักวิชาเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์
การเผยแพร่บทความ ผู้ประกอบวิชาชีพทุกคน 
วันที่ได้รับการรับรอง 13 พ.ค. 2568
วันที่หมดอายุ 12 พ.ค. 2569
หน่วยกิตการศึกษาต่อเนื่อง 3 หน่วยกิต
บทคัดย่อ
ระบบนำส่งยาสู่ลำไส้ใหญ่อย่างจำเพาะ คือ ระบบนำส่งยาที่ถูกออกแบบมาเพื่อให้ยาถูกปลดปล่อยและดูดซึมได้เฉพาะที่ลำไส้ใหญ่เท่านั้น โดยไม่ปลดปล่อยยาที่กระเพาะอาหารและลำไส้เล็กหลังจากรับประทาน โดยระบบนำส่งยาดังกล่าวจะใช้ขนาดยาต่ำ แต่ทำให้ความเข้มข้นของยาในบริเวณที่ต้องการให้ออกฤทธิ์สูง และลดผลข้างเคียงจากการใช้ยา เช่น การระคายเคืองระบบทางเดินอาหารส่วนบน รวมทั้ง systemic side effect ได้ จึงเหมาะสำหรับการรักษาโรคแบบเฉพาะที่ที่บริเวณลำไส้ใหญ่ เช่น มะเร็งลำไส้ใหญ่, โรคโครห์น (Crohn's disease), โรคลำไส้ใหญ่อักเสบเรื้อรัง (ulcerative colitis) เป็นต้น รวมทั้งการรักษาแบบให้มีฤทธิ์ทั่วร่างกาย เนื่องจากในลำไส้ใหญ่มีเอนไซม์ย่อยอาหารน้อยกว่าในกระเพาะอาหารและลำไส้เล็ก จึงเหมาะที่จะใช้นำส่งยาชนิดโปรตีนและเพปไทด์ ปัจจุบันระบบนำส่งยาสู่ลำไส้ใหญ่ได้มีการพัฒนาออกมาหลายรูปแบบ โดยอาศัยหลักการที่แตกต่างกัน อาทิเช่น การเคลือบระบบด้วยโพลิเมอร์ชนิดไวต่อ pH เพื่อทำให้ยาทนต่อสภาวะที่เป็นกรดในทางเดินอาหารส่วนต้น แต่สลายตัวได้ในสภาวะที่เป็นด่าง การใช้โพลิเมอร์ที่ช่วยชะลอการปลดปล่อยยาตามเวลา การใช้ระบบที่ย่อยได้ด้วยเอนไซม์ที่ผลิตจากแบคทีเรียที่อาศัยในลำไส้ใหญ่ การใช้ระบบควบคุมการปลดปล่อยยาด้วยความดัน การใช้ระบบที่มี targeting ligand รวมทั้งบางรูปแบบอาจใช้มากกว่าหนึ่งหลักการเพื่อให้นำส่งตัวยาสำคัญไปยังลำไส้ใหญ่ได้อย่างจำเพาะมากยิ่งขึ้น
คำสำคัญ
ระบบนำส่งยาสู่ลำไส้ใหญ่อย่างจำเพาะ กายวิภาคศาสตร์ของลำไส้ใหญ่ สภาวะแวดล้อมภายในลำไส้ใหญ่ ข้อดีและข้อจำกัดของระบบนำส่งยาสู่ลำไส้ใหญ่อย่างจำเพาะ